John Deere RMA

การบริหารจัดการน้ำ ในการเกษตร ทำอย่างไร

5 วิธี บริหารจัดการน้ำในการเกษตรอย่างยั่งยืน

“น้ำ คือ ชีวิต” นอกจากด้านอุปโภคบริโภค น้ำยังมีความจำเป็นต่ออุตสาหกรรมการเกษตรเป็นอย่างมาก เปรียบได้กับตัวแปรที่ส่งผลต่อความเจริญเติบโตได้โดยตรง ซึ่งปัจจุบันยังมีผู้คนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่มาก ผลผลิตดีหรือไม่ดี มักขึ้นอยู่กับการดูแลต้นกล้าระหว่างที่เติบโต นอกจากการบำรุงรักษาด้วยวิธีการใส่ปุ๋ย การบริหารจัดการน้ำในการทำเกษตรเป็นเรื่องที่เกษตรกรควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะน้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ยากต่อการควบคุม บางปีฝนตกมาก บางปีฝนตกน้อย บางปีฝนไม่ตกเลย ยังไม่รวมกับการที่ต้องใช้น้ำร่วมกับผู้อื่น อาจจะทำให้เกิดปัญหาเคืองใจในที่สุด ทำอย่างไรให้มีน้ำใช้ไปตลอดปีอย่างยั่งยืน RAM Agriculture มี 5 วิธี การบริหารจัดการน้ำ มาฝากค่ะ

การบริหารจัดการน้ำในการเกษตร คืออะไร?

การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ คือ การหาแนวทาง หรือกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดการ ด้วยการคำนึงถึงองค์ประกอบโดยรอบ โดยตระหนักถึงการใช้งานในระยะยาวอย่างยั่งยืน ซึ่งการจัดการไม่สามารถทำได้เพียงคนเดียว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน แม้แต่เป็นที่ส่วนบุคคล เพื่อให้ธรรมชาติกลับคืนสู่สมดุล กลับมาเกื้อหนุนกันเอง ดังนั้นการจัดการน้ำไม่ได้เป็นเพียงแค่กรอบกำหนดว่าควรใช้น้ำอย่างไรจึงจะประหยัด แท้จริงแล้วคือการบริหารเพื่อใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพ คุ้มค่าทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ พร้อมทั้งอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรให้คงอยู่ โดยใช้ความรู้ด้านตรรกศาสตร์ วิทยาศาสตร์ นิติศาสตร์ มนุษย์วิทยา หรือความรู้ด้านอื่นมาช่วยในการบริหารจัดการน้ำดังกล่าว

ขุดบ่อเพื่อกักเก็บน้ำ

เป็นวิธีแก้ที่ดีที่สุดสำหรับการทำเกษตร เลี่ยงการเกิดปัญหาในด้านการจัดสรรประโยชน์ระยะยาว ซึ่งการขุดบ่อเกี่ยวข้องกับกฎหมายโดยตรง ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นที่ของหลวงหรือของรัฐ ในการขุดบ่อทุกครั้งจำเป็นต้องทำเรื่องเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการขออนุญาต และกระทำโดยไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย

ประโยชน์ของบ่อกักเก็บน้ำมีมากมาย นอกจากจะทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้ไปทั้งปีแล้ว ยังช่วยให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติอีกด้วย ดังคำโบราณที่ว่า ในน้ำมีปลา ในน้ำมีข้าว โดยที่เกษตรกรสามารถต่อยอดจากการขุดบ่อด้วยการเลี้ยงปลาสำหรับบริโภคในครัวเรือน บรรเทาปัญหาในช่วงภัยแล้งได้เป็นอย่างดี เพราะการขุดบ่อจะช่วยกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามขาดแคลน เป็นแหล่งน้ำสำรองที่เกษตรกรควรมีติดไว้เกือบทุกแปลง เพราะบางแห่งไม่ได้มีแปลงติดกับคลองชลประทาน จึงยากต่อการควบคุมปริมาณน้ำในแต่ละปี การขุดบ่อน้ำไม่ได้มีประโยชน์แค่ทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้ในยามแล้งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีประโยชน์ด้านอื่นอีกมากมาย อาทิ

  • เลี้ยงปลาเป็นอาชีพเสริม หรือเพื่อบริโภคในครัวเรือน
  • เป็นแหล่งน้ำสำหรับเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย เป็ด ไก่
  • ดินมีความชุ่มชื้น และร่วนซุยมากยิ่งขึ้น มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับการเพาะปลูก

ซึ่งการขุดบ่อจำเป็นต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยขึ้นอยู่กับประเภทที่ตั้งแต่ละแห่ง และลักษณะการขุด โดยส่วนมากการขุดในพื้นที่เพื่อทำเกษตร มักยื่นเรื่องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในตำบลตนเอง เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ดูแลความเป็นระเบียบในท้องที่ มีขนาดและความลึกที่จำกัดด้วยกฎหมาย เพราะถ้าขุดบ่อใหญ่และลึกจนมากเกินไป อาจส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติ หรือลักษณะทางกายภาพของผังเมืองได้

การขุดดินเท่าใดจึงจะถือว่ามีการขุดดินที่ต้องแจ้งตามกฎหมาย ?

  • มีการขุดดินลึกเกิน 3.00 เมตร 
  • มีการขุดดินที่มีพื้นที่ปากบ่อดินเกิน 10,000 ตารางเมตร (6 ไร่ 1 งาน) 
  • ขุดดินลึกเกิน/พื้นที่ปากบ่อดินเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

โดยผู้ที่จะขออนุญาตขุดดิน-ถมดิน ต้องเตรียมเอกสารในการขออนุญาต ดังนี้

  • แผนผังบริเวณที่จะทำการขุดดิน 
  • แผนผังบริเวณแสดงเขตที่ดินและบริเวณข้างเคียง
  • วิธีการขุดดินหรือถมดิน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้แจ้ง
  • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีผู้แจ้งเป็นนิติบุคคล)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคลหนังสือมอบอำนาจ สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีมีการมอบอำนาจให้ผู้แทนแจ้ง)
  • รายการคำนวณ
  • หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบและคำนวณการขุดดิน/ถมดิน พร้อมสำเนาบัตรอนุญาตประกอบวิชาชีพ
  • วิศวกรรมควบคุม (กรณีที่งานมีลักษณะขนาดอยู่ในประเภทวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม)
  • สำเนาโฉนดที่ดิน เลขที่/น.ส.3 เลขที่/สค.1 ที่จะทำการขุดดิน/ถมดินถ่ายสำเนาหน้าหลังเท่าฉบับจริง
  • หนังสือยินยอมของเจ้าของที่ดิน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • หนังสือแสดงความยินยอมของผู้ควบคุมงาน สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของผู้ควบคุม (กรณีที่งานมีลักษณะขนาดอยู่ในประเภทวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม)
  • เอกสารอื่น ๆ

การขุดบ่อเพื่อกักเก็บน้ำเป็นการบริหารน้ำในการทำเกษตรกรรม ซึ่งเป็นการกักเก็บน้ำไว้ใช้อย่างยั่งยืน สามารถบรรเทาปัญหาในช่วงฤดูแล้งได้ระยะหนึ่ง แต่ทั้งนี้ ปริมาณน้ำแต่ละช่วงนั้นผันผวนกับปริมาตรของน้ำฝนโดยตรง ดังนั้นเมื่อขุดบ่อแล้วควรจะบริหารวิธีการใช้น้ำเป็นกระบวนการถัดไป เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

ทำเกษตรแบบให้ธรรมชาติพึ่งพาตนเอง

อีกหนึ่งแนวคิดที่น่าสนใจ นอกจากการบริหารจัดการน้ำแล้วการทำเกษตรแบบให้ธรรมชาติได้พึ่งพาตนเอง เป็นวิธีการเพิ่มความสมดุลเชิงธรรมชาติ เช่น การ ใช้พืชคุมดินสำหรับพื้นที่แห้งแล้ง วิธีการนี้จะช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้น นี่คืออีกหนึ่งวิธีในการจัดการน้ำที่ดี จากการมีพืชคุมดินจะช่วยให้ประหยัดการใช้น้ำเป็นอย่างมาก ซึ่งพืชของดินจะมีลักษณะที่มีรากกระจายอยู่ใต้ดิน ช่วยลดการกัดเซาะและเพิ่มความชุ่มชื้น รวมไปถึงใบของพืชของดินแต่ละชนิดที่ช่วยป้องกันไอร้อนจากแสงแดด อาทิ ถั่วลิสงเถา, แววมยุรา, หญ้าเกล็ดหอย, พรมญี่ปุ่น, หลิวไต้หวัน, กระดุมเงิน, บัวดิน, หญ้าต่างเหรียญ, กระดุมทองเลื้อย, บลูฮาวาย, แพรเซี่ยงไฮ้, ส้มกบ เป็นต้น

วางแผนการปลูก

การทำเกษตรทุกครั้งควรมีการวางแผนในสำหรับการปลูกและการเก็บ หากต้องการทำเกษตรตลอดทั้งปี เกษตรกรควรคำนึงถึงปัจจัยด้านต่าง ๆ อาทิ สภาพแวดล้อม วัสดุปลูก สารอาหาร ระบบน้ำ เป็นต้น ซึ่งทุกด้านเป็นปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อความสมบูรณ์ของผลผลิต และช่วยลดรายจ่ายในด้านที่ไม่จำเป็นออกไป การวางแผนการปลูกที่ดีควรประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

1. กำหนดเป้าหมายการปลูก

  • พืชที่ต้องการปลูก: จะปลูกพืชอะไรเป็นหลัก พืชเสริม หรือพืชหมุนเวียน
  • ปริมาณผลผลิต: ต้องการผลผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือน หรือเพื่อจำหน่าย
  • งบประมาณ: มีงบประมาณในการลงทุนเท่าไร

2. วิเคราะห์สภาพแวดล้อม

  • สภาพดิน: ประเภทของดิน ความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นกรดเป็นด่าง
  • สภาพอากาศ: ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ แสงแดด
  • ศัตรูพืชและโรคพืช: มีศัตรูพืชและโรคพืชชนิดใดบ้างที่พบในพื้นที่

3. เลือกพืชที่เหมาะสม

  • สภาพแวดล้อม: เลือกพืชที่เหมาะสมกับสภาพดินและสภาพอากาศของพื้นที่

4. เตรียมดิน

  • ไถพรวนดิน: ทำให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี
  • ใส่ปุ๋ย: ใส่ปุ๋ยตามชนิดของพืชและความต้องการของดิน
  • ปรุงดิน: หากดินมีปัญหา เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ควรปรับปรุงดินก่อนปลูก

5. การปลูก

  • ระยะปลูก: ปลูกพืชให้มีระยะห่างที่เหมาะสม
  • วิธีการปลูก: ปลูกโดยการเพาะเมล็ด หรือย้ายกล้า
  • เวลาปลูก: ปลูกพืชในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับชนิดของพืช

6. การดูแลรักษา

  • การให้น้ำ: รดน้ำให้พืชอย่างสม่ำเสมอ
  • การใส่ปุ๋ย: ใส่ปุ๋ยตามความต้องการของพืช
  • การกำจัดวัชพืช: กำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ
  • การป้องกันกำจัดศัตรูพืชและโรคพืช: ใช้สารเคมีหรือวิธีการทางชีวภาพ

7. การเก็บเกี่ยว

  • ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวในระยะเวลาที่เหมาะสม และควรเก็บเกี่ยวอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ผลผลิตเสียหาย

Smart Farmer

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปี 2025 โลกให้ให้บทบาทเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น สังเกตได้จากอิธิพลโลกเสมือนจริง หรือ AI ที่แทรกซึมมาอยู่ในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้ตัว และ Smart Farmer ก็ปรากฏอยู่ในแหล่งข้อมูลมานานไม่ต่างกัน เพียงแต่อาจยังไม่ได้รับการพัฒนาให้ตรงกับพฤติกรรมการใช้งาน ซึ่งปัจจุบันระบบ Smart Farmer ได้ถูกพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลผลิตของเกษตรกรมีประสิทธิภาพมากกว่าเคย โดยระบบจะเข้ามาช่วยให้เกษตรกรทำงานเป็นเวลาได้อย่างง่ายดาย อาทิ การเปิดปิดน้ำตามเวลาที่กำหนด การควบคุมปริมาณน้ำในแต่ละครั้ง หรือแม้แต่การควบคุมระบบไฟที่สามารถสั่งการได้แค่ปลายนิ้วมือของเกษตรกร อีกทั้งช่วยบันทึกข้อมูลสถิติด้านต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจของเกษตรกรในการบริหารจัดการ

ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ

การฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มความสมดุลของระบบนิเวศ และยังส่งผลดีต่อชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำนั้นด้วย สำหรับการฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาตินั้น มีเรื่องที่ไม่สามารถทำได้เพียงผู้เดียว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกับหลายภาคส่วน ทั้งในด้านของบุคคล ท้องที่ และส่วนภูมิภาค โดยมีขั้นตอนและแนวทางในการฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ ดังนี้

  • สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับระบบนิเวศในแหล่งน้ำ เช่น พันธุ์พืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่
  • จัดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียและแนวทางการบริหารจัดการน้ำ
  • ปลูกพืชที่เหมาะสมเพื่อช่วยกรองมลพิษ ป้องกันการพังทลายของดิน สร้างที่อยู่อาศัยให้สัตว์น้ำ และรักษาสมดุลระบบนิเวศ
  • ปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ เพื่อกักเก็บน้ำฝนและลดความรุนแรงของภัยแล้ง
  • ติดตามการฟื้นฟู เพื่อนำไปสู่แนวทางการอย่างต่อเนื่อง

การบริหารจัดการน้ำในการเกษตร ไม่ใช่เพียงแค่หาแนวทางการการใช้น้ำหรือกักเก็บน้ำใช้ในหน้าแล้งเพียงอย่างเดียว การบริหารจัดการรอบด้านอย่างมีเหตุผลในระยะยาว อาทิ เก็บกักน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ จัดสรรการใช้น้ำอย่างเหมาะสม ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ วางแผนการเพาะปลูก เตรียมแผนรับมือภัยแล้งในอนาคต องค์ประกอบเหล่านี้จึงเป็นเหมือนตัวช่วยที่ให้เกษตรกรทำเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากที่สุด การทำเกษตรยุคใหม่ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย

สามารถอ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ : ข่าวสาร & โปรโมชั่น