ทำความรู้จักประเภทของดินแต่ละชนิด
ดิน คือหัวใจสำคัญในการทำเกษตรกรรมทุกชนิด หากดินมีแร่ธาตุที่สมบุรณ์สามารถเพิ่ผลผลที่งอกงามต่อเกาตรกรได้ ซึ่งดินแต่ละชนิดต่างก็มีจุดเด่นและลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งประเภทของดินแต่ละชนิดต่างก็มีที่มาจากต่างภูมิภาค แน่นอนว่าดินแต่ละประเภทย่อมให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันเสมอ เกษตรกรต้องศึกษาคุณสมบัติและแร่ธาตุที่มีอยู่ในดิน รวมถึงความเหมาะสมต่อการปลูกสำหรับพืชแต่ละชนิด ดินเป็นทรัพยากรณ์ธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่มีวันหมด สามารถใช้ซ้ำได้อยู่เรื่อยๆ แต่ในทางกลับกันดินกลับมาอาการเป็นโรคคล้ายกับสิ่งมีชีวิต นั้นเพราะนั่นคืออาการดินขาดสารอาหาร และสามารถส่งผลกระทบไปยังต้นกล้าที่เราปลูกได้เลย เพื่อให้ไม่เป็นการทำงานหลายขั้นตอนและหลีกเลี่ยงการสูญเสียโดยเหตุ เกษตรกรควรศึกษาแนวทางดินไว้เป็นความรู้ตัว
ประเภทของดินที่แบ่งตามเนื้อสัมผัส
ถ้าแบ่งตามลักษณะเนื้อสัมผัสของดิน ในประเทศไทยก็จะพบดินเพียง 3 ประเภทเท่านั้น ได้แก่ ดินร่วน ดินทราย และดินเหนียว ซึ่งประเภทของดินแต่ละชนิดต่างก็มีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร และความสามารถในการปลูกกฌแตกต่างกันด้วย
- ดินร่วน (Loam Soil) ดินร่วนมีลักษณะละเอียด ร่วน จับเป็นก้อนอย่างพอประมาณ เป็นดินลูกครึ่งที่ผสมผสานร่วมกันระหว่างดินทรายและดินเหนียวด้วยอัตราส่วนครึ่งต่อครึ่งอย่างสมดุล
- ระบายน้ำได้ดี อุ้มน้ำไว้ได้ประมาณหนึ่ง
- เหมาะสำหรับการเพาะปลูกทั่วไป
- สามารถกักเก็บความชื้นได้ดี
- เป็นแหล่งสะสมอาหารที่สมบูรณ์
- มีแคลเซียมสูง
- ดินทรายทราย (Sandy soil) มีส่วนประกอบของทรายมากกว่า 85 เปอร์เซตฃนต์ ทำให้ดินชนิดนี้ มีสัมผัสที่ค่อนข้างสาก ด้วยส่วนประกอบของทรายเกือบทั้งหมดจึงทำให้ขาดสารอาหารในบางพื้นที่
- เนื้อหยาบ คลลายตัวเร็ว
- ระบายน้ำและอากาศได้ดี
- อุ้มน้ำไม่ค่อยดีทาไหร่
- มีน้ำหนักเบามาก
- สภาพดินเป็นกรด (แล้วแต่พื้นที่)
- ดินเหนียว (Clay Soil) เป็นดินที่มีความละเอียดสูงที่สุด สัมผัสนุ่มและเหนียวติดมือ เมื่อแห้งดินจะแปรสภาพจากเหนียวกลายเป็นดินที่แห้งแตก มีน้ำหนักมากที่สุดของดินแต่ละชนิด
- กักเก็บน้ำได้ดีมาก
- ความชื้นและอากาศซึมเข้าไปได้ยาก
- มีความยืดหยุ่นสูง
- ดูดซับแร่ธาตุอาหารได้ดี
สำหรับการแยกประเภทของดินจากทั้ง 3 ประเภทนี้ สามารถแยกได้จากเนื้อสัมผัสที่เห็นได้อย่างชัดเจน หากได้ลองจับและสำรวจเนื้อดิน หากมีความร่วนและชื้นสูง นั่นคือดินร่วน แต่ถ้าหากดินนั้นมีน้ำหนักเบาและเป็นเม็ดทรายค่อนข้างเยอะ นั่นคือดินทราย สุดท้ายถ้าหากดินนั้นมีน้ำหนักเยอะ เหนียวนุ่ม ติดมือ นั่นคือดินเหนียว สำหรับความเหมาะสมในการปลูดพืชแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กันว่าพืชชนิดนั้นสามารถเจริญติบโตได้ดีในสภาพใด
ดินในความหมายของวิทยาศาสตร์
โดยธรรมชาติแล้วดินเปรียบได้กับทรัพยากรณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการผุพังของแร่ธาตุต่างๆ เช่น หิน และการทับถมของซากสัตว์ต่างๆ และเมื่อเกิดการทับถมจากธาตุต่างๆ แล้ว จุดนี้จะกลายเป็นแหล่งกำเนิดของจุลินทรีย์ที่สมบูรณ์ในดิน ในเชิงวิทยาศาสตร์นั้น ดินสามารถแบ่งออกได้ 3 ชนิด คือ
- ดินชั้นบน มีสีเข้มและมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะต่อการปลูกพืช เกิดจากการสะสมของของอินทรียวัตถุทั้งจากพืชและสัตว์ มีความอุดมสมบูรณ์สูง
- ชั้นใต้ผิวดิน มีสีจางและมีความอุดมสมบูรณ์น้อย เป็นชั้นดินที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่จำนวนมาก ซึ่งมีการซึมผ่านของน้ำจากดินชั้นบน ก่อให้เกิดปฏิกิริยาระหว่างน้ำและแร่ธาตุภายในดิน ก่อนซึมผ่านลงไปสะสมตัวในชั้นต่อไป
- ชั้นหินที่ยังไม่พุพังและทับถม เป็นชั้นของหินกำเนิดดิน อาจปรากฏหรือไม่ปรากฏในหน้าตัดดิน
นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ความหมายไว้ว่าดิน คือ วัสดุธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ ตลอดจนการสลายตัวของซากพืชและสัตว์ ผสมคลุกเคล้ากัน โดยได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อม เช่น สภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ และระยะเวลาในการพัฒนาที่แตกต่างกัน เกิดเป็นดินหลากหลายชนิด ปกคลุมพื้นผิวโลกอยู่เป็นชั้นบางๆ เป็นที่ยึดเหนี่ยวและเจริญเติบโตของพืช รวมถึงเป็นแหล่งน้ำและอาหารของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในดินและบนดิน เพราะว่าดินคือ สดุธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการผุพังสลายตัวของหิน แร่ ซากพืชและซากสัตว์ จากปัจจัยเสริมด้ารภาพภูมิอากาศ สภาพพื้นที่ และระยะเวลาในการพัฒนาที่แตกต่างกัน ที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณืและแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
องค์ประกอบของดิน หรือ Soil Component
อ้างอิงจากการทับถมของของแร่ธาตุที่ผุสลายแล้ว แต่แต่ละพื้นที่ก็จะมีความแตกต่างของดินที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากแร่ธาตุได้กระจายอย่างทั่วพื้นที่ แต่สิ่งที่ดินแต่ละพื้นที่มีเหมือนกัน คือ องค์ประกอบของดิน ซึ่งสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 4 องค์ประกอบ ดังนี้
- น้ำ ร้อยละ 25 น้ำจะแทรกตัวอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน สามารถส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้โดยตรง และเป็นตัวการในการเพิ่ทมความชื้นให้แก่ดินอยู่เสมอ ทำให้ดินคงความชุ่มชื้นและอุณหภูมิเป็นมิตรต่อพืชเสมอ
- อากาศ ร้อยละ 25 คือ ก๊าซต่างๆ ที่อยู่ในโมเลกุลของดิน ซึ่งถ้าหากไม่มีน้ำก็จะไม่มีอากาศ เนื่องจาก 2 สิ่งนี้ เป็นสิ่งที่แปรผันดดยตรงซึ่งกันและกัน ซึ่งดินร่วนที่มีความร่วนของดินมากกว่าชนิดอื่นๆ ก็จะสามารถระบายอากาศได้ดีกว่าดินชนิดอื่นๆ ก๊าซส่วนใหญ่ที่พบทั่วไปในดิน ได้แก่
- ก๊าซไนโตรเจน (N2)
- ออกซิเจน (O2)
- คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
- อนินทรียวัตถุ ร้อยละ 45 ได้แก่ เเร่ธาตุต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน แต่เนื่องด้วยแร่ธาตุไม่ใช่สิ่งมีชีวิตจึงไม่สามารถเคลื่อนที่ด้วยตัวเองได้ โดยส่วนมากแล้วแร่ธาตุมักเกิดจากกว่าวมักเกิดจากกระบวนการทับถมดังกล่าว อนินทรียวัตถุในดินนับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สามารถกำหนดลักษณะของเนื้อดิน (Soil Texture) รวมถึงคุณสมบัติในการเป็นแหล่งกำเนิดของธาตุอาหาร
- อินทรียวัตถุ ร้อยละ 5 แน่นอนว่าสารอินทรีเป็นสารที่เกิดขึ้นจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่เพียงใด ในทางวิทยาศาสตร์เราเรียกกระบงนการย่อยสลายนี้ว่า “ฮิวมัส” (Humus) ซึ่งเป็นสารอาหารที่สามารถส่งผลต่อกากำหนดคุณสมบัติและลักษณะต่างๆ ของดิน ประกอบด้วย
- คาร์บอน (Carbon)
- ไฮโดรเจน (Hydrogen)
- ออกซิเจน (Oxygen)
- ไนโตรเจน (Nitrogen)
- ฟอสฟอรัส (Phosphorus)
- กำมะถัน (Sulfur)
สุขภาพดินดีปลูกอะไรก็ขึ้น
เมื่อดินผ่านการทับอย่างสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ อย่างครบถ้วน ทำให้การเพาะปลูกอยู่ในทิศทางที่ดี จะปลูกพืชชนิดไหนก็ขึ้น แต่ก่อนที่จะลงปลุกในดิน เกษตรกรสามารถเติมสารในดินให้อดุมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยการเตรียมดิน พลักดันแร่ธาตุเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนลงสนามจริง ซึ่งดินที่มีลักษณะที่ดีประกอบไปด้วย 5 ลักษณะ
- อินทรีย์วัตถุสูง คือ ซากพืช ซากสัตว์ ที่ย่อยสลายแล้วสะสมอยู่ในดิน ทำให้เนนื้อดินมีความโปร่ง ร่วนซุย มีช่องว่างในเนื้อดินไว้เก็บอากาศและอุ้มน้ำ ทำให้พืชแตกรากดี
- ธาตุอาหารพืชเพียงพอ ธาตุอาหารสำหรับพืช 13 ชนิด คือ N P K Ca Mg S Fe Mn Cu Zn B Mo และ Cl ซึ่งเป็นธาตุอาหารสำคัญในการเจริญเติบโต เมื่อปลูกไปสักระยะหนึ่งสารอาหารจากดินย่อมสลายบ้าง เป็นเรื่องธรรมดา เเกษตรกรสามารถเพิ่มขั้นตอนการใส่ปุ๋ยได้ เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของพืช
- ค่าความเป็นกรดด่างเหมาะสม ดินดีควรมีสภาพเป็นกลางหรือเป็นกรดอ่อนๆ pH ระหว่าง 6.0-7.0 ต้นไม้ส่วนใหญ่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดนสภาพนี้ หากเคยรับรู้เกียวกับอาการดินเพี้ยน นั่นแสดงว่าดินในพื้นที่ดังกล่าวมีค่าความเป็นกรดหรือด่างที่มากจนเกินไป
- ดินเปรี้ยว คือ ดินที่มีสภาพความเป็นกรดสูง โดยมีค่า pH ต่ำกว่า 7 มีวิธีแก้ดินเปรี้ยวโดยการเติมปูนขาว ปูนโดโลไมท์ ในอัตราส่วนที่ขึ้นอยู่กับความเป็นกรดมาก – น้อย ในแต่ละพื้นที่ หรือส่อินทรีย์วัตถุ ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด เพื่อเพิ่มการดูดซับธาตุอาหารพืชในดิน
- ดินเค็ม ดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในสารละลายดินมากเกินไป ส่งผลให้พืชเกิดการขาดน้ำได้ในที่สุด วิธีแก้ดินเค็มง่ายๆ คือ ปูนขาว ยิปซัม แกลบ มาปรุงดินให้มีความเป็นกลางมากยิ่งขึ้น โดยคลุกวัสดุดังกล่าวในดินให้ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูก และไถดะเพื่อโรยผงปูนลงไปในทุกพื้นที่ หรือจะปลูกพืชคลุมดินเพื่อรักษาสมดุลก็ได้
- ดินดี น้ำสมบูรณ์ หากในดินมีน้ำอย่างเพียงพอ น้ำจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการช่วยให้พืชสามารถดูดซึมธาตุอาหารจากดิน แต่อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำในดินต้องเป็นไปอย่างสมดุลกับจำนวนดิน เพื่อป้องกันการท่วมขังหรือสภาวะดินเน่าได้
- ปลอดเชื้อโรคและสิ่งปฏิกูลสะสม ดินที่สุขภาพสมบูรณ์ต้องมีเชื้อราและแบคทีเรียอาศัยอยู่น้อยที่สุด แต่ในทางกลับกันจุรินทรีย์บางชนิดกลับต้องการเชื้อราเพื่อเจริญเติบโต ซึ่งเกษตกรต้องควบคุมคุรภาพของดินอย่างพอดิบพอดี เพื่อป้องกันการเ็นที่อยู่อาศัยของเหล่าแมลงได้
วิธีบำรุงดินให้สุขภาพดีเยี่ยม
ดินทุกประเภทต้องการการบำรุงและดูแลย่างใกล้ชิด ซึ่งสามารถเลือกบำรุงได้ตามความสะดวกของแต่ละพื้นที่ ทั้งอินทรีย์สารและอนินทรีย์สารต่างให้ให้ผลดีไม่ต่างกัน เช่น หินฟอสเฟต และแร่ซิลไวท์ เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียม ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยทริปเปิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต เป็นต้น ช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้ดิน จะช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารแก่พืชด้อย่างเต็มกำลัง และยังช่วยปรับโครงสร้างดินให้ดีขึ้น ประเภทของดินแต่ละชนิดมีความสามารถในการปลูกที่แตกต่างกันไป ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน แต่ต้องคำนึงถึงพืชที่จะนำมาลงปลูกด้วย รวมถึงปัจจัยอื่นประกอบด้วย เช่น น้ำ อากาศ แร่ธาตุ และความชื้น ดินที่ดียังต้องการสารอาหารที่ครบถ้วนเพื่อความอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรอาจจะบำรุงด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปลูกพืชตระกูลถั่ว แล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน พร้อมทั้งจัดเตรียมน้ำเพื่อสมดุลของดิน
ดิน ไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่การเพราะปลูกเพียงอย่างเดียว ยังสามารถต่อยอดเพื่อเสริมรายได้ยากเม็ดดินก้อนน้อยๆ ได้ ทั้งบ้านดิน เซรามิค หรือแม้แต่อุตสาหกรรมอาหาร ที่นำดินไปเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนั้น ประเภทของดินแค่ละชนิดส่งผลดีที่แตกต่างกันไป และอยู่กับมนุษย์มาอย่างช้านาน ฉะนั้น ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งหากเราต้องการจะรักษาสุขภาพของดินให้เป็นมิตรมากที่สุด พยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีอันตรายโดยตรงกับดินให้ได้มากที่สุด เพราะดินเป็นส่วนสำคัญในการดำรงชีวิต
อ้างอิง : www.ngthai.com, www.sgethai.com, www.npkthailand.com