รีวิว จอห์น เดียร์ 3E แทรกเตอร์ขนาดเล็ก ทรงพลังเกินขนาด
รถแทรกเตอร์ เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่งที่วิศวกรรมออกแบบมาเพื่อใช้งานกับอุตสาหกรรมการเกษตร การทำงานของแทรกเตอร์จะมีความเร็วที่ค่อนข้างต่ำ เพื่อตอบสนองการใช้งานโดยเฉพาะ สามารถช่วยเบาเแรงเกษตรกรได้ทีทีเดียว ปัจจุบันนว้ตกรรมรถแทรกเตอร์ออกแบบมาให้ตรงจุดกับเกษตรกรผู้ใช้งาน มีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้ อาทิเช่น แทรกเตอร์ขนาดใหญ่ แทรกเตอร์ขนาดเล็ก รถเก็บเกี่ยวผลผลิต หรืออุปกรณ์ต่อพ่วง ส่งผลให้เกษตรกรนำแท็กเตอร์มาปรับใช้กับการเกษตรยุคใหม่ จากสามารถช่วยทุ่นแรงได้อย่างดีทีเดียว โดยเกษตรกรผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้รถแทรกเตอร์ได้ตามขนาดของนาหรือไร่ เพราะบางแห่งค่อนข้างมีพื้นที่จำกัด จอห์น เดียร์ ในฐานะผู้จัดจำหน่ายรถแทรกเตอร์ชั้นนำ จึงได้มีการออกแบบรถแทรกเตอร์หลากหลายขนาด โดยเฉพาะ จอห์น เดียร์ 3E เพื่อตอบสนองการใช้งานในพื้นที่ที่จำกัด
มาทำความรู้จักกับน้องเล็ก จอห์น เดียร์ 3E กันดีกว่า
เพื่อนๆหลายคนอาจตกใจคำว่าน้องเล็ก แต่เราขอออกตัวไว้ก่อนเลยว่า ถึงจะเป็นซีรีย์ที่เล็กที่สุดแต่ก็ทรงพลังไม่แพ้กับซีรีย์อื่นๆ เลย ด้วยการออกแบบใช้งานเฉพาะพื้นที่แคบ ซึ่งสามารถลุยระหว่างร่องปลูกได้ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรไม่เกิดความเสียหายจนเกินไป รถแทรกเตอร์ซีรีส์ 3E ของ จอห์น เดียร์ มีทั้งหมด 2 รุ่น ได้แก่รุ่น 28 แรงม้าและ 36 แรงม้า ซึ่งความแตกต่างระหว่าง 2 รุ่นนี้ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องความแรงและการหมุนของเครื่องยนต์ แต่สิ่งที่ไม่แตกต่างกันเลยนั่นคือความทนทานที่จะมอบให้เกษตรกรได้ใช้งานอย่างยาวนานที่สุด
จอห์ เดียร์ รุ่น 3036E หรือ 36 แรงม้า
รถแทรกเตอร์รุ่นนี้ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้นสำหรับการใช้งานในพื้นที่ที่จำกัดโดยเฉพาะ โดยกว่าจะมาเป็นแทรกเตอร์รุ่นนี้ ต้องใช้เวลาคิดค้นนานถึง 5 ปี เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานของเกษตรให้ตรงจุดที่าสุด จุดเด่นคือ ทรงพลัง ทนทาน คล่องตัวและบำรุงรักษาง่าย ช่วยให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
จอห์น เดียร์ รุ่น 3028E หรือ 28 แรงม้า
แทรกเตอร์ล้อแคบขนาด 28 แรงม้า รูปทรงกระทัดรัดสามารถลุยระหว่างร่องปลูกได้อย่างคล่องแคล่ว เข้าถึงพื้นที่ได้มากกว่า ทำงานได้อย่างฉับไว เครื่องยนต์แรงแต่ราคาสุดแสนประหยัด พร้อมด้วยระบบส่งกำลังที่ทนทานพร้อมลุยงานสมบุกสมบัน พร้อมสำหรับงานปั่นพรวนดิน สางใบอ้อยเพื่อเก็บเกี่ยว งานกำจัดวัชพืช และงานบำรุงรักษาไร่อ้อยตลอดฤดูกาล.
แรงม้าคืออะไร
แรงม้า หรือ horsepower เป็นชื่อของหน่วยวัดกำลังทางฟิสิกส์หลายหน่วย โดย 1 แรงม้า = 745.7 วัตต์ หน่วยแรงม้าได้ขยายไปครอบคลุมถึงปริมาณออกของกำลังของเครื่องจักรลูกสูบประเภทอื่นด้วย รวมทั้งกังหัน มอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องจักรอื่น
ยกตัวอย่างเช่น รถคันหนึ่ง ให้พลังสูงสุด 122 แรงม้าที่ 3500 รอบ หมายความว่า แรงม้าสูงสุดที่ 122 แรงม้า จะเกิดขึ้นในรอบที่ 3500 รอบ/นาที หากต่ำหรือสูงกว่าก็จะไม่เกิดขึ้นนั่นเอง
จุดเด่นของแทรกเตอร์ทั้ง 2 รุ่นนี้คือ
แน่นอนว่าการออกแบบรถแทรกเตอร์ขนาดเล็กย่อมมีจุดประสงค์หลักในการใช้งานเฉพาะ ขนาดของรถแทรกเตอร์ไม่ได้ส่งผลต่อการใช้งานอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย เช่น ราคาที่ถูกลงมา ทำให้เกษตรกรสามารถเลือกซื้อได้ มากกว่าคุณภาพของสินค้า จอห์น เดียร์ ยังมีบริการเสริมหลังการขายอีกด้วย รถแทรกเตอร์ขนาดเล็กจึงเป็นที่นิยมในการทำการเกษตร
- แผงก้นนิ้วมือเพื่อป้องกันความปลอดภัยของเกษตรกรผู้ใช้งาน
- แผงกันฝุ่นหม้อน้ำ พร้อมป้องกันฝุ่นปนเปื้อนหม้อน้ำ เพื่อยืดระยะเวลาการใช้งาน
- ระบบกันสตาร์ทเกียร์ว่าง และอัตราการเดินเกียร์เดินหน้า 8 จังหวะ เดินหลัง 8 จังหวะ
- ท่อไอเสียรักษ์โลกแบบปล่อยลงพื้น ทำให้ถูกการกระจายความร้อน ไม่ให้สัมผัสกับโดยตรง
- สามารถยกน้ำหนักจากอุปกรณ์ต่อพ่วงสูงสุดได้ 910 กิโลกรัม
- หน้าจอแสดงชั่วโมงแบบดิจิตอล เทคโนโลยีลุดล้ำสมัย
- โครงสร้างรถแทรกเตอร์แข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน ด้วยการออกแบบร่วมกับวิศวะ
- ล้อแคบ สามารถใช้งานได้บนพื้นที่ร่องปลูก โดยไม่ก่อให้เกิดความสูญเสีย
- ควบคุมระยะทางอย่างแม่นยำด้วยชุดเกียร์เปลี่ยนทิศทาง Sync Reverser
ควรเลือกซื้อรุ่นไหนดี?
ถ้ามองรูปลักษณ์ภายนอกแล้ว รุ่น E3036EN หรือรุ่น 36 แรงม้า และรุ่น E3028EN หรือรุ่น 28 แรงม้า แทบจะไม่มีอะไรต่างกันเลย เพราะว่ามีขนาดความกว้าง ความยาว และความสูงที่เหมือนกัน แตกต่างกันเพียงแค่ระบบความแรงม้าตามวามต้องการใช้งาน
- ขนาดของไร่มีพื้นที่กว้างมากน้อยแค่ไหน หากไร่นั้นมีความกว้างใรระดับมาก จอห์น เดียร์แนะนำให้ใช้รุ่น 36 แรงม้า เนื่องจากสมรรถนะในการทำงานมีมากกว่ารุ่น 28 แรงม้าในระดับหนึ่ง เพราะว่าต้องใช้แรงในการขับเคลื่อนไกลกว่าปกติ
- จุดประสงค์ในการใช้งาน เกษตรกรส่วนมากไถนารถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก เพื่อฝังกลบวัชพืช ใส่ปุ๋ย พรวนหน้าดิน หรือกิจกรรมอื่นๆที่ต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่อพ่วง
- สถานะทางการเงินเองก็สำคัญไม่ต่างกัน การซื้อแแทรกเตอร์ก็เปรียบเสมือนกันการออกรถป้ายแดงคันหนึ่งได้เลย ทางเรามีความพร้อมที่จะยืนหยัดคู่เกษตรกรในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 ทางบริษัทจึงมีมาตรการปรับเปลี่ยนการผ่อนชำระค่างวด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทยได้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยดี
ดีไซน์สวยสะดุดตา
ด้วยสีที่เขียว – เหลือง ที่เป็นเอกลักษณ์จาก จอห์น เดียร์ และการออกแบบร่วมสมัยกับวิศวะ ทำให้โครงสร้างดูแข็งแรง ทนแดด ทนฝน พร้อมใช้งานกับทุกฤดูการณ์ ด้วยระบบภายในที่แข็งเกร่ง ทั้งระบบเกียร์ ระบบเบรค ระบบเพลา ฯลฯ ที่จะเปลี่ยนการทำเกษตรรูปแบบเดิมๆให้เป็นการเกษตรที่มีนวัตกรรมร่วมด้วย ช่วยยกระดับให้การอุตสาหกรรมเกษตรชาวไทยเติบโตไปอีกขั้น
แทรกเตอร์ขนาดเล็กทำอะไรได้บ้าง?
ตามที่กล่าวไปยังข้างต้นว่ารถแทรกเตอร์ขนาดเล็กมีจุดประสงค์ในการใช้งานอเนกประสงค์ โดยจะขึ้นอยู่กับเกษตรกรว่าต้องการใช้งานประเภทใด พร้อมฟังก์ชันหลักสามารถพ่วงต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงได้
- การพรวนดินเพื่อกำจัดวัชพืช ฝังกลบซากพืชที่ไม่ต้องการ ให้กลายเป็นปุ๋ยอินทรีบำรุงดิน รักษาความชื้นให้ผิวดิน มักใช้งานคู่กับอุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดต่างๆ เช่น จอบหมุน อุปกรณ์ฝังกลบชนิดอื่น เพื่อที่จะได้อุ้มความชื้นไว้ในดิน รวมถึงได้บดสับเศษวัชพืชไปในตัว
- ใส่ปุ๋ยในช่วงระยะเวลาที่พืชพรรณกำลังเติบโต โดยระยะเวลาดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับพืชแต่ละชนิดว่าช่วงไหนต้องการปุ๋ยบ้าง และด้วยการออกแบบของรถแทรกเตอร์ขนาดเล็กทำให้สามารถขับคร่อมไปยังร่องปลูกได้ ทำให้สามารถหว่านปุ๋ยหรือพ่นปุ๋ยได้อย่างสบาย
- ใช้รถแทรกเตอร์เตรียมดินสำหรับการปลูกรอบใหม่ โดยจะผลัดเปลี่ยนหน้าดินจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงด้วยอุปกรณ์นั้นก็คือจอบหมุน ลักษณะการทำงานง่ายๆ คือ เมื่อขับรถแทรกเตอร์ จอบก็จะหมุนดินจากข้างล่างขึ้นมาข้างบน และดันดินจากข้างบนลงไปข้างล่าง
- ไถยกร่องพร้อมปลูกพืช โดยทั่วไปนิยมใช้กับใช้กับดินที่มีปริมาณฝนไม่มากนัก หรือดินค่อนข้างแห้ง เมล็ดพืชจะถูกหยอดไว้กึ่งกลางร่องเพื่อให้เมล็ดพืชได้รับความชื้นที่เหมาะสมซึ่ง จะทำให้เมล็ดพืชงอกได้อย่างรวดเร็ว และเติบโตอย่างรวดเร็วด้วย นอกจากนั้นการปลูกพืชที่บริเวณกลางร่อง แปลงยังมีข้อดีคือ เมื่อฝนตกน้ำฝนจะถูกกักไว้ในร่องแปลงทำให้พืชมีน้ำและความชื้นที่พอเพียงสำหรับการเจริญเติบโต อย่างไรก็ตามหากฝนตกหนักมากเกินไปหรือเกิดน้ำท่วมร่องแปลงดังกล่าวอาจมีผลทำให้โคลนปิด ครอบเมล็ดพืช ซึ่งอาจทำให้เมล็ดพืชไม่งอกได้
เกษตรกรรมไร่อ้อยมักนิยมใช้รถแทรกเตอร์ขนาดเล็กในการใส่ปุ๋ยหรือฝังกลบวัชพืชมากกว่าแรงคน เพราะว่าในระหว่างที่อ้อยกำลังเจริญเติบโตนั้น อ้อยจะต้องการปุ๋ยน้ำเป็นพิเศษในการดึงไปเพื่อเป็นสารผสมความหวาน การใช้รถแทรกเตอร์นั้นสามารถลดการสูญเสียผลิตได้ดีกว่า และประหยัดแรง ประหยัดเวลา ประหยัดเงิน ช่วยป้องกันให้เหษตรกรปลอดภัยจากสารเคมี
ประโยชน์ของรถแทรกเตอร์
- ลดต้นทุนการผลิต ลดเวลาในการปฏิบัติงาน คือ เมื่อมีการนำรถแทรกเตอร์และเครื่องทุ่นแรงทางการเกษตรมาใช้สามารถทำงานได้ในปริมาณมาก
- เพิ่มผลผลิต ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ตลอดจนการเก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานน้อยลงและได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
- อำนวนความสะดวก เปลี่ยนโฉมการทำเกษตรใ้เป็นเรื่องง่ายและมีสีสันมากขึ้นจากกรอบการทำเกษตรแบบเดิมๆ
- ลดการสูณเสียของผลผลิต ในกรณีที่เกษตรต้องหว่านปุ๋ยเพิ่ม หรือกำจัดวัชพืชที่บริเวณหน้าผิวดิน เนื่องจากหากปล่อยให้วัชพืชลุกลาม อาจส่งผลเสียต่อผลผลิตที่กำลังเจริญเติบโต และทำให้หรือมีคุณภาพก็ได้
รู้สึกปลอดภัยด้วยระบบเกียร์ไฮโดรสแตติก
โดดเด่นด้วยระบบเกียร์ไฮโดรสแตติก เพื่อให้การทำงานง่ายขึ้น เลี้ยวง่ายขึ้นมาก สามารถในการเปลี่ยนอัตราทดเกียร์อย่างราบรื่น ซึ่งช่วยให้ใช้แรงบิดของเครื่องยนต์ได้ดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับการขับแบบสเต็ป เนื่องจากความเร็วเอาต์พุตสามารถถูกทำให้เป็นศูนย์ได้ เครื่องจึงสามารถเร่งความเร็วได้อย่างราบรื่นจากการหยุดนิ่งโดยไม่ต้องใช้คลัตช์
รถแทรกเตอร์ขนาดเล็กออกแบบมาเพื่อการใช้งานโดยเฉพาะ จึงมีขนาดเล็กกว่า และแรงม้าน้อยกว่า แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาในการใช้งานแต่อย่างใด เนื่องจากการใช้งานของรถแทรกเตอร์ประเภทนี้มักใช้กล้องร่องปลูกอ้อย เพื่อฝังกลบวัชพืชหรือใส่ปุ๋ย แต่บางครั้งก็สามารถนำรถแทรกเตอร์ขนาดเล็กใช้งานอเนกประสงค์บางประเภทได้ เช่น การลากจูง รถแทรกเตอร์จาก จอห์น เดียร์ ทั้งขนาด 28 แรงม้าหรือ 36 แรงม้าก็สามารถลากได้อย่างสยาบ ในปัจจุบันนี้เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า รถแทรกเตอร์ได้กลายเป็นแกนหลักของทุกเกษตรกรรม อย่างไรก็ตามหากต้องการได้ผลผลิตที่ดีที่สุด การลงทุนกับแทรกเตอร์คุณภาพดีๆสักคันเป็นเรื่องที่คุ้มค่ามาก แต่อย่าลืมรถแทรกเตอร์คุณภาพเกินราคาที่ยืนหยัดทุกสภาพอากาศจาก จอห์น เดียร์ หล่ะ
อ้างอิง : http://www.pcat.ac.th/