John Deere RMA

ตัวช่วยเกษตรกร ใช้ สารชีวภาพกำจัดศัตรูพืช

สารชีวภาพกำจัดศัตรูพืช เหมือนกับปุ๋ยจุลินทรีย์?

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า…สารชีวภาพไม่ใช่ปุ๋ยจุลินทรีย์ ไม่ใช่สารที่เกิดขึ้นจากการนำเศษซากต่าง ๆ มาหมักรวมกันให้เกิดเป็นปุ๋ย แท้จริงแล้วสารชีวิภาพ คือ สารที่เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต สกัดมาจากจากสิ่งมีชีวิต อาทิ พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ ซึ่งนิยมให้เพื่อสร้างสารอาหารให้กับพืช และสามารถใช้สารชีวภาพกำจัดศัตรูพืช มีความปลอดภัยกว่าการใช้สารเคมีโดยตรง ปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค คุณภาพของผลผลิตดียิ่งขึ้น ทดแทนการใช้สารเคมีได้ในระยะยาว

ปุ๋ยชีวภาพ กับปุ๋ยอินทรีย์ ต่างกันอย่างไร

ปุ๋ยอินทรีย์ คือปุ๋ยที่ผ่านการหมักย่อยโดยจุลินทรีย์หรืออินทรีย์วัตถุ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ มูลสัตว์ กาก หรือตะกอนบางประเภทที่สามารถย่อยสลายได้ ผ่านกระบวนการหมักในรูปแบบที่อากาศสามารถเข้าถึงได้ จุลินทรีย์จึงทำหน้าที่เข้าไปย่อยอินทรีย์วัตถุให้กลายเป็นสารอาหาร ประกอบด้วย 3 ธาตุอาหารหลัก ดังนี้

  • ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส
  • ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซี่ยม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์ (กำมะถัน)
  • ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ เหล็ก แมงกานิส โบรอน โมลิบดีนัม ทองแดง สังกะสี และคลอรีน

ปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยปรับสภาพดินให้มีความร่วนซุยมากยิ่งขึ้น เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ภายในดิน ทำให้ดินมีค่าเป็นกลางมากยิ่งขึ้น

ปุ๋ยชีวภาพ คือ ปุ๋ยที่การหมักย่อยโดยจุลินทรีย์ที่ผ่านการคัดเลือกสายพันธุ์มา เช่น ไตรโคเดอร์ม่า บาซิลลัสซันทิลิส จุลินทรีย์จุลินทรีย์ตากแดด แต่มีความยุ่งยากในเรื่องของการใช้งานมากกว่า ซึ่งก่อนใช้ปุ๋ยชีวภาพ ต้องสังเกตว่าในขณะนั้นสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร มีอากาศร้อนจนเกินไปหรือไม่ ค่าดินต้องมีความเป็นกลาง เนื่องจากจุลินทรีย์ในปุ๋ยจะเข้าไปกำจัดอินทรีย์วัตถุอีกที ผลพลอยได้คือพืชได้รับสารอาหารจากการย่อยอินทรีย์วัตถุในครั้งนั้น ช่วยป้องกันโรคในพืชได้ อาทิ การกำจัดเชื้อราประเภทต่าง ๆ

เมื่อเปรียบเทียบปุ๋ยทั้งสองประเภทแล้ว จะสังเกตได้ว่าปุ๋ยชีวภาพเปรียบได้กับเกราะป้องกัน ในการกำจัดศัตรูพืชและโรคบางชนิด จำเป็นต้องอาศัยอินทรีย์วัตถุภายในดิน ส่วนปุ๋ยอินทรีย์เปรียบได้กับโรงอาหาร ไม่มีการหมักย่อยต่อ ทำหน้าที่เข้าไปเติมเต็มให้ดินเกิดความสมบูรณ์ สามารถใช้ทั้งสองประเภทควบคู่กันได้ แต่ต้องหมั่นสังเกตสภาวะแวดล้อมโดยรอบเสียก่อน หากไม่เอื้ออำนวยต่อปุ๋ยชีวภาพ อาจทำให้ปุ๋ยชีวภาพไม่มีประสิทธิภาพ ไม่คุ้มค่ากับที่ลงทุนไว้

ประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ คือ ปุ๋ยที่มีจุรินทรีย์ดี ช่วยทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี สามารถสร้างอาหารที่มีประโยชน์แก่พืช โดยเฉพาะธาตุอาหารสำคัญ (NPK) ทำให้รากพืชสามารถดูดซับสารอาหารได้ดี ช่วยลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ย และเพิ่มผลผลิตได้ในระยะยาว

  • ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืช
  • พืชแข็งแรง และมีผลผลิตที่ดีมากขึ้น
  • ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปรับโครงสร้างที่ดีขึ้น อุดมไปด้วยธาตุอาหารต่าง ๆ
  • ช่วยลดการและลดการปนเปื้อนของสารเคมี
  • ทำให้เกิความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเสริมสร้างให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และ สิ่งมีชีวิตอื่นได้อาศัยอยู่ภายใต้ดิน

การใช้สารชีวภาพปราบศัตรูพืช

เนื่องจากปุ๋ยชีวภาพ เป็นปุ๋ยที่อุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก นอกจากจะช่วยกำจัดโรคแล้ว ยังสามารถป้องกันและกำจัดศัตรูพืชได้เหมือนกัน ซึ่งปัจจุบันสารชีวภาพได้ถูกวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้จุลินทรีย์ สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มความสามารถ โดยแหล่งกลายเป็นพลังงานแก่แบคทีเรียประเภทต่างๆ เช่น เปลือกผลไม้ กากมะพร้าว น้ำมันพืช สารชีวภาพ มีลักษณะเป็นน้ำ สามารถเกาะติดวัชพืชได้ดี กำจัดและลดอัตราการเจริญเติบโตของวัชพืช ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผลผลิตปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง

ศัตรูพืชและโรคที่มักพบบ่อย

ศัตรูพืชเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร มารู้จักศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ ที่พบได้บ่อย ที่จะสามารถส่งผลเสียต่อผลผลิตในอนาคต และรู้จักวิธีการจัดการเบื้องต้น

  • ประเภทแมลงศัตรูพืช ได้ก่อความเสียหายแก่พืชเพาะปลูก แมลงเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
    • แมลงกัดกินใบ (leaf feeder) ได้แก่ หนอนผีเสื้อ ตั๊กแตน ด้วงปีกแข็ง
    • แมลงดูดกินน้ำเลี้ยง (juice sucker) ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจั๊กจั่น และมวน
    • แมลงหนอนชอนใบ (leaf minor) ได้แก่ หนอนผีเสื้อ หนอนแมลงวันบางชนิด
    • แมลงกัดกินราก (root feeder) ได้แก่ ด้วงดีด จิ้งหรีด แมลงกระชอน ด้วงดิน ด้วงงวง
  • ประเภทโรคพืช ทำให้พืชไม่สามารถเติบโตได้อย่างปกคิ ลำต้นลีบ ไม่แข็งแรง
    • เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อไมโคพลาสมา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไส้เดือนฝอย
    • เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น การขาดธาตุอาหาร ธาตุอาหารเป็นพิษ ดินเป็นกรด ดินเค็มจัด หรือพิษจาก สารเคมีบางชนิด สาเหตุต่าง ๆ
  • ประเภทวัชพืช เป็นพืชที่ขึ้นในบริเวณที่เราไม่ต้องการ สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะวัชพืชจะแย่งอาหาร น้ำ และแสงแดดจากพืชที่เราปลูก ทำให้พืชเจริญเติบโตไม่ดี ผลผลิตต่ำ และคุณภาพลดลง

การใช้สารชีวภาพกำจัดศัตรูพืช

โดยส่วนมากสารชีวภาพมักมาในรูปแบบของน้ำ เมื่อเกษตรกรต้องการใช้งาน จึงจำเป็นต้องผสมน้ำเข้ากับสารชีวภาพในอัตราส่วนที่ถูกกำหนดไว้ มิเช่นนั้นอาจทำให้สารชีวภาพมีประสิทธิภาพตามที่ควรจะเป็น ซึ่งสารชีวภาพมีหลากหลายประเภท ดังนี้

  • แบคทีเรีย : เช่น Bacillus thuringiensis (Bt) ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลงบางชนิด
    • บีที เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่พบได้ตามธรรมชาติในดินและแหล่งน้ำต่าง ๆ มีคุณสมบัติพิเศษในการผลิตสารพิษที่สามารถฆ่าแมลงบางชนิดได้โดยเฉพาะหนอนผีเสื้อและแมลงปีกแข็ง เมื่อแมลงกินบีทีเข้าไป สปอร์ของบีทีจะเข้าสู่ลำไส้ของแมลง และเมื่อสัมผัสกับสภาวะที่เป็นด่างในลำไส้ สปอร์จะปลดปล่อยโปรตีนพิษออกมา โปรตีนพิษนี้จะไปทำลายเซลล์เยื่อบุลำไส้ของแมลง ทำให้แมลงหยุดกินอาหารและตายในที่สุด
  • เชื้อรา : เช่น Beauveria bassiana ซึ่งเป็นเชื้อราที่สามารถเข้าทำลายแมลงได้หลากหลายชนิด
    • เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชอย่างแพร่หลาย เมื่อสปอร์ของเชื้อราบิวเวอเรียสัมผัสกับตัวแมลง สปอร์จะงอกและแทงเส้นใยเข้าสู่ร่างกายของแมลง ทำให้แมลงอ่อนแอลง โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
  • ไวรัส : เช่น Nuclear Polyhedrosis Virus (NPV) ซึ่งใช้ในการควบคุมแมลงบางชนิด
    • ไวรัสเอ็นพีวี เป็นไวรัสที่ติดเฉพาะแมลงชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแมลงในกลุ่มผีเสื้อและหนอนผีเสื้อ ซึ่งเป็นศัตรูกับพืชทางการเกษตรหลายชนิด ซึ่งไวรัสนี้ก็จะเข้าไปทำลายเซลล์ของแมลง
  • สารสกัดจากพืช : เช่น สารสกัดจากสะเดา ซึ่งมีฤทธิ์ในการไล่แมลงและฆ่าเชื้อรา
    • พืชหรือสมุนไพรบางชนิดมีสารเคมีทางธรรมชาติ เรียกว่า ไฟโตเคมิคอล (Phytochemicals) ซึ่งมีฤทธิ์ในการไล่แมลง กำจัดแมลง โดยมีกลไกในการเข้าไปทำลายระบบประสาทของแมลง ทำให้แมลงไม่เจริญเติบโต ลอกคราบไม่ได้ และตายลงในที่สุด
    • สมุนไพรที่สามารถสะกัดเป็นสารชีวภาพ เพื่อจำกัดศัตรูพืช ส่วนมากเป็นสมุนไพรฤทธิ์ร้อน ออกฤทธิ์โดยตรง ดังนี้
      • สะเดา : มีสารสกัดที่ชื่อว่า ไนเมลิน (Nimbin) มีฤทธิ์ในการไล่แมลงและยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง
      • กระเทียม : มีสารอัลลิซิน (Allicin) มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รา และแมลงบางชนิด
      • พริก : มีสารแคปไซซิน (Capsaicin) มีฤทธิ์ในการไล่แมลงและทำให้แมลงระคายเคือง
      • ขมิ้นชัน : มีสารเคอร์คูมิน (Curcumin) มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อราและแบคทีเรีย และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืช
      • สาบเสือ : มีสารอะซาดิเรคติน (Azadirachtin) มีฤทธิ์ในการไล่แมลงและยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง

ประโยชน์ของสารชีวภาพ

สารชีวภาพ คือ สารที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ มีคุณสมบัติหลากหลายด้าน สามารถใช้ได้กับเกือบทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการใช้สารชีวภาพปราบศัตรูพืช นอกจากจะช่วยบำรุงให้พืชสมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรค คืนความสมดุลให้กับผืนดิน สารชีวภาพยังมีคุณสมบัติอื่นที่ช่วยให้เกษตรกรมีผลผลิตดียิ่งขึ้น ที่สำคัญไม่ใช่สารทางเคมี 100% จึงทำให้ปลอดภัยทั้งผู้ใช้งาน สัตว์เลี้ยง และผู้บริโภค

  • ป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อราชั้นสูง เช่น โรคใบจุด โรคใบไหม้ โรครากเน่าโคนเน่า
  • ป้องกันโรคจากเชื้อราทั่วไป เช่น โรคดอกเน่า โรคผลเน่า
  • ป้องกันโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น โรคเหี่ยวเขียว
  • กำจัดศัตรูพืชแมลง เช่น หนอน ด้วงงวงมันเทศ แมลงในดิน แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ แมลงค่อมทอง แมลงหางหนีบ
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ก่อให้เกิดมลพิษในหลายด้าน
  • ช่วยรักษาสมดุลทางชีวภาพ ทำให้ระบบนิเวศกลับมามีความสมบูรณ์
  • เพิ่มคุณภาพให้แก่ผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม และให้ผลผลิตที่ปลอดภัย

สารชีวภาพปราบศัตรูพืช จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับการทำเกษตรปลอดสารหรือปลอดภัย การใช้สารชีวภาพจะช่วยให้เกษตรกรห่างไกลจากสารเคมีมากยิ่งขึ้น โดยใช้หลักการให้เชื้อทำลายเชื้อด้วยกันเอง ฉะนั้นก่อนใช้งานจึงต้องศึกษาคู่มือเป็นอย่างดี เนื่องจากสารชีวภาพบางตัวมีข้อจำกัดในการใช้งาน อาทิ บางชนิดต้องใช้เมื่อไม่มีแดด บางชนิดต้องใช้เมื่อมีแดดจัด เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดที่เกษตรกรควรได้รับ สารชีวภาพจึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่กำลังได้รับความนิยม เพราะมีคุณสมบัติที่น่าสนใจ และให้ประโยชน์มากกว่าที่คิด

ขอบคุณข้อมูลจาก : opsmoac.go.th , gib.co.th

สามารถอ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ : ข่าวสาร & โปรโมชั่น