การใช้งาน และประเภทรถแทรกเตอร์ แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร?
รถแทรกเตอร์ที่เราคุ้นชิน ส่วนมากมักใช้กับการเกษตรใช่หรือไม่? แท้จริงแล้วรถแทรกเตอร์ไม่ได้ถูกจำกัดการใช้งานเพียงเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า ต้นกำเนิดของรถแทรกเตอร์นั้นถูกสร้างมาเพื่อทุ่นแรงสำหรับเกษตรกร แต่มันจะไม่แฟร์ไปหน่อยหรอ หากแทรกเตอร์มีไว้ใช้งานเพื่อจุดประสงค์อื่นบ้าง ปัจจุบันรถแทรกเตอร์จึงถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานอย่างกว้างขวาง มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยทั่วไปแล้วเรามักจะแบ่งประเภทรถแทรกเตอร์ออกเป็น 2 ประเภท คือ ขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อ และขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ แต่ทีมงาน John Deere เจ๋งกว่า เพราะเราจำแนกประเภทของรถแทรกเตอร์ตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งจะมีรถแทรกเตอร์อะไรบ้าง มีการใช้งานที่ต่างกันไปอย่างไร ไปดูกันเลย!!
ประเภทที่ 1 : แทรกเตอร์เกษตรทั่วไป (Agricultural Tractor)
สามารถแปลความหมายได้อย่างตรงตัว รถแทรกเตอร์ประเภทนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับทางเกษตรโดยเฉพาะ มีความสามารถในการลากหรือต่อพ่วงได้ หรือแม้แต่รองรับน้ำหนักที่มากกว่าเท่าตัว เหมาะสำหรับการใช้งานเกี่ยวกับเกษตรกรรมทุกประเภท เช่น การไถพรวน การเก็บเกี่ยว การหว่านเมล็ด หรือแม้แต่การดูแลเล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างรอการเก็บเกี่ยว โดยจุดเด่นของรถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตร คือ การสามารถต่อพ่วงได้กับหลายอุปกรณ์ เพื่อตอบสนองการใช้งานอย่างตรงจุด อาทิ ผานบุกเบิก ผานพรวน ใบมีดดันดิน จอบหมุนสำหรับดินแห้ง เป็นต้น
- จุดเด่น : สามารถเปลี่ยนอุปกรณ์ต่อพ่วงได้ มีหลายรุ่น หลายแรงม้าให้เลือก มีความทนทานสูง
- การใช้งาน : รถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตรถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานกับการเกษตรโดยตรง หรือจะนำไปใช้ในการทุ่นแรงอื่นได้เช่นกัน แท้จริงแล้วรถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตรทั่วไป (Agricultural Tractor) ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการใช้งานกับเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น งานประเภท ลาก จึง ดัน รถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตรทั่วไปรับจบ ครบทุกฟังก์ชัน
ประเภทที่ 2 : แทรกเตอร์ขนาดเล็ก (Compact Tractor)
โดยส่วนมากรถแทรกแทรกเตอร์ขนาดเล็กมักมีจุดประสงค์ในการใช้งานในพื้นที่แคบ ขนาดรถจะเล็กกว่าแทรกเตอร์เกษตรทั่วไป (Agricultural Tractor) เล็กน้อย สามารถสังเกตได้จากวงล้อที่มีขนาดเล็กกว่าแทรกเตอร์ทุกชนิด แต่ขนาดรถที่เล็กลงนั้น ไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพในการใช้งานลดลงตามไปด้วย ยังคงไว้ซึ่งสุดยอดของความอเนกประสงค์รอบด้าน รถแทรกเตอร์ขนาดเล็กถูกจำกัดแรงม้าอยู่ไม่เกิน 30 แรงม้าโดยประมาณ ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
- จุดเด่น : ขนาดกะทัดรัด สามารถเข้าถึงพื้นที่แคบโดยไม่ทำให้ผลผลิตเสียหาย เล็กกว่า ประหยัดน้ำมันกว่า ที่สำคัญยังสามารถต่อพ่วงเข้ากับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้เหมือนเคย
- การใช้งาน : เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ที่มีอย่างจำกัด สามารถใช้ได้กับเกษตรกรรม หรือการใช้งานอื่นได้อย่างอเนกประสงค์ จากประสบการณ์การใช้งานจริง พบว่ารถแทรกเตอร์ขนาดเล็ก นิยมใช้ในแปลงไร่อ้อยมากเป็นพิเศษ เพราะต้นอ้อยต้องการสารอาหาร และปราศจากใบที่รกรุงรัง หรือแม้แต่วัชพืชต้นน้อย ระหว่างกระบวนการบำรุงรักษาอ้อยนั้น หากอาศัยแรงคนอย่างเดียวคงใช้เวลาหลายวัน แทรกเตอร์ขนาดเล็กนี่แหละ ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างตรงจุดสุด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกำจัดวัชพืช พรวนดิน สับใบอ้อย คลุกดิน ฉะนั้น แทรกเตอร์ขนาดเล็ก (Compact Tractor) จึงเป็นเหมือนพระเอกขี่ม้าขาวในการช่วยดูแลอ้อย ทุ่นแรง ประหยัดเวลา ไม่ทำลายผลผลิต
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ : John Deere 3036E จิ๋วแต่แจ๋ว สามารถลุยได้ทั้งในที่แห้งและเปียก เครื่องยนต์ทำงานเต็มประสิทธิภาพ แต่ยังคงประหยัดน้ำมัน ทนทาน คล่องตัว บำรุงรักษาง่าย
ประเภทที่ 3 : รถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ (Utility Tractor)
หลักการและการใช้งานตรงข้ามกับแทรกเตอร์ขนาดเล็ก (Compact Tractor) ทั้งหมด โดยประเภทรถแทรกเตอร์ชนิดนี้นั้น ถูกออกแบบมาให้มีรูปทรงขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับงานสมบุกสมบัน ลุยได้เกือบทุกพื้นที่ ด้วยอัตราเร่งที่มากกว่า 80 แรงม้า จึงทำให้การขับเคลื่อนเต็มไปด้วยสมรรถนะที่เยี่ยมยอด สามารถทำงานได้ในปริมาณพื้นที่จำนวนมากต่อช่วงระยะเวลา เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่กว้าง เปลี่ยนจากงานหิน ให้กลายเป็นงานชิว ไม่ว่างานจะหนักแค่ไหน พื้นที่กว้างกี่ตารางเมตร รถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ (Utility Tractor) เอาอยู่อย่างมืออาชีพ
- จุดเด่น : รูปลักษณ์ภายนอกใหญ่โต ทนทานกับทุกสภาพอากาศ ไปได้ทุกพื้นที่ สามารถรองรับน้ำหนักได้มาก ให้ผลลัพธ์การทำงานในเชิงปริมาณ
- การใช้งาน : เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่กว้าง หรือการใช้งานที่ต้องการรองรับน้ำหนักจำนวนมาก ประหยัดแรง ประเวลา ช่วยลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี สามารถควบคุมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ อีกหนึ่งจุดเด่นการใช้งาน คือ รถแทรกเตอร์ขนาดใหญ่ (Utility Tractor) ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานอเนกประสงค์ ไม่จำเป็นต้องใช้งานสำหรับการเกษตรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยสามารถต่อพวงกับอุปกรณ์ได้หลายประเภท เช่น เครื่องฝังปุ๋ยแบบมีใบมีดตัด เครื่องตัดหญ้า เทเลอร์ หรือแม้แต่การนำรถแทรกเตอร์ไปช่วยในช่วงที่เกิดอุทกภัย ในปี 2567 นี้ก็ได้
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ : John Deere 6M แทรกเตอร์สำหรับมืออาชีพ เหมาะสำหรับงานในพื้นที่ขนาดใหญ่ ฟาร์มสัตว์ นอกจากนี้ยังสามารถรองรับน้ำหนักได้หลายกิโล หมดห่วงเรื่องลาก จูง ดึง หรือดัน
ประเภทที่ 4 : แทรกเตอร์อุตสาหกรรม (Industrial Tractor)
แทรกเตอร์อุตสาหกรรมเป็นเครื่องจักรกลที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานในงานก่อสร้าง งานจัดการวัสดุ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยเฉพาะ มีความสามารถในการลากหรือดึงอุปกรณ์หนัก เช่น รถบรรทุก รถขุด และเครื่องจักรกลหนักอื่น ๆ
- จุดเด่น : พี่ใหญ่ตระกูลแทรกเตอร์ เต็มเปี่ยมไปด้วยขุมพลังและประสิทธิภาพขั้นสุด ปฏิเสธไม่ได้ว่าการรองรับน้ำหนักที่มากกว่าเท่าตัว รถแทรกเตอร์อุตสาหกรรม หรือ Industrail Tractor นั้น จึงโดดเด่นกว่าใครเพื่อน
- การใช้งาน : โดยส่วนมากเครื่องจักรชนิดนี้มักใช้กับอุตสาหกรรมมากว่าเกษตรกรรม เพราะขนาดแทรกเตอร์ที่ใหญ่โต มักมาพร้อมกับการออกแบบให้ตรงกับความต้องการ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานอย่างตรงจุด เช่น แรงม้าสูง ระบบล้อและเพลาข็งแรงกว่าชนิดอื่น ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ อาจจะไม่ได้พบเจอบ่อยตามท้องถนน หรือเป็นที่นิยมในไทยมากนัก เพราะแค่รถแทรกเตอร์ทั่วไปก็สามารถรับจบได้ทุกภารกิจงาน
แต่ถ้าหากแบ่งประเภทรถแทรกเตอร์ตามลักษณะการขับเคลื่อน ประเภทของรถแทรกเตอร์จะเหลือเพียง 2 ประเภทเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอก แรงม้า หรือฟังก์ชันเสริมอื่น ๆ แต่อย่างใด โดยการแบ่งประเภทรถแทรกเตอร์ที่ยึดจากแรงขับเคลื่อนเป็นหลักนั้น เป็นสิ่งที่คนใช้รถแทรกเตอร์เป็นประจำรู้จักกันอย่างดี นั่นคือ
ประเภทที่ 1 : รถแทรกเตอร์ขับเคลื่อน 2 ล้อ (2WD)
รถแทรกเตอร์แบบแรก แบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อ ขับเคลื่อนโดยล้อหลังเป็นหลัก เสริมด้วยล้อหน้าที่ช่วยให้การขับเคลื่อนสมดุลมากยิ่งขึ้น ช่วยในการกระจายน้ำหนัก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการควบคุม สามารถรองรับน้ำหนักได้อย่างดี โดยรถแทรกเตอร์ขับเคลื่อน 2 ล้อ แบ่งได้อีก 4 รุ่นย่อย ดังนี้
- Standard Tread ช่วงล้อกว้าง ระยะห่างระหว่างล้อหน้า – ล้อหลังเท่ากัน สามารถใช้งานในพื้นที่กว้าง
- Row Crop สามารถปรับระยะห่างของล้อด้านหน้าได้ เพื่อจุดประสงค์ในการทำงานได้ทุกพื้นที่
- High Clearance เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ปลูกพืชต้นสูงทุกชนิด
- Low Profile ที่สุดของความกระทัดรัด ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป เหมาะสำหรับการใช้งานตามร่องสวน หรือในพื้นที่ที่จำกัดด้านความสูง
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ : John Deere 5045D รถแทรกเตอร์อเนกประสงค์ระบบขับเคลื่อนแบบ 2 ล้อ ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ 46 แรงม้า แรงบิดสูง ประหนัดน้ำมัน ระบบไฮโดรลิกประสิทธิภาพสูง สามารถรองรับน้ำหนักต่อพ่วงได้ถึงมาก 1,600 กิโลกรัม
ประเภทที่ 2 : รถแทรกเตอร์ขับเคลื่อน 4 ล้อ (4WD)
รถแทรกเตอร์แบบเคลื่อน 4 ล้อ เป็นรถแทรกเตอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยล้อทั้ง 4 โดยเพลาของรถแทรกเตอร์จะทำให้เกิดแรงบิดครบทุกล้อ ส่งผลให้ระบบขับเคลื่อนนั้นมีประสิทธิภาพสูง สามารถควบคุมทิศทางได้ดี กระจายน้ำหนักได้ดีแม้กระทั่งรถยังขับเคลื่อนอยู่ จุดเด่นของระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ คือ ช่วงล่างมีความแข็งแกร่ง สามารถลุยได้ทุกพื้นที่ เช่น โคลน หลุม เนิน หรือพื้นถนนที่ไม่เรียบ ประกอบด้วย 2 รุ่นย่อย ดังนี้
- Front Wheel Auxiliary Drive สามารถปรับแต่งหรือเพิ่มส่วนให้ล้อหน้าได้
- True 4 Wheel drive ขับเคลื่อนเต็มกำลัง 4 ล้อ ไม่สามารถปรับระหว่างล้อได้
ขอบคุณข้อมูล : Compact, Ag, 4WD Tractors | John Deere US , รถแทรกเตอร์ขับเคลื่อน 2ล้อ , รถแทรกเตอร์ (tractor)