John Deere RMA

วิธีรับมือพายุฤดูร้อน ทำไง?

วิธีรับมือพายุฤดูร้อน เตรียมตัวอย่างไรดี?

ขึ้นชื่อว่า “พายุ” ไม่มีคำว่าสงบแน่นอน โดยเฉพาะพายุฤดูร้อน หรือ Thunderstorms นับว่าเป็นภัยธรรมชาติประเภทหนึ่ง โดยมีความเร็วลมเฉลี่ยประมาณ 50 – 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถส่งผลเสียต่อผลผลิตการเกษตรโดยตรง ความเลวร้ายไม่ได้หยุดที่ผลผลิตเสียหาย แต่ยังสามารถกระทบไปยังสิ่งแวดล้อมได้เลย ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เกษตรกรจึงต้องหาวิธีหรือแนวทางการรับมือสำหรับภัยธรรมชาติในครั้งนี้ โดยเฉพาะการปฏิตาม วิธีรับมือพายุฤดูร้อน ที่สามารถมอบความปลอดภัยให้กับเพื่อน ๆ ได้ทันท่วงที

วิธีสังเกตก่อนเกิดพายุฤดูร้อน

วิธีรับมือพายุฤดูร้อน - 3

เมื่อกำลังจะเกิดภัยชนิดใดก็ตาม โลกจะส่งสัญญาณก่อนเสมอ ซึ่งพายุฤดูร้อนเองก็มีวิธีสังเกต เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น มีความรุนแรงมากกว่าฝนตกธรรมดา จึงเป็นจุดสำคัญที่ควรรับรู้ไว้ โดยหมั่นสังเกตบ่อยครั้งในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม ที่เป็นช่วง หน้าร้อน ของทุก ๆ ปี เพื่อป้องกันปัญหาและความเสียหายที่กำลังจะตามมา 

  • อากาศร้อนอบอ้าว เหนียวตัว เนื่องจากความชื้นในอากาศสูง
  • ลมสงบ หรือลมเคลื่อนที่น้อย มีความเร็วอยู่ที่ 1.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือน้อยกว่านั้น
  • มีเมฆมาก แต่ท้องฟ้าไม่โปร่งใส
  • แดดไม่ออก ท้องฟ้ามืดสลัว บรรยากาศอึมครึม
  • ทัศนวิสัยในการมองเห็นไม่ดี

ความเสียหายจากพายุฤดูร้อน

เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องเผชิญหน้ากับพายุฤดูร้อนสักตั้ง แต่ความจริงมันแสนโหดร้าย เพราะไม่มีใครสามารถเอาชนะธรรมชาติได้ สำหรับการเกิดพายุฤดูร้อนนั้น สามารถแยกจำแนกประเภทผลกระทบ หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ 4 ประเภท ดังนี้

  • สิ่งปลูกสร้างด้รับความเสียหาย โดยเฉพาะบ้านเรือนที่ไม่ได้มีความแข็งแรงมาก อาจได้รับความเสี่ยงสูงเป็นพิเศษ ส่วนของบ้านที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ บริเวณหลังคา บริเวณที่ผุพัง เป็นต้น 
  • น้ำท่วม นอกจากฝนที่ยังตกหนักมากกว่าปกติจนทำให้ปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ในพื้นที่ยังต้องประสบปัญหากับน้ำหลาก ก่อให้เกิดเป็นภัยน้ำท่วมฉับพลัน จึงส่งผลกระทบต่อชาวบ้านโดยตรง เช่น ขนของขึ้นที่สูงไม่ทัน ถนนไม่สามารถสัญจรได้ ไม่มีไฟฟ้าใช้ ไร่นาต่างก็ได้รับผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วมได้โดยตรง
  • ดินถล่ม มักพบบ่อยในบริเวณใกล้ภูเขาที่ไม่มีต้นไม้ยึด มีต้นที่แห้งตายเยอะ หรือภูเขาที่ไม่มีการรักษาหน้าดินเลย เนื่องจากดินบนภูเขาอุ้มน้ำไว้มาก จึงไหลลงมาตามทางลาดเขาอย่างรวดเร็ว
  • เสี่ยงฟ้าผ่า ตามที่เรารู้ว่าในช่วงที่เกิดพายฤดูร้อนนั้นฟ้าฝนจะน่ากลัวมากกว่าปกติ เราควรศึกษาวิธีการรับมือกับพายุฤดูร้อนอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการรักษาทั้งชีวิตตนเอง สัตว์ หรืออื่น ๆ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างโดยตรง

วิธีรับมือพายุฤดูร้อน

วิธีรับมือพายุฤดูร้อน - 6

ภัยธรรมชาติ แน่นอนว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อย่าง 100% เพราะมนุษย์และธรรมชาติเป็นสิ่งเกื้อหนุนกันมานาน ฉะนั้นเมื่อเกิดภัยธรรมชาติไม่ว่าประเภทใดก็ตาม ในฐานะมนุษย์ผู้ใช้ชีวิตและประสบภัยโดยตรง ต้องหาวิธีรับมือเพื่อให้ชีวิตสามารถได้ดำรงต่อไป พายุฤดูร้อนนั้นนับว่าเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่ก็สามารถสร้างความเสียหายได้มหาศาลเลยทีเดียว ทีมงาน John Deere รวบรวมเคล็ดลับการเอาตัวรอดดี ๆ มาฝากเพื่อน ๆ ทุกคนได้อ่านกันค่ะ 

  • ติดตามข่าวสารอยู่เสมอ เนื่องจากการเกิดพายุเป็นภัยธรรมชาติ จึงไม่สามารถรู้วันที่แน่นอนได้ว่าจะเกิดวันไหน เพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดและอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้อย่าทันท่วงที การติดตามข่าวสารสภาพอากาศจึงเป็นเรื่องสำคัญเป็นลำดับแรก ๆ ที่ควรทำเป็นประจำ สามารถดูข่าวสารได้ตามเว็บไซต์เช็กสภาพอากาศ เพราะปัจจุบันเป็นยุคที่อินเตอร์เน็ตเข้าถึงเกือบทุกพื้นที่
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง โดยส่วนมากพายุฤดูร้อน มักเกิดในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นฤดูฝนของประเทศไทย โดยธรรมชาติจะส่งสัญญาให้ได้รับรู้ร่วงหน้า เช่น  ลมพัดแรงมากกว่าปกติ ลูกเห็บตก ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง  ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง หรือป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง เนื่องจากเมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง สิ่งก่อสร้าง หรือต้นไม้อาจโดนลมกรรโชกพัดลงมา จนเกิดเป็นอุบัติเหตุ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงในการโดนฟ้าผ่ากลางแจ้ง ซึ่งมีโอกาสรอดได้น้อยมาก เป็นภัยธรรมชาติที่สามารถคร่าชีวิตได้  ซึ่งสถานที่ลงแจ้งได้แก่ ทุ่งนา สนามฟุตบอล สระว่ายน้ำ สนามกอล์ฟ ใต้ต้นไม้ ใต้เสาไฟฟ้า เป็นต้น
  • ไม่ควรสวมใส่โลหะบนร่างกาย นอกจากไม่อยู่ในที่โล่งแจ้งขณะเกิดพายุฤดูร้อนแล้ว การไม่สวมใส่โลหะก็เป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยให้รอดพ้นจากพายุฤดูร้อนเช่นกัน เช่น เงิน ทอง นาก เป็นต้น แต่โลหะดังกล่าวไม่ได้เป็นฉนวนนำไฟฟ้าโดยตรง เพียงแต่เพิ่มโอกาสการเหนี่ยวนำประจุไฟฟ้ามากขึ้น โดยกระแสไฟฟ้าจากฟ้าผ่ารุนแรงประมาณ 200,000 แอมแปร์ ส่งผลให้เซลล์ร่างกายหยุดทำงาน และแห้งเกรียมในที่สุด การถูกฟ้าผ่าจึงไม่เคยมีผู้รอดชีวิตเลย นอกจากดวงดี ฉะนั้นควรงดใส่เครื่องประดับ หรือพกสิ่งของที่ทำมาจากโลหะ เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเกิดฟ้าผ่าในพื้นที่กลางแจ้ง จำให้ขึ้นใจ เมื่อเกิดฝนฟ้าฤดูร้อนหรือฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก สิ่งแรกที่ควรทำคือ ไม่อยู่ในที่โล่งแจ้งและไม่พกโลหะที่สามารถเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าได้ เพราะวิธีนี้จะช่วยให้ปลอดภัยจากการโดนฟ้าผ่า
  • หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ตามความเชื่อของคนโบราณ นอกจากโทรทัศน์ที่ไม่ควรเปิดในช่วงฝนตกแล้ว โทรศัพท์ยังเป็นอีกหนึ่งคำเตือนที่ส่งต่อกันมาเรื่อย ๆ เพราะชิ้นส่วนของโทรศัพท์ทำมาจากชิ้นส่วนที่เป็นฉนวนนำไฟฟ้า แท้จริงแล้ว โทรศัทพ์มีกระแสไฟไม่เพียงพอต่อการถูกฟ้าผ่าโดยตรง แต่เป็นปัจจัยอื่นที่เข้ามาเพิ่มให้มีโอกาส เช่น การใช้โทรศัพท์ในที่โลงแจ้ง เนื่องจากโทรศัพท์สามารถเหนี่ยวนำกระแสไฟได้ จนทำให้แบตเสื่อม โทรศัพท์ไหม้ ฉะนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ฝนตก พายุเข้า ฟ้าผ่า จึงไม่ควรเล่นโทรศัพท์ เพื่อยืดอายุการใช่งานให้แก่อุปกรณ์ดังกล่าว และยังสามารถเก็บแบตไว้ใช้ยามฉุกเฉินได้ด้วย กรณีที่เกิดเหตุการณ์ไฟดับ เกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอื่น ๆ สำหรับการโทรขอความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
  • จัดเก็บสิ่งของที่ปลิวลมได้เก็บให้อยู่ในที่มิดชิด เพราะเมื่อเกิดพายุฤดูร้อนขึ้น นอกจากฝนที่กระหน่ำลงมาแบบนับจำนวนเม็ดฝนไม่ถ้วน กระแสลมยังสามารถพัดแรงได้มากกว่าปกติอีกด้วย เมื่อฟังดูแล้วเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไรใช่ไหมคคะ แต่ละนี่แหละที่สามารถส่งผลกระทบร้ายแรงได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว สิ่งมีชีวิต สิ่งของ หรือแม้แต่ฝุ่นละออง ต่างถูกกระแสลมพัดผ่านได้อย่างง่ายดาย เมื่อรู้ว่ากำลังจะเกิดพายุฤดูร้อนในไม่ช้า สิ่งที่ควรทำเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ คือ
    • หมั่นติดตามพยากรณ์อากาศ เป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน 
    • ตรวสอบบริเวณรอบบ้าน และสำรวจหาสิ่งของที่ต้องซ่อม 
    • เก็บสิ่งของอย่างที่มีโอกาสปลิวให้เรียบร้อย และควรทำมาเก็บในที่ที่ปลอดภัย
    • ตัดแต่งต้นไม้บริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะเศษกิ่งไม้ที่ผุพัง เพราะเสี่ยงต่อการถูกลมพัดจนตกลงมาได้ ซึ่งกิ่งไม้ที่ตกลงมาอาจะตกไปโดนรถ หรือสิ่งมีชีวิตโดยรอบได้
    • กรณีที่บริเวณบ้านอยู่ใกล้กับเสาไฟฟ้าที่โอนเอน ให้รีบโทรแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบ หรือเกี่ยวข้องเพื่อรีบดำเนินแก้ไขทันที
  • เกษตรกรควรเตรียมการป้องกัน และระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง โดยปรากฏการณ์ ฝนฟ้าคะนอง ลมกรรโชกแรง ฟ้าผ่า ลูกเห็บตก ที่เกษตรกรต้องเตรียมรับมือเป็นประจำอยู่ทุก ๆ ปี ระยะวลาการเกิดที่ไม่แน่นอนยังเป็นตัวแปรที่ควบคุมได้ยาก ฉะนั้นการติดตามการพยากรณ์อากาศประจำวันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรพลาด ถึงจะเกิดความเสียหาย แต่อย่างน้อยก็เป็นความเสียหายที่เตรียมรับมือมาแล้ว โดยทีมงาน John Deere แบ่งการรับมือเป็น 2 ระยะ ดังนี้
    • การเตรียมตัว “ระยะก่อนเกิดพายุฤดูร้อน”
      • เป็นช่วงที่สภาพอากาศมีความแล้งสูง ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้น บางที่น้ำเข้าถึง แต่บางที่กลับปลูกอะไรไม่ได้เลย เพราะไม่มีน้ำสำหรับรดต้นกล้า โดยเกษตรกรสามารถแก้ไขปัญหาในระยะยาว ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการปลูกสักระยะ ด้วยวิธีการปลูกไม้ยืนต้น เพื่ออาศัยขนาดและกิ่งก้านของต้นไม้ ในการบดบังกระแสลม และชะลอการตกลงของฝนให้มีความละมุนมากยิ่งขึ้น เช่น ต้นไผ่ ขี้เหล็ก สะเดา กระถิน หรือไม้ยืนต้นประเภทอื่น เพื่อลดความรุนแรงของกระแสลมแรงก่อนที่ ช่วยลดอัตราการสูญเสียจากพายุฤดูร้อนได้
      • เป็นเรื่องยากหากต้องตัดผลผลิตที่กำลังออกดอกออกผล เพราะจำเป็นต้องตัดหนีพายุฤดูร้อน แต่ผลผลิตบางชนิด สามารถเก็บเกี่ยวก่อนเวลาได้ โดยใช้วิธีบ่มด้วยความร้อน หรือห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อให้ผลผลิตที่เกี่ยวก่อนกำหนดนั้นสุก และสามารถจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ ทำให้ไม่ไม่สูญเปล่า อย่างน้อยก็ช่วยลดจำนวนผลผลิตที่อาจจะได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อนได้ทันท่วงที แต่ถ้าหากผลผลิตนั้นไม่สามารถนำไปบ่มเพื่อจำหน่ายได้ก่อน ควรนำผลผลิตนั้นเข้าสู่กระบวนการแปรรูปด้านต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบของกิน ของใช้ ของที่ระลึก เป็นต้น เพื่อสร้างมูลค่าอย่างมากที่สุดให้แก่เกษตรกร
      • กรณีที่บริเวณโดยรอบมีต้นไม้ยืนต้นตาย หรือกิ่งไม้ที่บดบังทัศนวิสัย ควรรีบตัดออกทันที หรือตัดแต่งกิ่งให้เลยออกมาจากต้นสักระยะสั้น ๆ โดยเฉพาะต้นไม้ที่มีลำต้นสูง อายุมาก แผ่กิ่งก้านที่ดูแล้วยังไงก็มีความเสี่ยงสูง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากการถูกกิ่งไม้หล่นทับ แต่ในทางตรงข้ามกัน ถ้ามีกิ่งอ่อนหรือกิ่งที่ต้องการเก็บรักษา ให้ค้ำด้วยท่อนไม้ขนาดกำลังดี ทั้งในเรื่องน้ำหนักและขนาด เพื่อป้องกันไม่ให้ลมพัดพากิ่งไม้ค้ำนั้นออกไป
    • การเตรียมตัว “ระยะหลังการเกิดพายุฤดูร้อน”
      • ดินเป็นปัญจัยสำคัญที่ส่งผลต่ออัตราการเจริญเติบโตได้โดยตรง หากดินมีความชื้น และถูกปกคลุมบริเวณดังกล่าวด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกลมพัดมา อาจทำให้ดินมีความชื้นสะสมมากเกินไป ส่งผลให้ต้นไม้หรือผลผลิตที่ปลูกมีความเสี่ยงต่ออาการรากเน่าได้ เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งที่ได้รับความเสียหายจากการเกิดพายุฤดูร้อน และรวบรวมขยะเหล่านั้นไปทิ้งให้ถูกวิธี นอกจากสวนที่สะอาด มีความเป็นระเบียบ การตัดแต่งกิ่งเสียออก ยังช่วยทำให้ดินแห้งได้อีกด้วย หลังจากนั้นให้รีบบำรุงดินโดยด่วน เพราะดินที่พึ่งกลายสภาพจากการเป็นโคลนมานั้น อาจทำให้แร่ธาตุและสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช

พายุฤดูร้อนเป็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่สิ่งที่เพื่อน ๆ สามารถควบคุมได้ คือ การเตรียมตัวรับมือกับพายุอย่างถูกวิธี ทีมงาน John Deere หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะทำให้เพื่อน ๆ ได้ความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงเมื่อเกิดพายุขึ้น ช่วยลดอัตราความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ และผลผลิตของพี่น้องชาวเกษตกรที่อาจจะได้รับความเสียหายได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : บทความภัยธรรมชาติ

อ่านข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวสาร & โปรโมชั่น