ปัจจุบันโลกมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นประวัติการณ์และส่งผลกระทบต่อชีวิตทุกสายพันธุ์บนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือมนุษย์ต่างก็ต้องปรับตัวกับความร้อนที่ต้องเผชิญ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยความร้อนสามารถส่งผลเสียต่อระบบนิเวศได้อย่างไม่น่าเชื่อ อย่างข่าวที่ออกมาพูดว่าโลกกำลังอยู่ในสภาวะสาหร่ายนึ่ง เพราะอุณหภูมิจากพระอาทิตย์ที่กระทบมายังผิวน้ำ ร้อนเกินกว่าที่สาหร่ายจะดำรงชีพได้ เช่นเดียวกับมนุษย์ ที่กำลังเผชิญกับภาวะโลกร้อนโดยตรง และต้องต่อสู้กับโรคบางโรคที่ไม่เคยเป็นมาก่อน นั่นคือ “โรคฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด” ที่เรารู้จักกันนั่นเอง โดยอาการดังกล่าวอันตรายกว่าที่คิดหลายเท่าตัว นอกจากร่างกายที่อ่อนเพลียแล้ว อาจส่งผลกระทบถึงชีวิตได้อีกด้วย แต่จะมี วิธีป้องกันฮีทสโตรก อย่างไรบ้าง John Deere จะพาเพื่อน ๆ ไปดูพร้อมกัน
ฮีทสโตรก คือ อะไร?
ฮีทสโตรก คือ อาการที่ร่างกายสะสมความร้อนมากเกินไป ซึ่งเกิดจากการทำงานในที่โล่งแจ้ง หรือการทำกิจกรรมอื่นที่ส่งผลให้ร่างกายมีความจำเป็นต้องสะสมความร้อนอย่างต่อเนื่อง และมักเกิดในช่วงฤดูร้อนมากที่สุด เพราะร่างกายมนุษย์จะมีอุณหภูมิคงตัวอยู่ที่ประมาณ 35.4 – 37.4 องศาเซลเซียส บวกกับอากาศข้างนอกที่ร้อนจนทำให้อยากเป็นลม และเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสะสมมากกว่า 40 องศา ระบายความร้อนออกไม่ทัน และไม่ทราบวิธีป้องกันฮีทสโตรกอย่างถูกต้อง จึงทำให้ร่างกายขาดน้ำฉับพลัน ระบายความร้อนในร่างกายออกไม่ทัน ส่งผลให้ปวดหัว อ่อนเพลีย ตอบสนองช้า ร่างกายล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด
สาเหตุของการเกิดโรคฮีทสโตรก
โดยทั่วไปแล้วเราจะคิดว่าอาการฮีทสโตรก มักเกิดขึ้นกับคนที่ทำงานกลางแจ้ง หรือคนที่สะสมความร้อนจากไอแดดมาเป็นเวลานาน แต่รู้หรือไม่ว่าการเกิดฮีทสโตรกยังมีอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ร่างกายทำงานผิดเพี้ยนได้เลยทีเดียว ซึ่งประกอบไปด้วย 2 สาเหตุหลัก
- Classic Heatstroke เป็นอาการที่เกิดจากสภาวะรอบข้าง ทำให้ร่างกายสะสมอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาการนี้เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอากาศร้อนชื้น
- Exertional Heatstroke เกิดจากการที่ร่างกายสะสมอุณหภูมิจนมากเกินไปจากการทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง การทำงานกลางแจ้ง การออกกำลังกาย การสวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่เป็นมิตรกับสภาพอากาศ การดื่มแอลกอฮอล์ โดยกิจกรรมดังกล่าว ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมความร้อนออกจากร่างกายได้
นอกจากสองสาเหตุหลักที่กล่าวมาในเบื้องต้นแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นที่เป็นปัจจัยร่วม ก่อให้เกิดอาการฮีสโตรกได้ เปรียบเสมือนตัวเร่งปฏิกิริยา ดังนี้
- อายุ มีแนวโน้มเกิดได้กับผู้สูงอายุเพราะร่างกายจะมีความสามารถในการลดอุณหภูมิลดน้อยลง ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุมีปัญหารสุขภาพเรื่องการระบายความร้อนมากที่สุด
- ยา ยาประจำตัวบางชนิดสามารถส่งผลต่อระบบต่าง ๆ ทำให้ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลในการระบายความร้อนได้อย่างปกติ ฉะนั้นผู้ที่ทานยาเป็นประจำ
- หรือมี โรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน โรคพาร์กินสัน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เป็นต้น ต่างก็มีความเสี่ยงสำหรับการเป็นฮิสโตรกได้มากกว่าคนทั่วไป
อาการของโรคฮีทสโตรก
เราจะรู้ได้ไงล่ะ ว่าร่างกายกำลังอยู่ในสภาวะฮีทสโตรก เป็นข้อได้เปรียบสำหรับคนที่ใส่นาฬิกาสมาร์ทวอช เพราะเมื่อตรวจเจอการทำงานร่างกายที่ผิดปกติ นาฬิกาก็จะทำการแจ้งเตือนผู้สวมใส่ทันที แต่ถ้าหากไม่ได้ใส่นาฬิกาสมาร์ทวอชล่ะ เราจะมีวิธีสังเกตอาการของฮีทเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง เพื่อที่จะบรรเทาอาการและรักษาได้ทันท่วงที เพราะโรคฮีทสโตรกรุนแรงและอันตรายจนถึงแก่ชีวิต โดยสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้
- หายใจหอบมากกว่าปกติ
- ตัวร้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา
- ร่างกายไม่มีเหงื่อออก
- รู้สึกกระหายน้ำมาก
- ผิวหนังแดงและแสบร้อน
- ชีพจรเต้นแรง
- ปวดศีรษะ หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ
- อ่อนเพลีย คลื่นไส ้อาเจียน
วิธีป้องกันฮีทสโตรกเบื้องต้น
วันนี้ทีมงาน John Deere รวบรวมวิธีป้องกันฮีทสโตรกมาฝากเพื่อน ๆ ให้ได้อ่านกัน อย่างที่เรารู้กันดีว่าฮีทสโตรกทำให้ชีวิตถึงความตายได้ แต่ในเมื่อการทำงานหรือกิจวัตรประจำวันไม่สามารถหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งได้ เราจึงต้องรู้จักป้องกันตัว ไม่ให้ร่างกายสะสมความร้อนจนมากเกินไป
- หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งนาน ๆ นั่นคือการเข้าที่ร่ม หรือที่ที่มีอากาศถ่ายเทเป็นระยะ วิธีนี้จะช่วยให้ร่างกายไม่ถูกสะสมความร้อนจนเกินไป ไม่เสียน้ำในร่างกายเกินกว่าจำเป็น การอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานานจึงไม่ใช่ไอเดียที่ดี ขนาดเราควรหาที่กำบังขณะทำงานในที่โล่งแจ้ง เช่น ใต้ร่มไม้ กระท่อม ซุ้ม ที่มีร่มเงาและอากาศถ่ายเท
- เลือกสวมเสื้อผ้าที่มีสีอ่อน เนื้อผ้าบางเบา ระบายอากาศและความร้อนได้ดีอย่างผ้าฝ้ายหรือผ้าลินิน มีงานวิจัยหรือการทดลองที่เกี่ยวกับสีเสื้อส่งผลต่อการดึงดูดซับความร้อนหลายแห่ง ซึ่งโดยทั่วไปการสวมใส่เสื้อผ้าโทนสีเข้ม ไม่ว่าจะเป็น สีดำ สีกรมท่า สีแดงเลือดหมู สีเขียวเข้ม เป็นต้น โดยเสื้อผ้าสีเข้มสามารถดูดซับความร้อนได้ดีเป็นพิเศษ รวมไปถึงการเลือกเนื้อผ้าที่โปร่งสบาย สามารถระบายความร้อนได้ดี ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม
- ดื่มน้ำให้บ่อย และมากขึ้น เพราะน้ำเป็นสิ่งที่สำคัญต่อร่างกาย ไม่ใช่เรื่องที่ดีหากร่างกายอยู่ในสภาวะขาดน้ำ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนที่ร่างกายจำเป็นต้องระบายความร้อนออกมาทางเหงื่อ ซึ่งภาวะขาดน้ำ (Dehydration) มีวิธีสังเกตง่าย ๆ ดังนี้
- หิวน้ำมากกว่าปกติ
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- เหงื่อออกน้อย
- ตาแห้ง ปากแห้ง ผิวแห้ง
- ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
- ท้องเสียรุนแรง
- มึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
- ความดันโลหิตต่ำ แต่ชีพจรเต้นเร็ว
โดยมีวิธีแก้ภาวะขาดน้ำให้ร่างกายกลับมาเป็นเหมือนเดิม ด้วยวิธีการดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-12 แก้ว หรือดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ทดแทน แต่ไม่ควรดื่มน้ำที่มีปริมาณน้ำตาลสูง งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนทุกชนิด อยู่ในที่ร่มและอากาศถ่ายเท ถอดเสื้อผ้าชิ้นที่ไม่จำเป็นออก
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
– เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็วและแรงขึ้นจะมีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เพื่อให้แอลกอฮอล์ซึมเข้าเลือดได้เร็วขึ้น ดังนั้นรงดันเลือดจึงพุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้ร่างกายผู้ที่ดื่มขับน้ำบ่อยยิ่งมากขึ้น ปัสสาวะบ่อย เสี่ยงหมดสติ
– เครื่องดื่มคาเฟอีนทุกชนิด จะทำให้ร่างกายขับน้ำมากกว่าปกติ ส่งผลให้ไตทำงานหนักกว่าเดิม ซึ่งจะทำให้ร่างกายรู้สึกร้อน หากลองสังเกตดูหลังจากที่ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนไปสักพัก ร่างกายจะเริ่มเข้าสู่กระบวนการขับน้ำออก ด้วยวิธีปัสสาวะมากกว่าปกติ จึงทำให้มีอัตราเสี่ยงในการขาดน้ำได้ - หลีกเลี่ยงการทานยาแก้แพ้ ยาแก้แพ้นับว่าเป็นยาที่อันตรายชนิดหนึ่ง เพื่อระงับอาการแพ้ที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย จากฝุ่นละออง ขนสัตว์ ควัน หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง แม้ปัจจุบันจะมียาแก้แพ้ทั้งชนิดง่วงและไม่ง่วง ซึ่งบางตัวยามีฤทธิ์กดประสาท ส่งผลให้ปัสสาวะได้ยาก ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดี จึงไม่ควรกินยาแก้แพ้ในช่วงฤดูร้อน
- หากคุณต้องทำกิจกรรมที่อยู่กลางแดดนาน ๆ ควรจะพักให้บ่อยขึ้น และหลบเข้ามาอยู่ในร่มในขณะที่พัก แน่นอนว่าการทำกิจกรรมกลางแดดเป็นเวลานาน เป็นเรื่องที่อันตรายในช่วงฤดูร้อน ดังนั้นเมื่อต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงต้องแบ่งอย่างเวลาในการทำกิจกรรมเป็นระยะๆ และสลับพักในที่ร่มระยะหนึ่ง เพื่อรักษาระดับความร้อนในร่างกาย รวมถึงจิบน้ำเพื่อทดแทนปริมาณน้ำที่เสียไป และช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายอย่างต่อเนื่อง
- หาเครื่องป้องกันก่อนออกกลางแจ้ง อุปกรณ์ป้องกันแดดก็สำคัญเช่นกัน นอกจากช่วยป้องกันความร้อน ที่อาจก่อให้เกิดโรคผิวหนังได้ในระยะยาว เมื่อรู้ตัวว่าต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง ก็ควรจะพบอุปกรณ์ดังกล่าว เช่น ร่ม หมวก เสื้อกัน UV แว่นกันแดด และจำเป็นต้องทาครีมกันแดดทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน ทั้งบริเวณใบหน้าและลำตัว การพกอุปกรณ์ระบายความร้อนเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยอำนวยความสะดวก เช่น พัดลมพกพา ผ้าเย็น เจลเย็น เป็นต้น
- อยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก การอยู่แต่ในห้อง ปิดประตูแล้วนะแต่เพื่อไม่ให้ความร้อนเข้า ไม่ใช่ไอเดียที่ดี เพราะในขณะที่เราป้องกันไม่ให้ความร้อนเข้า แต่ในทางตรงข้ามเรากลับไม่ได้ระบายความร้อนออก แม้ว่าอุณหภูมิที่สัมผัสได้จะไม่ร้อนมากเท่าไหร่ แต่ในห้องจะมีความชื้นสะสมที่สูงขึ้น ส่งผลร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดี การอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเท จึงเป็นสิ่งที่ควรทำในช่วงฤดูร้อน ในกรณีที่ไม่ได้เปิดเครื่องปรับอากาศ ก็ควรเปิดหน้าต่างระบายความร้อน โดยใช้ม่านกรองแสงกำบังไอแดดได้
- อย่าออกกำลังกายหนักเกินไปในวันที่อากาศร้อน อย่างที่ทุกคนรู้กันว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ดี ทำให้หัวใจในระบบเส้นเลือดแข็งแรง แต่สำหรับฤดูร้อนการออกกำลังกาย ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยเหมาะสมเท่าไหร่ เพราะอากาศที่ร้อนร่างกายจึงต้องทำงานหนักกว่าปกติแล้ว บวกกับการออกกำลังกายซึ่งทำให้ร่างกายต้องเร่งระบายความร้อน และสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ จึงไม่ควรออกกำลังกายในช่วงร้อนจัด เพราะจะทำให้ร่างกายระบายความร้อนและขาดน้ำฉับพลัน แต่ถ้าเป็นสายสุขภาพไม่สามารถหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายได้ แนะนำให้ออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเล่นโยคะ เดินไว หรือเวทเทรนนิ่ง
- เมื่อรู้สึกว่าร่างกายเริ่มร้อน ให้ใช้วิธีราดน้ำเหนือศรีษะหรืออาบน้ำเพื่อลดอุณหภูมิในร่างกาย การอาบน้ำเย็นในช่วงฤดูร้อน ต้องทำอย่างระมัดระวัง เพราะเมื่ออากาศรอบข้างร้อนขึ้น หลอดเลือดจะขยายตัวเพื่อให้เลือดสามารถสูบฉีดได้ดีขึ้น ด้วยการอาบน้ำเย็นจะเปลี่ยนจากหลอดเลือดที่ขยายอยู่ กลายเป็นหดตัวลง ความดันร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ได้มีความอันตรายมาก ขอเพียงแต่อาบอย่างระมัดระวัง ดังนั้นวิธีการอาบน้ำเย็นอย่างถูกต้อง ควรอาจที่น้ำอุณหภูมิห้องหรือกว่าอุณหภูมิห้องได้นิดหน่อย และไม่ควรอาบน้ำที่มีอุณหภูมิเย็นจัด
โรคฮีทสโตรก ไม่ได้เกิดแต่เพียงสภาพอากาศที่ร้อนจัดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น อากาศที่ร้อนบวกกับความชื้นที่สูง ก็สามารถทำให้ร่างกายมีแนวโน้มเป็นฮีสโตรกได้เหมือนกัน และยากที่จะหลีกเลี่ยง เพราะประเทศไทยอยู่ในโซนที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นอยู่แล้ว ทางที่ดีเมื่ออากาศร้อนขึ้น เราก็ควรทำให้อุณหภูมิร่างกายเย็นลง ด้วยหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งเท่าที่ทำได้ และหยุดพักในที่ร่มพร้อมกับจิบน้ำเป็นระยะ ๆ เพื่อทดแทนปริมาณน้ำที่สูญเสียไป
ขอบคุณข้อมูลจาก : Bangkok Hospital
อ่านข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวสาร & โปรโมชั่น