รถไถ หรือ รถแทรกเตอร์ ไม่ต่างอะไรจากรถยนต์ทั่วไปเลย ย่อมต้องการการดูแลเอาใจใส่ หลังจากผ่านการใช้งานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เกษตรกรควรตรวจเช็กรอบคันรถทุกครั้งหลังจากใช้งานเสร็จ เพื่อตรวจเช็กความปกติสภาพของรถ และศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างถี่ถ้วนเสียก่อน วันนี้ RMA Agriculture ร่วมกับ John Deere รถแทรกเตอร์ขวัญใจเกษตรกร นำเคล็ดลับ วิธีดูแลรถไถ หลังใช้งานมาฝาก เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น และประหยัดค่าบำรุงรักษาได้ในระยะยาว
วิธีดูแลรถแทรกเตอร์หลังใช้งาน
สำหรับการดูแลหลังจากการใช้งาน ควรทำความสะอาดเป็นสิ่งแรก เพื่อล้างสิ่งสกปรกออกจากรถและไม่ก่อให้เกิดเป็นคราบฝังแน่น หลังจากนั้นควรเติมน้ำมันและสารเหลวต่าง ๆ ให้ครบถ้วน หากพบสิ่งผิดปกติไปจากเดิม ให้รีบซ่อมก่อนสายเกินแก้ เนื่องจากรถแทรกเตอร์ใช้งานค่อนข้างหนัก ตากแดดตากลม จึงทำให้ต้องตรวจเช็กอะไหล่หรือตรวจสารเหลวต่าง ๆ เป็นประจำ
- ทุก 2 สัปดาห์ : ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง และกรองน้ำมันเครื่องใหม่
- ทุกเดือน : ปรับตั้งระยะฟรีของแป้นเหยียบคลัชและเบรก ตั้งความตึงของสายพานใหม่
- ทุก 2 เดือน : ตรวจเช็กระบบหัวฉีดเชื้อเพลิง ไดสตาร์ท ไดชาร์ท และเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่อง
กำจัดโคลน ดิน ฝุ่น
แน่นอนว่ารถแทรกเตอร์ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานทางการเกษตรโดยเฉพาะ จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาจากโคลน ดิน ฝุ่น ที่แปดเปื้อนได้เลย แม้จะมีโครงสร้างรถจะดูใหญ่และบึกบึน ก็ไม่สามารถหลบโคลนเจ้าปัญหาได้พ้น และเพื่อให้การใช้งานครั้งถัดไปเป็นไปได้อย่างราบรื่น พร้อมทั้งรักษาสภาพรถแทรกเตอร์ใช้งานได้อย่างไม่มีสะดุด มีวิธีดูแลรถแทรกเตอร์หลังใช้งานอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย
- ล้างรถทุกครั้งหลังใช้งานหนัก : เป็นวิธีแรกที่ไม่ควรมองข้าม และไม่ควรปล่อยให้หมักหมมเป็นเวลานาน เพราะเมื่อโคลจับตัวกันเป็นก้อนหนาขึ้น ๆ ทำให้ทำความสะอาดยาก และอาจส่งให้รถรถมีรอยขีดข่วนได้
- จอดรถในที่ราบ ทิ้งไว้ให้เครื่องเย็นสักพัก หลังจากนั้นล้างรถแทรกเตอร์ด้วยน้ำสะอาด ควรใช้สายฉีดแรงดันสูงสำหรับคราบฝั่งแน่น โดยเฉพาะซอกขนาดเล็ก ซีล ช่องล้อ หรือจุดอื่นที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ และเช็ดด้วยผ้าแห้งเป็นขั้นตอนสุดท้าย หรือฉีดน้ำยาเคลือบร่วมด้วยก็ได้
ชิ้นส่วนยังอยู่ครบหรือไม่ ?
หมั่นสังเกตทุกครั้งหลังใช้งานรถแทรกเตอร์ และตรวจสอบความปกติขณะใช้งาน หากรถมีอาการสั่น เสียงดังผิดปกติ หรืออาการอื่นที่แสดงถึงอาการผิดปกติ ให้สันนิษฐานเบื้องต้นไว้เลยว่า รถแทรกเตอร์อาจมีสกรู นอต ฝาครอบ ชิ้นส่วนต่าง ๆ ควรนำรถแทรกเตอร์ไปตรวจสภาพโดยด่วน และหมั่นขันนอตเป็นประจำ
อย่ามองข้ามจาระบี
จาระบี คือ สารหล่อลื่นที่จำเป็นต่อรถแทรกเตอร์มาก หน้าที่ในการหล่อลื่นและรถแรงเสียดทาน ทำให้เครื่องจักรหมุนได้อย่างลื่นไหล ลดอาการเสียดสี ไม่ทำให้ชิ้นส่วนสะสมความร้อน ที่สำคัญช่วยป้องกันไม่ให้เกิดสนิม ส่งผลดีต่อเครื่องยนต์ในระยะยาว แต่ควรใส่อย่างพอดี หากใส่มากไปอะไหล่อาจได้รับความเสียหายได้ ทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถระบายความร้อนได้อย่างปกติ แต่ถ้าใส่น้อยไปอาจจะทำให้ต้องใส่เพิ่มอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจาระบีในท้องตลาดมีทั้งหมด 4 ประเภทหลัก ๆ ควรเลือกซื้อให้ถูกตามประเภทการใช้งาน
- จาระบีโซเดียม (Sodium Grease) : สามารถทนทานความร้อนได้สูง เหมาะสำหรับการใช้งานกับมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นหลัก
- จาระบีอลูมิเนียม (Aluminum Grease) : มีความเหนียวสูง จึงทนทานต่อการต้านทานน้ำ สามารถรองรับผิวโลหะได้ดี ยับยั้งสนิมได้เยี่ยมยอด
- จาระบีลิเธียม (Lithium Grease) : ทนทานความร้อนได้สูง มีความเอนกประสงค์มากกว่าประเภทอื่น เหมาะสำหรับการใช้งานกับเครื่องยนต์ที่มีความเร็วสูง สามารถใช้งานได้ทั้งเปียกและแห้ง ซึ่งนิยมใช้กับรถแทรกเตอร์มากที่สุด (เฉพาะบางรุ่น) เพราะสามารถใช้งานได้หลากหลาย ทนความร้อน หาซื้อง่าย
- จาระบีแคลเซียม หรือจาระบีปูนขาว (Calcium Grease) : มีความไวต่ออุณหภูมิสูง และทำให้เกิดการระเหยได้ง่ายกว่าชนิดอื่น แต่ในทางกลับกันกลับช่วยป้องกันสนิมได้อย่างดีเยี่ยม ช่วยป้องกันการสึกหรอของเครื่องยนต์
ระดับน้ำระบายความร้อนของเครื่องยนต์
อีกหนึ่งวิธีดูแลรถแทรกเตอร์หลังใช้งานที่มองข้ามไม่ได้เลย เพราะระบบระบายความร้อนของรถยนต์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยระบบนี้จะช่วยลดอุณหภูมิเครื่องยนต์ขณะทำงาน ถ้าไม่มีระบบระบายความร้อนอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายจากความร้อนได้ ควรหมั่นตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำให้อยู่ในระดับไม่ต่ำเกินไป ควรทำเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และไม่ควรเติมเกินกว่าระดับที่กำหนด และควรปิดฝาหม้อน้ำทุกครั้ง วิธีสังเกตว่าระดับน้ำระบายความร้อนของเครื่องยนต์ต่ำกว่าปกติมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
- มาตรวัดอุณหภูมิสีแดงขึ้นเตือนบริเวณหน้าจอ
- ห้องแอร์มีอาการร้อนบางช่วงและมีกลิ่นแปลก ๆ
- พัดลมระบายความร้อนทำงานผิดปกติ
ไม่ควรใช้งานหนักเกินไป
กรมการขนส่งทางบกออกมาเตือน ในเรื่องของการบรรทุกน้ำหนักเกินกว่ารถจะรับไหว มีอันตรายกว่าที่คิด ส่งผลให้อายุการใช้งานของรถสั้นลงและเพื่อนร่วมทาง ซึ่งรถแทรกเตอร์แต่ละรุ่นก็จะถูกกำหนดน้ำหนักสูงสุดที่สามารถรับได้ต่างกัน และเมื่อบรรทุกของหรือลากจูงแล้ว ก็จะต้องระมัดระวังในการขับขี่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งปัจจัยที่ควรระวังมีดังนี้
- ทัศนวิสัยการขับขี่ไม่ดี เนื่องจากสิ่งของที่บรรทุกหรือลากจูงนั้นบดบังทัศนวิสัย ทำให้มองกระจกหลังไม่ชัดเจน
- รถเสียสมดุล พูดง่าย ๆ คือ เมื่อรถรับน้ำหนักมากจะทำให้ความสามารถในการบังคับน้อยลง เพราะช่วงหน้าน้ำหนักจะเบากว่าช่วงท้ายหลายเท่าตัว ทำให้รถเกาะพื้นผิวได้ไม่ดีเท่าที่ควร บังคับทิศทางในการเลี้ยวยาก และต้องเผื่อระยะในการหยุดรถทุกครั้ง
- ยางและช่วงล่างได้รับความเสียหายมากที่สุด เพราะเป็นคนที่ต้องรอรับน้ำหนักรถทั้งหมด การบรรทุกน้ำหนักที่มากเกินไป จึงทำให้ยามเกิดอาการเบียดเสียดกับพื้นผิวมากกว่าปกติ ทำให้อายุของยางสั้นลง และทำให้ยางสามารถระเบิดได้ในที่สุด
- เมื่อขับขี่บนถนน ควรมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง ด้วยการบรรทุกสิ่งของแต่พอดี ของที่บรรทุกนั้นจะต้องไม่ยื่นหรือเกินไปกว่าขอบเขตของรถจนดูน่าเกลียด และผูกผ้าสีแดงบริเวณท้ายรถทุกครั้ง เพื่อเตือนรถคันที่ขับตามอยู่ด้านหลัง
เปลี่ยนถ่ายของเหลวตามระยะเวลา
ควรตรวจสอบของเหลวในเครื่องยนต์เมื่อรถใช้งานมาสักระยะหนึ่ง เพราะมีความสำคัญมาก ช่วยทำให้เครื่องยนต์สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีสมรรถนะ ซึ่งของเหลวแต่ละชนิดต่างก็มีระยะเวลาที่ต่างกันออกไป รวมถึงวิธีการนับระยะทางหรือชั่วโมง รถแทรกเตอร์แต่ละชนิดจึงมีวิธีการนับที่ไม่คล้ายกัน
- น้ำมันเครื่อง : ของเหลวชนิดแรก มีความสำคัญต่อระบบการขับเคลื่อน และเปลี่ยนบ่อยที่สุด ความถี่ในการเปลี่ยนขึ้นอยู่กับการใช้งาน และประเภทน้ำมันนเครื่องที่ได้เติมเข้าไปก่อนหน้า ซึ่งราคาและคุณสมบัติก็ต่างกันไปด้วย โดยส่วนมากแล้วรถแทรกเตอร์มักนับระยะการใช้งานเป็นชั่วโมง ตัวอย่าง เช่น ถึงเวลาเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เมื่อใช้รถไปแล้ว 50 ชั่วโมง เป็นต้น
- จอดรถในที่ราบทุกครั้งเมื่อจะทำการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
- ขันนอตออกด้วยประแจ เพื่อทำการถ่ายน้ำมันเก่าออกให้หมด
- ถอดไส้กรองออกมาแล้วนำมาล้างด้วยน้ำมันโซล่า หลงจากนั้นประกอบกลับเหมือนเดิม
- เติมน้ำมันเครื่องตามปริมาณที่กำหนด ไม่ควรเติมต่ำกว่าหรือมากกว่ากำหนด
- น้ำมันเบรก : ช่วยทำให้ระบบเบรคทำงานได้อย่างปกติ โดยน้ำมันเบรคจะเป็นตัวกลางที่คอยเปลี่ยนแรงดันจากตัวปั๊มไปสู่ลูกสูบ ควรเปลี่ยนน้ำมันเบรคตามกำหนดเพื่อป้องกันการกัดกร่อนอันก่อให้เกิดสนิมและความชื้น ไม่ควรเลือกน้ำมันเบรคที่มีคุณสมบัติไม่กัดกร่อน ไม่ทำให้ลูกยางบวม ลดการเกิดฟองอากาศ
- น้ำมันเกียร์ : น้ำมันเกียร์เป็นสารหล่อลื่นชนิดหนึ่ง ช่วยระบายความร้อน ลดแรงเสียดสี ป้องกันสนิมจากการกัดกร่อน และช่วยลดการสึกหรอของเกียร์ ควรเติมน้ำมันตามระยะเวลาที่กำหนด และควรเติมให้ถูกประเภท โดยส่วนมากรถแทรกเตอร์มักจะเป็นเกียร์ธรรมดา โดยน้ำมันเกียร์จะช่วยทำให้ชุดเฟืองทำงานลื่น ลดอาการเสื่อมสภาพ หากพบว่ารถแทรกเตอร์เริ่มมีเสียงดังขณะทำงาน นั่นอาจเป็นอาการที่แสดงโดยเบื้องต้นว่าต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์แล้ว โดยสามารถเปลี่ยนเองได้ที่บ้านง่าย ๆ ข้อควรระวัง คือ เติมแต่พอดี
- น้ำยาหล่อเย็น : อีกหนึ่งสารเหลวที่มีความสำคัญมาก เพราะน้ำยาหล่อลื่นมีหน้าที่ในการช่วยรักษาอุณหภูมิ ป้องกันไม่ให้ตัวเครื่องเกิดสนิม ควรเลือกซื้อน้ำยาที่มีมาตรฐาน ผ่านการตรวจสอบและรองรับมาตรฐาน และควรเลือกสูตรเฉพาะรถแทรกเตอร์เท่านั้น เช่น น้ำยาหล่อเย็น John Deere Collant เพราะผ่านการพิสูจน์มาแล้ว ว่าเหมาะกับการทำงานที่ท้ายทาย สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 3 ปี หรือ 3000 ชั่วโมง ช่วยยืดอายุอายุชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น ลดการผุกร่อน คราบตะกรัน และสนิม
- น้ำมันพาวเวอร์ : เปรียบได้กับขุมพลังของรถแทรกเตอร์ นอกจากจะช่วยรถมีสมรรถนะที่ยอดเยี่ยมแล้ว ยังช่วยให้ลดความเสียหายที่อาจะเกินขึ้นจากการสึกหรอ นอกจากนั้นยังเพิ่มประสิทธิภาพในการเบรคทุกครั้ง และป้องกันคราบสะสมที่ลูกสูบและแหวนขณะที่รถมีอุณหภูมิสูง ควรเลือกซื้อน้ำมันพาวเวอร์ที่ช่วยเสริมระบบไฮดรอลิก เกียร์ เฟืองท้าย ได้เป็นอย่างดี
เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่อง
ไส้กรองน้ำมันเครื่องมีหน้าที่ในการกรองสิ่งสกปรก ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งเจือปนในลักษณะต่าง ๆ เช่นตะกอน เศษโลหะหนัก ฝุ่น เป็นต้น ช่วยกรองสิ่งเจือปนเล็ดลอดเข้าไปในตัวรถ การมีไส้กรองนั้น ทำให้น้ำมันเครื่องมีความสะอาด มีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างเต็มที่ โดยทั่วไปแล้วเราควรเปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่องทุก ๆ 5,000 ถึง 10,000 กิโลเมตร หรือทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง เพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า
เปลี่ยนตัวกรองอากาศ
ตัวกรองอากาศเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม เหมือนจะไม่ค่อยมีความสำคัญเท่าไหร่ใช่ไหม แต่ถ้าตัวกรองอากาศทำงานไม่ปกติ อาจทำให้รถแทรกเตอร์ต้องส่งซ่อมเลยทีเดียว โดยตัวกรองอากาศจะเป็นตัวช่วยในการกรองและดักฝุ่นละออง ที่เล็ดลอดเข้าไปในกระบวนการเผาไหม้เชื้อเพลิง เมื่อการเผาไหม้มีฝุ่นละอองเข้าไปผสมด้วย อาจทำให้เครื่องยนต์สกปรกเกิดความเสียหาย ควรนำไส้กรองออกมาทำความสะอาด ด้วยวิธีการเป่าลมจากด้านใน หรือเปลี่ยนไส้กรองเป็นประจำ เพื่อให้รถแทรกเตอร์สามารถใช้งานได้อย่างปกติ มีอัตราเร่งที่เสถียรพร้อมใช้งาน
จอดในที่ร่ม
แสงแดด ปัญหาใหญ่ระดับโลกที่ไม่ว่าใคร ๆ ต่างก็หนี้ไม่พ้น แม้รถแทรกเตอร์เองก็หนี้ไม่พ้นเช่นกัน ซึ่งไม่ว่ารถชนิดใดก็ตาม แสงแดดสามารถส่งผลเสียต่อรถได้มากกว่าที่คิด อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นแทบจะทุกวันอย่างไม่มีหนุด จึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น สิ่งของทั่วไปต่างก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน โดยเฉพาะรถแทรกเตอร์ที่ส่วนมากมักใช้งานในช่วงกลางวัน ทางที่ดีควรจอดรถในที่ร่มเสมอ ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดกรณีแบบนี้ได้
- สีรถซีดจาง แม้จะมีสารเคลือบช่วยป้องกันแดดก็ตาม
- ชิ้นส่วนที่ทำมาจากยางทุกชนิดเสื่อมสภาพเร็ว
- แอร์ทำงานหนัก (เฉพาะรถแทรกเตอร์ที่มีห้องโดยสารแบบปิดเท่านั้น)
- สารเหลวระเหยหรือเสื่อมสภาพเร็ว
- แบตเตอรี่แบบน้ำเสื่อมไวกว่าอายุขัยที่กำหนด
ล็อกแป้นไฮดรอลิกทุกครั้งที่ออกตัว
วิธีดูแลรถแทรกเตอร์หลังใช้งานที่มีหน้าที่ความปลอดภัยทั้งผู้ขับและสภาพแวดล้อมโดยรอบ วิธีนี้จะช่วยยืดอายุรถแทรกเตอร์ให้สามารถใช้งานได้นานยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนหรือซ่อมหรือเติมน้ำมันไฮดรอลิกหลายครั้ง เพราะทุกครั้งที่ล็อกแป้นไฮดรอลิกขณะที่ออกตัว จะช่วยทำให้รถไม่ทำงานหนักจนเกินไป ปลอดภัยขณะที่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงด้านหลัง และช่วยป้องกันไม่ให้อากาศรั่วเข้าไปข้างในตัวปั๊ม
ขอบคุณข้อมูลจาก : John Deere , Apollo (Thailand) , PTT Lubricants
อ่านบทความสาระน่ารู้เกษตรเพิ่มเติมได้ที่นี่ : สาระน่ารู้เกษตร