รถแทรกเตอร์หรือรถไถ พระเอกของเกษตรกร ที่ช่วยแบ่งเบาภาระงานจากหนักให้กลายเป็นเบา ใช้งานง่าย ดูแลสะดวก ไม่ค่อยดื้อเท่าไหร่ แต่ก็เช่นเดียวกันกับยานพาหนะทั่วไป ที่ต้องการการดูแลและใช้งานอย่างถูกต้อง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น วันนี้ทีมงาน John Deere มีเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากพี่น้องชาวเกษตรกร เกี่ยวกับการ ขับรถไถ อย่างไรให้ปลอดภัย และ การ จอดรถไถ อย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อยืดอายุการใช้งานตัวแทรกเตอร์คันโปรด และปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย
วิธีขับรถแทรกเตอร์อย่างไรให้ปลอดภัย
เพราะความปลอดภัยเป็นสิ่งแรกที่คนขับต้องคำนึงถึง ไม่ใช่แค่เพียงความปลอดภัยของตนเองเท่านั้น ผู้ขับควรคำนึงถึงความปลอดภัยโดยรอบด้วย
- คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเมื่อเริ่มใช้งาน หลายครั้งเราอาจมองข้ามประโยชน์ของเข็มขัดนิรภัย ทำให้ละเลยจนไม่สนใจว่าการคาดเข็มขัดทำให้การขับขี่ปลอดภัยยิ่งขึ้น ช่วยลดแรงกระแทกจากการชน และป้องกันอวัยวะภายในให้คงอยู่ในสภาพเดิมหรือเสียหายน้อยที่สุด แต่ต้องมั่นใจว่าคาดเข็มขัดนิรภัยอย่างถูกต้องและควรจะเป็นหรือไม่
- ปรับเบาะให้อยู่ในองศาที่พอดี ไม่เอนไปข้างหลังจนเหมือนนอน หรือน้อมตัวมาข้างหน้าจนแทบติดพวงมาลัย ปรับให้อยู่ในท่าที่แขนสามารถเอื้อมถึงพวงมาลัยโดยไม่ต้องยกไหล่มากเกินไป ทำไมจึงต้องใส่ใจเรื่องการปรับเบาะให้พอดีกับสรีระด้วย? เพราะการปรับเบาะให้พอดีกับร่างกายเรานั้น จะทำให้การรัดเข็มขัดนิรภัยไม่ค่อยรู้สึกอึดอัดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
- ตรวจเช็กสภาพเข็มขัดนิรภัยอย่างน้อยเดือนละครั้ง เพื่อลดโอกาศการเกิดอุบัติเหตุไม่คาดคิดได้อย่างเต็มความสามารถ เข็มขัดนิรภัยที่ดีควรมีมาตรฐาน คุณภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งาน วิธีการตรวจสอบการทำงานของเข็มขัดนิรภัยก็แสนง่ายดาย เพียงแค่ทดสอบด้วยการกระชาก หากสายเข็มขัดทำงานปกติจะทำการล็อกตัวเองทันที
- ตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยรอบก่อนสตาร์ทเครื่อง รถแทรกเตอร์ถูกออกแบบมาด้วยความสูงพิเศษ เพื่อทัศนวิสัยการมองเห็นที่กว้างไกล ซึ่งก็เป็นข้อเสียที่ทำให้ไม่เห็นสภาพแวดล้อมในระดับต่ำกว่าตัวรถได้อย่างครอบคลุม ฉะนั้นก่อนสาร์ทเครื่องยนต์ควรสำรวจสภาพแวดล้อมโดยรอบให้ละเอียดเสียก่อน ระวังเด็กเล็ก หรือสัตวร์เลี้ยงที่มักจะมาวนเวียนอยู่แถวบริเวณรถอยู่บ่อยครั้ง หากไม่ระวังอาจเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดคิดได้เลยนะ
- วิธีสตาร์เครื่องอย่างถูกต้อง ไม่ใช่เพียงแค่เหยีบเบรกและบิดกุญแจเท่านั้น ควรตรวจสอบอุปกรณ์รอบคันรถด้วย ทุกส่วนต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ การสตาร์ทรถแทรกเตอร์ไม่มีความซับซ้อนเท่าไหร่นัก
- ตรวจสอบตำแหน่งของคันเร่งปละปุ่มเปิดน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในที่ควรอยู่เสมอ หากพบว่าอุปกรณ์ส่วนใดส่วนหนึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกติ หรือไม่พร้อมใช้งาน ควรทำอุปกรณ์ดังกล่าวกลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิม เพื่อป้องกันเครื่องยนต์มีปัญหาขณะหรือหลังใช้งาน
- ก่อนสตาร์ทเครื่อง ควรเหยียบคลัท์ชค้างไว้แล้วจึงบิดกุญแจ ทำเหมือนสตาร์ทเครื่องรถยนต์เกียร์ธรรมดา การบิดกุญแจที่ถูกต้องจะต้องบิดค้างไม่เกิน 20 วินาที ไม่ควรสตาร์ทเครื่องยนต์ตอนที่ร้อนหรือเย็นเกินไป ควรปล่อยให้เครื่องยนต์อยู่ในอุณหภูมิปกติแล้วค่อยสตาร์ทใหม่อีกครั้ง
- เช็กหน้าปัดทุกครั้งเมื่อบิดกุญแจ เพิ่มความปลอดภัยไปอีกขั้นนึง เพราะเมื่อรถเกิดความผิดปกติ จะแสดงสัญญาณเตือนแถวบริเวณหน้าปัด หากเป็นปัญหาที่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ก็ควรแก้ไขโดยด่วน แต่ถ้าหากเป็นปัญหาที่จะต้องเข้าศูนย์เพื่อรับการตรวจเช็กอย่างละเอียด ก็ควรติดต่อศูนย์บริการใกล้บ้าน
- ล็อกเบรกทั้ง 2 เมื่อมีความจำเป็นต้องขับบนถนน การ ขับรถไถ บนถนนค่อนข้างต้องระวังเป็นพิเศษ ควรตรวจสอบระบบต่าง ๆ ของรถแทรกเตอร์ให้พร้อมใช้งาน ทั้งระบบเกียร์ ระบบไฟฟ้า เครื่องยนต์ ระบบเบรก และอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน และที่สำคัญใส่ใจเรื่องกฎจราจรเพิ่มเติมด้วยนะคะ เนื่องจากรถแทรกเตอร์ที่ไม่ได้เสียภาษีประจำปีเหมือนรถยนต์ทั่วไป แต่มีความจำเป็นต้องขับขี่ร่วมกับทางสาธารณะ จึงต้องเคารพกฎจราจรและมีมารยาทในการขับขี่ ยกระบบไฮดรอลิกขึ้นทุกครั้งเมื่อต้องใช้ทางร่วมกับรถคันอื่น และวิ่งขนานทางซ้ายอยู่ตลอดเวลา
- รถแทรกเตอร์มีระบบเบรกทั้งหมด 2 แป้น โดยแยกฝั่งซ้ายและขวาเพื่อซัพพอร์ตการใช้งานทุกสภาพผิว บางครั้งรถแทรกเตอร์ก็ไม่ได้วิ่งแค่ทางราบอย่างเดียว อาจจะมีขึ้นเนินลงเนิน และสภาพดินแต่ละพื้นที่ก็ไม่เหมือน ซึ่งบางพื้นที่ก็ควรเบรกทั้ง 2 ล้อเพื่อหยุดรถที่ดีขึ้น
- นอกจากจะช่วยหยุดรถ เบรกทั้ง 2 ข้าง ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยวสำหรับรัศมีที่แคบอีกด้วย ถึงแม้รถแทรกเตอร์จะมีขนาดใหญ่เทอะทะ แต่ก็สามารถเข้าไปทำงานในพื้นที่แคบได้ บางครั้งการหักพวงมาลัยเลี้ยวอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการหมุนองศาล้อ จึงจำเป็นต้องเหยียดเบรกร่วมกับการเลี้ยว
สรุป การขับรถแทรกเตอร์บนถนนสาธารณะควรล็อกแป้นเบรกทั้ง 2 ข้าง หากล็อกเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ล้ออีกข้างก็จะเหมือนเข้าเกียร์ว่างไว้ ทำให้หยุดรถยากมากขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
- เปิดสัญญาณไฟเตือนรถคันอื่น ควรเปิดสัญญาณไฟเลี้ยวและฉุกเฉินทุกครั้งสำหรับกลางวัน ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนให้รถคันที่ตามมาด้านหลังเว้นระยะห่าง และเพื่อให้รถคันอื่นรู้ว่ารถของเรากำลังจะเลี้ยวไปทางทิศไหน หรือแสดงสัญญาณไฟฉุกเฉินเมื่อมีเหตุจำเป็นให้ต้องวิ่งช้ากว่าปกติ สำหรับการขับรถไถบนทางถนนสาธารณะในช่วงกลางคืน แนะนำให้เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน และจำเป็นต้องใช้โคมไฟแสงสีแดงแขวนไว้บริเวณท้ายสุด (ส่วนที่ยื่นออกไป) ของรถแทรกเตอร์ เพื่อเป็นจุดสังเกตให้กับรถที่ตามมาเว้นระยะห่างเช่นกัน เคยเกิดเคสศึกษาเกี่ยวกับรถไถที่วิ่งบนทางสัญจรในช่วงกลางคืน แต่ไม่ยอมเปิดไฟฉุกเฉินในขณะวิ่ง ส่งผลให้รถที่ตามมาข้างหลังชนเข้าอย่างเต็มแรง
- กฎหมายน่ารู้ : เนื่องจากการนำรถแทรกเตอร์มาขับบนท้องถนนช่วงเวลากลางคืนค่อนข้างมีความอันตรายมาก จึงต้องมีกฎหมายควบคุมนิดหน่อย โดยพระราชบัญญัติจราจร พ.ศ. 2522 ได้ระบุข้อความโดยสรุปได้ว่า รถแทรกเตอร์ที่วิ่งตอนช่วงกลางคืน พื้นที่แสงสว่างน้อย ต้องเปิดไฟฉุกเฉินให้กระพริบอยู่ตลอดเวลาที่อยู่บนท้องถนน และรถที่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงด้านท้ายยาวเกิน 2 เมตร ต้องแขวนโคมไฟแสงสีแดงไว้ด้วย
- ลดความเร็วเมื่อเข้าโค้ง เบรก หรือวิ่งบนทางขรุขระ หากไม่ลดความเร็วอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน รถพลิก แหกโค้ง รถเสียสมดุลได้ในที่สุด ถึงแม้การขับรถไถจะอยู่แต่ในพื้นที่โล่งกว้าง ก็มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุอย่างไม่คาดคิดได้เหมือนกัน
- ไม่ลดความเร็วเสี่ยงแหกโค้ง หรือรถพลิกคว่ำ เพราะแต่ละสภาพถนนไม่เหมือนกัน ส่วนยางรถแทรกเตอร์เองก็เป็นยางที่ออกแบบมาพิเศษ สามารถวิ่งในพื้นที่เกษตรกรรมได้เฉพาะ ซึ่งบางทางโค้งเป็นเนิน ทางลาดชัน หรือโค้งหักศอก จึงจำเป็นต้องแตะเบรกทุกครั้งเมื่อเข้าทางโค้ง วิธีเข้าโค้งที่ดี คือ การลดควรลดความเร็วก่อนเข้าโค้ง และเพิ่มความเร็วเมื่อพ้นระยะโค้ง
- เราเชื่อว่าหลายคนเคยรู้เกี่ยวกับการเยียบเบรกมาบ้าง คือ การไม่เหยียบเบรกจนสุด การทำแบบนั้นจะทำให้รถปัดขณเบรกได้ นอกจากจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุแล้ว การเหยียบเบรกกระทันหันยังทำให้ผ้าเบรกเสื่อมสภาพเร็วเกินกว่าเวลาอันควรด้วย การเบรกรถที่ถูกต้องความเริ่มจากชะลอความเร็ว พร้อมกะระยะห่างที่คิดว่าควรชะลอ ควรคำนึงถึงขนาดและน้ำหนักรถร่วมด้วย
- ขับขี่บนทางขรุขระ ค่อนข้างมีความอันตรายสูง เพราะผิวทางไม่เสมอกันจะทำให้สมรรถนะต่ำลงกว่าขับปกติ ยางรถจะทำการดูดซับแรงกระแทกที่ส่งขึ้นมาจากถนน ทำให้รถเสียสูญในบางครั้ง ควรเดินรถด้วยเกียร์ต่ำในอัตราความเร่งที่ต่ำ พยายามประคองพวงมาลัยให้นิ่งเท่าที่ควบคุมได้ ที่สำคัญสายตาต้องสอดส่องสภาพแวดล้อมโดยรอบตลอดเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางขณะรถวิ่ง
- ห้ามลงหรือขึ้นรถขณะเคลื่อนที่ ไม่ว่าจะเป็นรถประเภทไหน หากต้องการขับขี่อย่างปลอดภัยก็ไม่ควรลงหรือขึ้นรถในขณะที่รถไม่หยุดนิ่ง เพราะร่างกายมนุษย์กับรถแทรกเตอร์มีแรงต้านต่างที่ระดับกัน ส่งผลให้ได้รับบาดเจ็บในที่สุด หากไม่ระวังอาจโดนรถทับได้ ควรจอดรถให้หยุดสนิทก่อนแล้วค่อยลงจากรถ ถึงแม้รถแทรกเตอร์จะวิ่งในอัตราเร่งที่ต่ำก็ไม่สมควรทำ เพราะนั่นก็เสี่ยงต่อชีวิตเช่นเดียวกัน
รถแทรกเตอร์วิ่งบนถนนได้ไหม ?
อ้างอิงจากกฎหมายจราจร รถแทรกเตอร์จัดเป็นรถประเภทที่ไม่มีป้ายทะเบียนและไม่ได้เสียภาษีประจำปี ไม่ได้มีความเร็วเพียงพอที่จะสามารถวิ่งบนถนนสาธารณะได้ ฉะนั้นรถแทรกเตอร์จึงไม่สามารถขับบนถนนสาธารณะได้อย่าง 100% หรือนำมาใช้เป็นยานพาหนะประจำวันไม่ได้ แต่ถ้าหากมีความจำเป็นในการเดินทางไปยังพื้นที่เกษตรกรรม ก็พออะลุ่มอล่วยได้นิดนึง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน หากฝ่าฝืนอาจมีโทษปรับตามมาตราความผิด ปรับไม่เกิน 500 ถึง 1,000 บาท แล้วแต่กรณี ยิ่งสมัยนี้ที่โลกโซเชียลมีอิทธิพลต่อผู้คน หากนำรถแทรกเตอร์มาขับบนถนนสาธารณะแล้วประสบอุบัติเหตุ อาจโดนโทษเป็น 2 เท่า เพราะเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุค่ะ
การจอดรถแทรกเตอร์ให้ถูกต้อง
หลังจากที่เราได้เรียนรู้วิธีการขับรถแทรกเตอร์อย่างปลอดภัยต่อผู้ขับขี่และผู้คนโดยรอบแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ควรศึกษาไว้ คือ การจอดและการออกจากรถแทรกเตอร์อย่างไรให้ปลอดภัย วิธีการเหล่านี้จะช่วยลดเปอร์เซ็นต์การเกิดอุบัติเหตุได้ และการถอยจอดไถอย่างถูกวิธียังช่วยให้ประหยัดค่าน้ำมันแบบอ้อม ๆ ได้อีกนะ
- ก่อนลงจากรถต้องปิดระบบ SCV และปลด PTO ให้เรียบร้อยเสียก่อน ถ้าระบบ 2 อย่างนี้ยังทำงานอยู่ อาจทำให้รถแทรกเตอร์มีอายุการใช้งานสั้นลงกว่าเดิม
- SCV หรือ Suction control valve คือ วาล์วจ่ายน้ำมันเข้าเพื่อเข้าไปยังปั๊ม ส่งต่อไปยังกระบวนการเผาไหม้ต่อไป เพื่อให้กลายเป็นพลังงานขับเคลื่อน จำเป็นต้องหยุดทำงานทุกครั้งเมื่อดับเครื่อง
- PTO หรือ Power take off shaft คือ เพลาพิเศษออกแบบมาใช้กับรถแทรกเตอร์สำหรับการเกษตรโดยเฉพาะ โดยจะส่งแรงไปยังอุปกรณ์ต่อพ่วงให้อุปกรณ์เหล่านั้นสามารถควบคุมทิศทางได้
- วางอุปกรณ์ต่อพ่วงลง ล็อกเบรก แล้วค่อยดับเครื่อง วิธีการต่อมาหลังจากที่เราปิดระบบ SCV และปลด PTO เรียบร้อยแล้ว ก็คือการวางอุปกรณ์ต่อพ่วงลงกับพื้น เพื่อเป็นการถ่ายน้ำหนักให้กับตัวรถ ปลอดภัยกว่าเมื่อวางอุปกรณ์ต่อพ่วงลง และไม่ก่อให้เกิดปัญหาอุปกรณ์ต่อพ่วงจะตกหล่นใส่หัวใครแน่นอน หลังจากนั้นให้ล็อกเบรก เช่นเดียวกับการจอดรถยนต์ทั่วไปเลย ที่เราจะต้องล็อกเบรกมือเพื่อป้องกันรถไหล หากรถแทรกเตอร์ไหลก็ยากต่อการควบคุมเพราะค่อนข้างมีน้ำหนักมาก เข้าเกียร์ว่างและดับเครื่องแล้วค่อยดึงกุญแจ
ลงจากรถแทรกเตอร์อย่างไรให้ปลอดภัย
ขั้นตอนสุดท้ายสำหรับการจอดและลงจากรถ เพียงไม่กี่วินาทีที่พลาดก็สามารถคราดชีวิตได้ ถึงแม้อาจจะเป็นแค่สถานการณ์อุบัติเหตุเล็กน้อยที่ดูจะไม่รุนแรง แต่ก็ต้องเสียเงินรักษาพยาบาลเพิ่มอีก ฉะนั้นก่อนลงจากรถแทรกเตอร์จะต้องตรวจเช็กสิ่งต่าง ๆ ให้เข้าที่เข้าทางพร้อมใช้งานสำหรับครั้งถัดไป รวมไปถึงมีสิ่งผิดปกติบนรถที่ต้องรีบซ่อมหรือดูแลเป็นพิเศษหรือเปล่า
- เข้าเกียร์ ดับเครื่อง รถอาจไหลได้ วิธีการจอดรถไถแบบนี้เป็นวิธีที่ผิด ถึงแม้จะเคยชินมาเป็นเวลานาน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมาก รถอาจกระตุกเมื่อจอดแบบค้างเกียร์ไว้ ทำให้รถพลิกคว่ำและเกิดอุบัติเหตุได้ ควรเข้าเกียร์ว่างแล้วล็อกเบรกให้เรียบร้อยจึงดับเครื่อง
- ไม่ควรเข้าใกล้ PTO ขณะทำงานและอุปกรณ์ต่อพ่วงเมื่อถูกยกขึ้นอยู่ ในขณะจอดและยังไม่ได้ดับเครื่อง การทำงานของ 2 ระบบนี้ค่อนข้างมีความอันตรายอยู่ระดับหนึ่ง หากรู้ว่าทั้งสองกำลังทำงานอยู่ก็ไม่ควรเข้าไปอยู่ใกล้ เพราะอาจเกิดเหตุการณ์กระตุกหรือหลุดได้
- ควรจอดรถไถแบบหันหน้าออกทุกครั้ง เพราะง่ายต่อการขับออกจากที่จอดในครั้งถัดไป หมั่นตรวจสอบทุกอย่างให้อยู่ในสภาพดี และดับเครื่องให้สนิทเสียก่อนจึงจะลงจากรถได้
คราวนี้พี่น้องชาวเกษตรกรเห็นแล้วใช่ไหมล่ะ ว่าการ จอดรถไถ และการ ขับรถไถ อย่างปลอดภัย เป็นส่วนสำคัญที่สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและไม่ทำลายแวดล้อมโดยรอบ รวมถึงยืดอายุการใช้งานของรถแทรกเตอร์ แต่อย่าลืมหมั่นบำรุงรักษาและตรวจเช็กอยู่เสมอให้อุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ควรคำนึงถึงกฎจราจรและเพื่อนร่วมทาง เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องขับลงถนนสาธารณะ ทีมงาน John Deere หวังว่าพี่น้องชาวเกษตรกรจะสามารถนำความรู้นี้ไปปรับใช้กับการทำงานจริงได้นะคะ
อ่านบทความการสตาร์ทเครื่องรถไถเพิ่มเติมได้ที่นี่ : สตาร์ทเครื่องรถไถ อย่างไรให้ถูกต้อง – John Deere RMA