John Deere RMA

ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างไรให้กำไรงาม

ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างไรให้กำไรงาม

ผลิตผลทางการเกษตรนอกจากข้าวและอ้อยที่นิยมปลูกกันอย่างต่อเนื่อง คือ ปาล์มน้ำมัน เนื่องจากมีความหลากหลายในด้านการแปรรูปและง่ายต่อการดูแลเลี้ยง ปาล์มน้ำมันจัดเป็น พืชเศรษฐกิจ ที่นิยมปลูกทางทางภาคใต้และภาคตะวันออก และยังได้การสนับสนุนจากกรมพัฒนาที่ดินพิเศษเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การปลูกปาล์มน้ำมันแบ่งเป็น 2 ช่วงการเจริญเติบโต ซึ่งการปลูกปาล์มน้ำมันต้องอาศัยพื้นที่สำหรับขุดร่องเพื่อทำการปลูกเล็กน้อย เนื่องจากลำต้นของปาล์มเมื่อโตเต็มวัยนั้นจะมีขนาดที่ค่อนข้างกว้างหรือแผร่ขยายตามอายุการเจริญเติบโต เป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถลงทุนได้ในระยะยาว

ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างไรให้กำไรงาม

สภาพแวดล้อมเหมาะกับการปลูกปาล์มน้ำมัน

แน่นอนว่าพืชแต่ละชนิดมีความชื่นชอบที่เจรญเติบโตที่แตกต่างกัน ต้นปาล์มมีลักษณะลำต้นเดี่ยว ลำต้นกว้างประมาณ 12 -20 นิ้ว ผลิตผลจากปาล์มน้ำมันสามารถนำไปต่อยอดได้มากมาย เช่น น้ำมันดิบ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ เนยเทียม เนยขาว ปุ๋ย เลี้ยงสัตว์ สบู่ เชื้อเพลิง และผงซักฟอก

  • สภาพแวดล้อมโดยรวม พื้นที่เหล่านั้นต้องมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด โดยสามารถคำนวณได้จากองค์ประกอบต่างๆ ที่สามารถส่งผลต่อการเจริญเติบโตของปาล์ม เมื่อได้ทำการลงปลูกไปแล้ว ค้นพบในภายหลังว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่เหมาะสมต่อการปลูกปาล์มน้ำมัน ให้เร่งทำการบำรุงอย่างใกล้ชิดหรือย้ายไปปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม
  • สภาพดินที่เหมาะสม  คือ  ต้นปาล์มสามารถเจิญเติบโตได้ดีในดินร่วนจนถึงดินเหนียว  เพราะดินชนิดนี้สามารถอุ้มน้ำได้ดี มีธาตุอาหารสูง เป็นกรดอ่อน สะดวกต่อการพรวนดิน ใส่ปุ๋ย หรือกำจัดวัชพืช
  • ฤดูที่เหมาะสม ต้นปาล์มสามารถเติบโตได้ระยะนาว แน่นอนว่าต้องประสบพบเจอกับทุกฤดูในประเทศไทย ไม่ควรปลูกช่วงปลายฤดูฝนต่อเนื่องถึงฤดูแล้ง ต้นปาล์มชอบความชื้นสูง จึงต้องการเจริญเติบโตในพื้นที่ที่ฝนตกชุกตลอดปี แสงแดดจัดสามารถส่งผลต่อการเจริญเติบโตของผลผลิต แต่ต้องพึงระวังความแห้งแห้งจากภัยแสงอาทิตย์ที่จัดมากเกินไป โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดคือ 25 ถึง 28 องศาเซลเซียส นี่คือสามาหตุว่าทำไมจึงนิยมปลูกทางทางภาคใต้และภาคตะวันออกมากที่สุด

วิธีการปลูกปาล์มน้ำมันฉบับเกษตรกร

  • สำรวจสภาพแวดล้อมโดยรอบและปรับสภาพดินเพื่อเตริมการปลูก โดยการเตรียมดินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดคือ ฝังกลบซากปาล์ม และใส่ปุ๋ยเพื่อเตรียมความพร้อม แต่ของเสียของการฝังกลบนั้นอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานมากกว่าการจำกัดซากประเภทอื่น โดยระยะเวลาการเตรียมพื้นที่ใช้เวลาประมาณ 1-3  เดือน ขั้นอยู่กับขนาดของพื้นที่และวิธีการเตรียมดิน
  • เตรียมขุดร่องน้ำและเส้นทางขนส่ง ผลผลิตจากต้นปาล์มมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมาก ไม่สามารถใช้รถคันเล็กเพื่อขนส่งได้ ฉะนั้นส้นทางการขนส่งภายในสวนปาล์มเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เกษตรกรควรให้ความใส่ใจมากเป็นพิเศษ โดยทั่วไปนิยมทำเส้นทางขนส่งที่ความกว้างโดยประมาณ 4-6 เมตร ซึ่งจำนวนและความกว้างของถนนดังกล่าวนั้น ต้องคำนวณจากองค์ประกอบต่างๆ เช่น ขนาดของสวนปาล์ม เงินทุน สภาพแวดล้อมโดยรอบ ในส่วนของร่องน้ำเป็นส่วนสำคัญเพราะต้นปาล์มค่อนข้างชอบความชื้นสูง การมีร่องน้ำจึงเปรียบได้กับการรดน้ำต้นปาล์มได้ทั้งปี และยังสามารถระบายน้ำเพื่อนทำการหมุนเวียนแร่ธาตุเพื่อบำรุงปาล์ม สำหรับเกษตรกรรมในยุค 4.0 อาจจะติดตั้งหัวจ่ายน้ำ หรือ Sprinkler Head เพื่อเติมความชุ่มชื้นระหว่างวัน
  • จัดแจงพื้นที่เพื่อเตรียมการวางแนวในการปลูก เนื่องจากต้นปาล์มต้องใช้พื้นที่ประมาณหนึ่งในการเจริญเติบโต โดยทั่วไปนิยมปลูกในลักษณะของสามเหลี่ยมด้านเท่า เพราะการปลูกลักษณะนี้สามารถช่วยให้การใช้พื้นที่คุ้มทุกตารางนิ้ว นิยมปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะ 9 x 9 x 9 เมตร 
  • การปลูกพืชคลุมดิน ไม่ว่าต้นปาล์มจะมีขนาดใหญ่แค่ไหน ก็สามารถพบกับปัญหาวัชพืชได้เช่นกัน การปลูกพืชคลุมดิน คือ วิธีการควบคุมประชากรวัชพืชที่ประหยัดและเป็นมิตรกับโลกที่สุดที่สุด เกษตรกรสวนปาล์มนิยมปลูกพืชคลุมดินตระกูล Pueraria Phaseoloides, Calogoponium Mucunoides,  Centrocema Pubescen หรือพืชอาหารสัตว์ตระกูลถั่ว เนื่องจากเป็นพืชล้มลุกที่มีขนาดใบไปทางกว้างมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 – 3.8 มิลลิเมตร สามารถกว้างสุดได้ถึง 3.8 – 6.3 เซนติเมตร มีลำต้นใต้ดินและรากสะสมอาหารได้ดี สามารถป้องกันการขึ้นแข่งขันของวัชพืชแล้วยังสามารถรักษาความชุ่มชื้นของดินให้คงความสมบูรณ์อยู่เสมอ ชะลอการการทำร้ายหน้าดินจากเหตุการณ์ต่างๆ ควรปลูดพืชคลุมดินให้มีระยะห่างจากต้นปาล์มอย่างน้อย 1.5 เมตร

สายพันธุ์ปาล์มที่นิยมปลูกในไทย

ปาล์มมีมากมายหลายสายพันธุ์ แต่มีเพียงไม่กี่สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในไทย เนื่องจากลักษณะการเติบโตของปาล์มชนิดนั้นๆ มีการเติบโตทิศทางที่ดี ซึ่งการปลูกต้มปาล์มแต่ละชนิดต้องเริ่มจากการเลี้ยงเมล็ดพันธุ์เสียก่อน ซึ่งแตกต่างจากการปลูกพืชเศรษฐกิจบางชนิดที่สามารถหว่านก็ขึ้นแล้ว

  • พันธุ์สุราษฎร์ธานี 1 ถูกตัดแต่งพันธุ์มาจากสายพันธุ์ต้นแบบทั้งเดลี่และคาลาบาร์ ทำให้ผลผลิตต่อปีมีอัตราสูงขึ้นถึง 24 เปอร์เซนต์ และมีความสามารถในการผลิตน้ำมันต่อทะลายที่เทียบเท่ากับการสกัดจากโรงงาน ด้วยการตกแต่งพันธุกรรมจึงส่งผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อเกษตรกร เนื่องจากผลผลปาล์มสามารถสังเกตได้ง่ายมากขึ้น ถ้าดิบจะเป็นสีดำ และเมื่อสุขผลก็จะกลายเป็นสีแดง แต่อาจจะพบโรคใบบิดได้ในช่วงระยะเวลา 1-3 ปีแรก หลังจากพ้นช่วงระยะเวลาดังกล่าวสุขภาพของใบจะกลับมาปกติเหมือนเดิม
  • พันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 ตัดแต่งพันธุ์กรรมจากเดลี่ x ลาเม่ สามารถให้ผลผลิตได้มากกว่าพันธุ์สุราษฎร์ธานี 1 ประมาณ 5 เปอร์เซนต์ ทะลายควความสม่ำเสมอแม้อากาศจะแล้งมากก็ตาม ลำต้นเตี้ย เนื้อใบหนากว่าพันธุ์มาตรฐาน แต่ไม่ควรนำสายพันธุ์นี้ไปพัฒนาต่อ เนื่องจากผ่าการทดลองมาแล้ว ปรากฎว่าทะลายฝ่อทำให้ผลผลิตน้ำมันน้อย เกษตรกรควรคำนึงถึงความชื้นในสวนปาล์มเช่นเดียวกัน ถึงแม้สายพันธุ์สุราษฎร์ธานี 2 สามารถทนความแล้งได้เป็นอย่างดีก็ตาม
  • พันธุ์สุราษฎร์ธานี 7 ตัดแต่งมาจากสายพันธุ์เดลี x แทนซเนีย อดเปี้ยวไว้กินหวาน เพราะยิ่งโตยิ่งให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น มีเนื้อและทะลายมากกว่าทั้ง 2 สายพันธุ์ข้างต้น ทำให้เกษตรกรสามสามารถส่งผลผลิตไปแปรรูปได้อย่างหลากหลาย ต้องการความชื้นและแสงแดดพอสมควร แต่อาจจะพบโรคใบบิดได้ในช่วงระยะเวลา 1-3 ปีแรก หลังจากพ้นช่วงระยะเวลาดังกล่าวสุขภาพของใบจะกลับมาปกติเหมือนเดิม และไม่ควรนำสายพันธุ์นี้ไปพัฒนาต่อเช่นเดียวกัน 
  • พันธุ์สุราษฎร์ธานี 9 สายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาจากเดลี่ x แอปรอส จากศูนย์วิจัยนำมันปาล์มจังหวัดสุราษฎร์ธานี สามารถให้ผลผลิตต่อปีสูงมากขึ้นเฉลี่ยประมาณ 6.20 เปอร์เซนต์ต่อปี ควรเลือกที่ปลูกให้เหมาะสมกับสายพันธุ์นี้ ซึ่งต้องการความชื้นมากเป็นพิเศษ ปริมาณน้ำฝนควรมากกว่า 1,800 มิลลิเมตรต่อปี และไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีหน้าแล้งติดกันนาน 2 เดือน  พูดง่ายๆ ก็คือสายพันธุ์สุราษฎร์ธานี 9 นี้ ต้องการความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมากกว่าใครเพื่อน

การดูแลรักษาสวนปาล์ม

หลักจากที่ได้จัดแจงลงปลูกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนการดูแลก็สำคัญไม่ต่างกับขั้นตอนอื่นเลย เมื่อต้นอ่อนได้เจริญเติบโตในดินที่ได้ตระเตรียมไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ขั้นตอนการดูแลปาล์มน้ำมันแบ่งเป็น 2 ระยะเวลา โดยสามารถอ้างอิงได้จากการการเจริญเติบโตของปาล์ม

  • ระยะ Pre Nursery เป็นระยะเวลาการดูแลต้นอ่อน โดยขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความระมัดระวังและความใกล้ชิดมากเป็นพิเศษ ต้องการร่มเงาเพื่อกำบังจากแสดงอาทิตย์ที่สาดส่องมากเกินไป และต้องระวังการแย่งสารอาหารจากวัชพืชและแมลงต่างๆ วิธีที่นิยมเพาะเมล็ดนิยมปลูกในกระบะทรายที่สุด โดยแต่ละแถวจะมีระยะห่างประมาณ 5 เซนติเมตร และไม่ควรฝังลึกมากนัก ประมาณให้ท่วมยอดต้นอ่อนหรือให้ยอดโผล่เหนือดินเล็กน้อย ในช่วงระยะเวลานี้ต้นอ่อนยังไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก แต่สามารถฉีดพ่นปุ๋ยได้ในอัตราส่วน 7 กรัมผสมน้ำ 5 ลิตร สิ่งสำคัญที่เกษตรกรควรคำนึงถึง คือ ความชื้นเพียงพอต่อการเจริญเติบหรือไม่? เมื่อต้นกล้าอยู่ในสภาวะขาดน้ำจะส่งผลให้เจริญเติบโตช้า มีรูปร่างผิดปกติ เกิดโรคง่าย โดยปกติต้องให้น้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทั้งเช้าและเย็น

  • ระยะ Main Nursery เป็นช่วงระยะเวลาที่เริ่มย้ายกล้าไปยังภาชนะใหม่ที่เตรียมไว้ สามารถเริ่มใส่ปุ๋ยได้ในระยะเวลานี้เป็นต้นไป สูตรปุ๋ยที่นิยมมากที่สุดคือ สูตร 15-15-6-4 สลับกับปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 หว่านบริเวณโคนต้น หลังจากที่ต้นกล้ามีอายุ 12-14 เดือน ให้ทำการปลูกปาล์มน้ำมันลงสู่พื้นดินที่เตรียมไว้ นิยมปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า โดยมีพื้นที่ประมาณ 90 x 90 x 90 เซนติเมตร ปาล์มน้ำมันที่ได้ลงพื้นดินเป็นที่เรียบร้อยแล้วต้องการการดูแลหลายปัจจัย เช่น
    • ตัดแต่งกิ่งเพื่อสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว เป็นระเบียบ และข่วยให้ลำต้นสามารถลำเลียงอาหารไปได้ง่ายกว่า ควรตัดทางใบล่างสุดโดยรอบลำต้นออกก่อน และสามารถกำจัดวัชพืชได้ง่ายมาขึ้น
    • ตัดช่อดอกทิ้ง การตัดช่อดอกที่เกิดขึ้นในระยะแรกทิ้งเพื่อให้การเจริญเติบโตของต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่แทนที่จะต้องใช้อาหารส่วนหนึ่งไปเลี้ยงผล
    • ต้องการความชื้นและน้ำอย่างเพียงพอ โดยหน้าแล้งให้เพิ่มปริมาณน้ำประมาณ 150 ถึง 200 ลิตรต่อต้นต่อวัน เพราะว่าปาล์มน้ำมันสามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ความชื้นสูง

ผลผลิตจากการแปรรูปปาล์มน้ำมัน

หลังจากที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มสละเวลาลงทุนลงแรงปลูกจนได้ที่แล้ว ก็ถึงช่วงเวลาสำคัญที่ทำให้หายเหนื่อยไปได้เลย อย่างที่บอกไว้ในขั้นต้นว่าปาล์มน้ำมันสามารถแปรรูปได้อย่างหลากหลายจากทุกส่วนของต้น สามารถสร้างประโยชน์ต่อเกษตรกรได้อย่างคุ้มค่า

  • เนยขาว มีปริมาณไขมันมากถึง 100% เพื่อเป็นส่วนผสมในการทำเค้กหรือขนมต่างๆ
  • ของใช้จากกาบใบ เช่น รองเท้า กระเป๋า สมุดจด แผ่นรองแก้ว
  • มาการีน มีปริมาณไขมันไม่น้อยกว่า 80% โดยใช้น้ำมันผสมกับไขมันและเติมน้ำหรือส่วน
  • ทดแทนน้ำมันดีเซล ทำให้เครื่องยนต์สะอาด ลดการปล่อยมลพิษ
  • สบู่ สามารถใช้ไขมันจากปาล์มทดแทนกรดไขมันวัวรหือน้ำมันมะพร้าว
  • PFAD และ PKFAD (palm และ palm kernel fatty acid distillates ) ป็นแหล่งพลังงานที่ดีสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องและสัตว์ปีก
  • ครีมเทียม ใช้แทนครีม นมผง หรือ นมสด ในกาแฟ ชา โก้โก้ หรือเครื่องดื่มอื่น

พืชเศษฐกิจชนิดนี้อาจจะใช้ระยะเวลาในการปลูกและดูและสักระหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้จุกจิกมากเกินไป ซึ่งการปลูกปาล์มน้ำมันในสมัยเกษตรยุคใหม่ สามารถปรับแต่งได้ตามสภาพแวดล้อมและพื้นที่ที่ปลูกต้นปาล์มนั้น เกษตรกรยังสามารถเลือกใช้เครื่องมือทางการเกษตรเพื่อทุ่นแรง ตั้งแต่ระยะเวลาการเตรียมดินสู่ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว อย่างรถแทรกเตอร์คู่ใจจาก John Deere ทั้ง รุ่น 3028EN, 3036E และ 5050D ที่จำทำให้การทำงานของคุณง่ายมากขึ้น ผลผลิตของปาล์มสามารถต่อยอดได้อย่างมากมาย โดยอัตราราคารับซื้อปาล์มจะอัปเดตทุกวัน ซึ่งขึ้นอยู่กับทิศทางของเศรษฐกิจขณะนั้นด้วย 

ขอบคุณข้อมูล : www.rakbankerd.comwww.doa.go.thwww.agknowledge.arda.or.th/