John Deere RMA

ปลูกข้าวโพดฉบับมือโปร

ปลูกข้าวโพดฉบับมือโปร

“ข้าวโพด” พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ธัญพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอันดับแรกๆ ที่ถูกนำมาประกอบอาหารของมนุษย์และเป็นอาหารของสัตว์  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการปลูกข้าวโพดอย่างแพร่หลายมากขึ้น เพราะต้นทุนราคาไม่สูงมาก หาได้ง่าย พร้อมทั้งคุณประโยชน์ของตัวข้าวโพดเองจึงนำมาซึ่งการแปรรูปข้าวโพดเพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ “ข้าวโพด” ถือเป็นวัตถุดิบหลักเลยก็ว่าได้  ทั้งตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศจึงมีกระแสความต้องการใช้ข้าวโพดในการเลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การปลูกข้าวโพดในประเทศไทยเพื่อการส่งออก สำหรับในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่า ข้าวโพดสามารถปลูกได้ดีทุกภาค แม้เราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าสามารถทำได้ตลอดปีถ้ามีแหล่งน้ำเพียงพอ อย่างไรก็ตามเราอาจลืมคิดไปว่าบางพันธุ์อาจตอบสนองต่อฤดูปลูกแตกต่างกัน นอกจากนี้ผลผลิตและคุณภาพข้าวโพดอาจจะแตกต่างไปตามฤดูกาลอีกด้วย 

การปลูกข้าวโพด

โดยทั่วไปแล้วช่วงที่จะให้ผลผลิตต่ำกว่าในช่วงอื่น ๆอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ เนื่องจากมีสภาพอากาศที่เย็นจึงส่งผลต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด ในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมจะได้ผลผลิตดีกว่าช่วงอื่น ๆ ทว่าไม่มีโรคราน้ำค้างระบาดและปัญหาวัชพืช หากพูดถึงผลผลิตบางส่วนที่อาจเสียหายได้เนื่องฝนตกหนักและบ่อยครั้งอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพราะการเกิดน้ำท่วมหรือน้ำขังในแปลงส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดได้หากระบบการระบายน้ำในแปลงไม่ดี

การเตรียมดิน

การปลูกข้าวโพดจำเป็นต้องมีการเตรียมดิน ในส่วนของการเตรียมดินสามารถดูรายละเอียดและขั้นตอนได้ ดังนี้

  • ใส่ปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1.5-2 ตัน/ไร่
  • ไถดะเพื่อกลบดินให้ลึก ความลึกประมาน 10-12 นิ้ว 
  • เพื่อกำจัดเชื้อโรค และวัชพืชที่อยู่ในดิน ให้ตากดินทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 7-10 วัน 
การเตรียมดินปลูกข้าวโพด

วิธีการปลูกข้าวโพด

การปลูกมีอยู่ 2 แบบ คือแบบแถวเดี่ยว และแบบแถวคู่ 

ปลูกแบบแถวเดี่ยว 

  • เว้นระยะห่างระหว่างแถว ประมาณ 75 เซนติเมตร 
  • เว้นระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 25-30 เซนติเมตร 
  • หยอดเมล็ดพันธุ์หลุมละ 1-2 เมล็ด (ปริมาณของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ใช้จะอยู่ที่ 1-1.5 กิโลกรัม/ไร่)
  • ต้องหมั่นดูแลรดน้ำหลังจากหยอดเมล็ดเสร็จ 
  • ประมาน 3 วัน จะเห็นเดือยงอกขึ้นมาให้ดูแลรดน้ำไม่ขาด
  • ในระหว่างใบที่สองขึ้นแล้วกำลังจะเกิดใบที่สามจึงรดน้ำอีกครั้ง
  • เริ่มฉีดพ่นยาป้องกันเชื้อราและกำจัดหนอนผสมกัน หลังจากขึ้นได้ 7 วัน และพ่นทุกๆ 5-7 วันไปเรื่อยๆ
  • หยุดพ่นเมื่อต้นอายุครบ 25 วัน 

*ปุ๋ย ต้องให้อายุได้ 25 วัน ถึงจะใส่ได้ สูตรที่ใส่ จะเป็นสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 ก็ได้ 1 รอบการปลูกใส่ปุ๋ยเพียง 2 ครั้ง ก็พอแล้ว

ปลูกแบบแถวคู่

  • จำเป็นต้องยกร่องสูง โดยให้มีระยะห่างระหว่างร่อง 120 เซนติเมตร 
  • ปลูกเป็นลักษณะ 2 แถวข้างร่อง เว้นช่วงห่างกัน 30 เซนติเมตร และมีระยะห่างระหว่างต้น 25-30 เซนติเมตร หลังจากนั้นให้ทำการปลูกหลุมละ 1 ต้น
  • ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 2-3 กิโลกรัม/ไร่ 
  • ช่วงกำลังงอกของต้นจะอยู่ในช่วงระยะเวลา 7 วัน หลังจากนั้น

ข้อควรระมัดระวัง

  • เรื่องการให้น้ำ การงอกไม่สมบูรณ์และการติดเมล็ดจะไม่ดีอาจเกิดจากการขาดการให้น้ำในช่วงที่ต้นข้าวโพดกำลังงอก 
  • ควรให้น้ำทุกวันในระยะแรก 
  • ให้น้ำทุก 3-5 วัน หลังจากข้าวโพดงอก และส่วนลำต้นมีความแข็งแรงหรือตามแต่สภาพของต้น และสภาพอากาศ 
  • ภายใน 1 หลุม ให้มีต้นข้าวโพดเพียงต้นเดียวเท่านั้น
วิธีการให้น้ำข้าวโพด

วิธีการให้น้ำข้าวโพด

เกษตรกรปฏิบัติมีอยู่ 2 แบบ ดังนี้ 

  1. ให้น้ำตามร่องคู
  2. ให้น้ำแบบพ่นฝอย (Sprinkler) 

การให้น้ำแบบพ่นฝอยขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและชนิดของดิน แต่โดยปกติแล้วควรให้น้ำแต่ละครั้งประมาณ 35-40 มิลลิลิตร เช่น ควรให้น้ำถี่กว่าดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียว ในกรณีที่ดินที่ใช้ปลูกเป็นดินทรายหรือดินร่วน เนื่องจากดินมีความสามารถในการเก็บความชื้นไว้ หากสภาพอากาศมีอุณหภูมิสูงหรือมีลมแรงก็ควรมีการให้น้ำถี่ในช่วงระยะการเจริญเติบโต  

การขาดน้ำทุกระยะการเจริญเติบโตจะมีผลให้ผลผลิตและคุณภาพของข้าวโพดลดลง เกษตรกรต้องมีการวางแผนวิธีการให้น้ำที่เหมาะสมกับสภาพแปลงปลูก โดยทั่วไปการให้น้ำมีหลักปฏิบัติ ดังนี้

  1. ให้น้ำทันทีหลังปลูกและหลังการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง หลังจากนั้นให้น้ำทุก 7-12 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ 
  2. ในกรณีที่ต้นขาดน้ำต้องรีบให้น้ำทันที สังเกตจากการเหี่ยวหรือม้วนในช่วงเช้าหรือเย็น 
  3. การให้น้ำต้องระวังไม่ให้น้ำท่วมขังในแปลงนานเกิน 24 ชั่วโมง จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้น จนอาจทำให้ต้นตายได้
  4. ระวังช่วงผสมเกสรและติดเมล็ดอย่าให้ข้าวโพดขาดน้ำเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ผลผลิตและคุณภาพผลผลิตลดลงอย่างมาก 
  5. 2-3 วัน ก่อนเก็บเกี่ยวให้หยุดการให้น้ำ

เทคนิคการดูแลให้ได้ผลผลิตดี

  1. โรคสำคัญคือ โรคใบไหม้แผลใหญ่ 

*วิธีแก้  ดูแลกำจัดหนอนในระยะ 20 วันแรก และหมั่นตรวจแปลงเป็นประจำ

  1. เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนและได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ ควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดี ทนโรค 
  2. การให้น้ำ ข้าวโพดเป็นพืชที่ใช้น้ำในปริมานที่น้อย รดน้ำทุก 2-3 วันครั้ง
  3. สภาพอากาศ โรคเชื้อราหรือแมลงแทบจะไม่เกิดเลย หากสภาพอากาศเหมาะสมไม่ร้อนหรือมีฝนมากเกินไป
  4. สลับแปลงปลูก เพื่อป้องกันการเกิดหรือหนีเชื้อโรค และโรคแมลง 

*คำแนะนำ อย่าปลูกพืชซ้ำหรือพันธุ์ซ้ำในแปลงเดิม

เก็บเกี่ยวข้าวโพด

จากแนวโน้มความต้องการที่สูงขึ้น ทำให้เกษตกรหันมาปลูกข้าวโพดมากยิ่งขึ้นแต่ด้วยการผลิตที่มีมากขั้นตอน และการเก็บเกี่ยวเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ต้องใส่ใจ ทำให้พบว่าปัญหาในด้านการขาดแคลนแรงงานและค่าจ้างแรงงานที่ค่อนข้างสูงพบบ่อยในการเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคน ส่วนการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องปลิดฝักข้าวโพดมีข้อจำกัดในการลากจูง ซึ่งการใช้แทรกเตอร์จะส่งผลต่อการทำงานเก็บเกี่ยว เช่น การเก็บเกี่ยวขอบแปลค่อนข้างลำบาก อีกทั้งยังเสียเวลาในการเก็บเกี่ยวมากขึ้นเนื่องจากไม่สามารจบงานในครั้งเดียว ส่วนการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องเกี่ยวนวดข้าวโพดมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น การสึกหรอของเครื่องยนต์ช่วงล่างที่มีค่อนข้างสูง และการขนย้ายเครื่องที่มีขนาดใหญ่ โอกาสที่เมล็ดมีความชื้นค่อนข้างสูงก็มีมากด้วย

การเก็บเกี่ยวข้าวโพดของเกษตรกรสามารถจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

การเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคน

การเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคน มี 2 แบบ 

  1. การหักฝักข้าวโพดออกจากต้นโดยไม่ปอกเปลือก เรียกว่า แบบเก็บฝักที่ยังไม่ปอกเปลือก  
  2. การใช้ไม้ปลายแหลมกรีดปอกเปลือกออก คือเก็บฝักแบบปอกเปลือก โดยใช้วิธีหักฝักข้าวโพดโยนกองรวมกันไว้บนพื้นดิน หรือกระสอบ

รายละเอียด

  • การเก็บฝักแบบไม่ปอกเปลือกมีค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 800-1,000 บาท/ไร่ 
  • การเก็บฝักแบบปอกเปลือกมีค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 1,000-1,500 บาท/ไร่ 

*ทั้งนี้ขึ้นอยู่สภาพพื้นที่และผลผลิต ซึ่งค่าใช้จ่ายประกอบด้วยค่าแรงงานปลิดฝัก และค่าขนย้ายออกจากแปลง

  • การขนย้ายโดยใช้รถบรรทุกและแรงงานคน  ใช้คนเป็นหลักในการหักปลิดเก็บข้าวโพดทีละฝัก และขนย้าย จึงทำให้เสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มากกว่า 1 ใน 3 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมดเลยก็ว่าได้ เพราะต้องใช้แรงงานจำนวนไม่น้อยอีกทั้งยังเสียเวลาอย่างมากเพื่อรวบรวม และเก็บรักษาหรือจำหน่ายในรูปของฝักข้าวโพด  

ไม่ว่าจะเป็นการเก็บรักษาฝักข้าวโพดไว้รอราคาที่สูงขึ้นแล้วจึงนำออกจำหน่ายในตลาดเกษตรกรหรือการจำหน่ายในรูปของเมล็ดข้าวโพดโดยการกะเทาะด้วยเครื่องกะเทาะข้าวโพดนั้นเป็นวิธีที่เกษตรกรบางรายนิยมทำ

การเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องปลิดฝักข้าวโพด

แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ เครื่องปลิดฝักข้าวโพด และเครื่องปลิดและปอกเปลือกหุ้มฝักข้าวโพด 

  • เครื่องปลิดฝักข้าวโพดทั้ง 2 แบบ มีกลไกเหมือนกันกับเครื่องปลิดฝักข้าวโพด แต่จะมีชุดลำเลียง และชุดรูดเปลือก เพื่อตอบโจทย์การทำงานเฉพาะด้าน โดยสามารถต่อพ่วงกับรถแทรกเตอร์ และเครื่องปลิดและรูดเปลือกหุ้มฝักข้าวโพดได้
  • สำหรับเครื่องนี้จะติดตั้งให้มีลักษณะพ่วงด้านข้างของรถแทรกเตอร์เพื่อการทำงานที่ง่าย 
  • หลังจากเก็บเกี่ยวนั้นจึงค่อยรวบรวมฝักเก็บไว้หรือจำหน่าย และมีรูปแบบหลังการเก็บแบบเดียวกันกับการเก็บเกี่ยวโดยใช้แรงงานคน

การเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวด

เครื่องเกี่ยวนวดข้าวสามารถเก็บเกี่ยวได้ทั้งข้าวและข้าวโพด ถูกดัดแปลงมาจากเครื่องเกี่ยวนวดข้าว

  • เครื่องเก็บเกี่ยวจะมีขนาดใหญ่ มีความรวดเร็ว และสมรรถนะที่ดีรองรับการทำงานอย่างยาวนาน 
  • เครื่องเกี่ยวนวดข้าวโพด ประกอบด้วยชุดเก็บเกี่ยว ชุดกะเทาะข้าวโพด และชุดคัดแยกและทำความสะอาด เรียกได้ว่า all-in-one ในเครื่องเดียว 
  • ตัวเครื่องเหมาะสำหรับพื้นที่ราบขนาดใหญ่