John Deere RMA

วิธีการปลูกอ้อย เคล็ดลับปลูกให้ได้ผลผลิตดี

ปลูกอ้อย

วิธีการปลูกอ้อย ปลูกอย่าไร ง่ายนิดเดียว

สำหรับคนไทยแล้วเกษตรกรรมเปรียบได้กับอุตสาหะกรรมขนาดย่อยไปถึงกลาง ที่คอยหล่อเลี้ยงให้มีกินมีใช้จนถึงปัจจุบันนี้ ทำให้เกิดความหลากหลายในอุตสาหะกรรมเกษตรกรรมมากขึ้น และเพื่อใช้พื้นที่ใช้สอยอย่างคุ้มค่า เกษตรกรรมจึงไม่ใช่แค่การปลูกข้าวอีกต่อไป ทั้งไร่อ้อย มันสัมปะหลัง ถั่ว หรือผลไม้ตามฤดูต่างๆ พืชผลทางเกษตรที่ดูแล้วจะจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเราคือ ‘อ้อย’ นั่นเอง

การปลูกอ้อยสามารถนำไปแปรรูปได้อย่างหลากหลายและประโยชน์อื่นจากทุกส่วนของอ้อย มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยจํานวน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กําแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ปลูกอ้อย 3,000,000 ไร่ เกษตรกรจะต้องมีพื้นฐานในการเตรียมตัวก่อนลงมือทำไร่อ้อย รวมไปถึงการเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือ เช่น การเตรียมดิน การเตรียมพันธุ์อ้อย การเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งระยะการปลูกไร่อ้อยนั้นจะแบ่งแยกออกเป็น 4 ช่วง ได้แก่ เตรียมตัว ลงปลูก ดูแล และเกี่ยวอ้อย ไร่อ้อยนับว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเกษตรกรรมอีกหนึ่งช่องทาง ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมือใหม่ได้อย่างดีทีเดียว

มาทำความรู้จักกับอ้อยกันดีกว่า

อ้อย จัดอยู่ในพืชประเภทล้มลุกขนาดใหญ่ เพราะว่ามีขนาดลำต้นสูงถึง 2 – 5 เมตร เป็นพืชตระกูลเดียวกับไผ่เนื่องจากลักษณะลำต้นเป็นข้อๆเหมือนกัน ซึ่งอ้อยจะมีปริมาณน้ำตาลซูโครสสูงมาก จึงเป็นสาเหตุที่ทำไมจึงนำอ้อยมาผลิตเป็นน้ำตาล นิยมปลูกในประเทศแถบร้อนและชุ่มชื่นสูง เพราะอ้อยต้องการปัจจัยการเจริญเติบโตอย่างครบถ้วนเช่นแสงแดดน้ำอากาศและแร่ธาตุต่างๆ ความพิเศษของอ้อยที่แตกต่างจากพืชพันธุ์เกษตรกรรมอื่นๆนั่นก็คือ ทุกส่วนของอ้อยสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างครบถ้วน ลงทุนปลูกครั้งเดียวสามารถได้ผลผลิตหลายครั้ง 

การเตรียมการปลูกอ้อย

5 ขั้นตอนการเตรียมการปลูกอ้อย

สำหรับเกษตรที่กำลังให้ความสนใจกับการปลูกอ้อย ควรเริ่มตั้งแต่การศึกษาวิธีการปลูกจนถึงสายพันธุ์ต่างๆ ประเภทดินพี่อ้อยเจริญเติบโตได้ดี การดูแลไร่อ้อย ผลผลิตพี่สามารถแปรรูปออกมาได้ ไร่อ้อยไม่ได้ยากอย่างที่คิดแต่ก็ไม่ได้ง่ายจนเกินไป ปัจจุบันมีพันธุ์อ้อยมากกว่า 200 สายพันธุ์ แต่ที่นิยมปลูกันอุตสหกรรมเกษตรถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ อ้อยเคี้ยว และอ้อยทำน้ำตาล ความแตกต่างระหว่างอ้อยเคี้ยวอ้อยทำน้ำตาลคือเนื้อสัมผัส เนื่องจากอ้อยเคี้ยวจะมีลักษณะนิ่มกว่า เมื่อท่านออกมาแล้วจะได้น้อยสีเหลืองนวล รสชาติหวานหอมน่ารับประทาน

1. สภาพดินที่เหมาะสม

อ้อยสามารถเจรญเติบโตได้ใน ดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย โดยการเตรียมดินก่อนปลูกนั้นต้องแน่ใจว่ามีสารอาหารเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต ตัวอย่างเช่น ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแคลเซียม เป็นต้น การเตรียมดินควรเริ่มเตรียมตั้แต่ระยะเวลา 2 เดือนก่อนจะลงมือปลูกอย่างจริงจัง

2. จัดเตรียมวัสดุคลุมดิน

เพื่อลดโอกาสการเจริญเติบโตของวัชพืช สามารถหาได้ทั่วไป เช่น ใบอ้อยที่แห้งแล้ว หรือพลาสติกคลุมดิน เนื่องจากวัชพืชเป็นปัจจัยหลักในการแยกสารอาหารสำหรับการเจริญเติบโตอ้อย เพื่อผลผลิตสูงสุดของอ้อย และแน่นอนว่าวัชพืชไม่ได้มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ซึ่งอาจสามารถแยกออกเป็นได้ 2 ประเภท คือ วัชพืชใบกว้างและวัชพืชใบแคบ ตัวอย่างวัชพืชที่เรามักเห็นได้ตามทั่วไป คือ กกทราย หญ้าปากควาย หญ้าดอกขาว เป็นต้น ถ้าหากว่าทำการเตรียมวัสดุคลุมดินไม่ดีหรือละเลยการจัดเตรียมวัสดุคลุมดิน  อาจก่อให้เกิดปัญหาวัชพืชในภายหลังได้ ซึ่งในการกำจัดวัชพืชนั้นสามารถกำจัดได้โดยวิธีเบื้องต้นคือใช้แรงงานคนหรือสัตว์ แต่ถ้าหากเป็นการกำจัดวัชพืชในพื้นที่กว้าง เช่น ไร่อ้อย การกำจัดวัชพืชจึงจำเป็นต้องอาศัยแรงจากเครื่องจักรที่เอาไว้ใช้สำหรับการเกษตรโดยเฉพาะ แน่นอนว่า จอน เดียร์ สามารถตอบสนองความต้องการของอตสาหกรรมเกษตรได้อย่างตรงจุด ยกตัวอย่างเช่น

รถแทรกเตอร์อเนกประสงค์รุ่น 5055E พร้อมกับจุดเด่นดังต่อไปนี้

3. เรียนรู้การบริหารไร่อ้อย

การปลูกอ้อยมักปลูกในพื้นที่กว้าง ซึ่งก่อนจะลงมือปลูกอ้อยนั้น ต้องเรียนรู้วิธีการปลูกและทำการวางแผนเพื่อที่จะบริหารที่ดิน เพื่อการใช้สอยอย่างคุ้มค่าที่สุด เราอยากให้เพื่อนๆได้ลองจินตนาการว่าหากเรามีพื้นที่กว้างๆ เราจะต้องทำการแบ่งพื้นที่ย่อยๆ สามารถดูแลผลผลิตอย่างทั่วถึง ประหยัดต้นทุนและเวลา รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ปลูดแบบไม่ชิดหรือห่างกันมากเกินไป โดยการบริหารที่ดินไร่อ้อยนั้นสามารถแบ่งแบบง่ายๆเลยคือ แบ่งเป็นแถวแนวยาว ระหว่างแนวยาวมีระยะห่างสำหรับเดินหรือรถแทรคเตอร์ขับผ่านได้ เพื่อทำการหว่าปุ๋ยหรือไถกลบวัชพืช

4. ปลูกฤดูมีชัยไปกว่าครึ่ง

การเกษตรสำหรับไร่อ้อยจะแบ่งรูปแบบการปลูกอ้อยเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ก็คือ การปลูกอ้อยในช่วงระยะเวลาต้นฝนและการปลูกใรช่วงปลายฝน (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง)  เนื่องจากอ้อยสามารถจะเจริญเติบโตได้ในแสงแดดจัด อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ที่ 30 ถึง 35 องศาเซลเซียส และยังต้องการน้ำฝนเพื่อหล่อเลี้ยงในการเจริญเติบโตอีกด้วย ซึ่งเกษตรกรนิยมปลูกทั้ง 2 ประเภท เพื่อที่จะได้ใช้พื้นที่ปลูกไร่อ้อยอยากเป็นฤดูกาล และลดต้นทุนในการฝังกลบวัชพืชและกำจัดซากอ้อยที่ไม่ต้องการ

5. ควรเตรียมแหล่งน้ำให้เพียงพอ

ตลอดระยะเวลาการเพาะปลูก เกษตรกรรุ่นหลังได้นำวิธีการปลูกไร่อ้อยจากประเทศจีนมาปรับใช้กับไร่อ้อยปัจจุบัน นั่นคือการขุดร่องตรงกลางระหว่างแถวต้นอ้อย เพื่อลำเลียงน้ำสำหรับให้อ้อยได้ดูดซึมความชื้นและสารอาหารได้อย่างเต็มที่ แต่ถึงอย่างไรก็ตามในการลำเลียงน้ำต้องระวังปัญหาดินเน่า เนื่องจากน้ำอยู่นิ่งเป็นเวลานาน ฉะนั้นหากเกษตรกรผู้ที่ให้ความสนใจที่จะลำเลียงน้ำไว้ในไร่อ้อยต้องมีกังหันพัดน้ำไว้ จุดประสงค์พัดน้ำเพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจนในน้ำกับอากาศ

การเลือกพันธุ์อ้อยอย่างไรดี?

1. อ้อยที่ดีควรให้ความหวานสูง มากกว่า 12 C.C.S. ที่เรารู้จักกันในนามของ Commercial Cane Sugar หรือค่าความหวาานของอ้อยนั่นเอง

2. เลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกับสภาพดินในแต่ละท้องถิ่น เพราะอ้อยแต่ละสายพันธุ์มีความแตกต่างในการเจริญเติบโต บางสายพันธุ์มีอายุการเจริญเติบโตค่อนข้างนานกว่าปกติ เนื่องจากต้องมีระยะเวลาในการผสมน้ำตาล โดยระยะเวลาในการผสมน้ำตาลจะเริ่มตั้งแต่อายุ 8 ถึง 12 เดือนขึ้นไป ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะให้ระดับความหวานและเนื้อสัมผัสที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร

ดูแลไร่อ้อยอย่างไรให้งอกงาม

เมื่อได้ลงมือปลูกอ้อยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในระยะการเจริญเติบโตไปเองก็ต้องการดูแลรักษาเป็นพิเศษ โดยเราจะสามารถแบ่งเป็น 4 ระยะการเจริญเติบโต คือระยะงอก ระยะแตกหน่อ ระยะย่างปล้อง และระยะสุกแก่ ซึ่งในแต่ละระยะเวลาการเจริญเติบโตต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันไป

ตัวอย่างเช่น ในระยะงอกจะต้องการความชื้นในดินเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะให้รากอ้อยแข็งแรง ระยะแตกหน่อต้องการปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อที่จะแตกกอ ระยะย่างปล้องต้องการปัจจัยในการเจริญเติบโตอย่างครบถ้วน ทั้ง แสงแดดอุณหภูมิ น้ำ และปุ๋ย ส่วนระยะสุกแก่นี้เป็นระยะที่กำลังสะสมน้ำตาล ฉะนั้นเกษตรกรจึงไม่สมควรใส่ปุ๋ยชนิดใดเลย

สำหรับการใส่ปุ๋ย อ้อยเป็นพืชที่ค่อนข้างชอบปุ๋ยประเภท ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ไม่ว่าชนิดใดก็ตามเกษตรกรจะต้องคำนวนสูตรในการใส่ปุ๋ยให้สอดคล้องกับสภาพดินและพันธุ์ของต้นอ้อย  

การรดน้ำหรือการให้น้ำ สำคัญไม่ต่างกัน เนื่องจากปัจจัยหลักในการเจริญเติบโตของอ้อยอยากต้องการน้ำเพื่อหล่อเลี้ยง ในกรณีที่เกษตรกรปลูกไร่อ้อยในช่วงหน้าฝนจะต้องพยายามติดตามข่าวสภาพอากาศไว้ให้ได้มากที่สุด เพราะในกรณีที่รดน้ำมากเกินไปอาจส่งผลต่อความหวานของอ้อยได้ 

ในขณะที่ต้นอ้อยกำลังเจริญเติบโตคงอดไม่ได้ที่วัชพืชก็เจริญเติบโตเช่นกัน เกษตรกรควรหมั่นสังเกตและกำจัดวัชพืชอย่างเป็นประจำ โดยการกำจัดวัชพืชที่นิยมในไทยมักใช้รถแทรกเตอร์ต่อพ่วงกับจอบหมุนกำจัดวัชพืชหรืออุปกรณ์ต่อพ่วงชนิดอื่นที่เกษตรกรสะดวกใช้งาน เพื่อที่จะได้รถระยะเวลาและประหยัดแรงงานคน แต่อย่างไรก็ตามการที่มีรถแทรกเตอร์ที่ดีย่อมทำให้งานนั้นเสร็จไวกว่าที่ประมาณการไว้ แน่นอนว่า จอห์น เดียร์  ขอเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกดีๆสำหรับเกษตรกรที่กำลังมองหารถแทรกเตอร์คุณภาพดี ที่จะทำให้การกลายเป็นเรื่องง่าย โดยรถแทรกเตอร์ลหลากหลาย Series พร้อมเป็นให้เกษตรกรได้เลือกใช้ตรงตามการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น รถแทรกเตอร์ซีรีส์ 3E, รถแทรกเตอร์ซีรีส์ 5D, รถแทรกเตอร์ซีรีส์ 5E หรือรถแทรกเตอร์ซีรีส์ 6B แต่ขอบอกไว้ก่อนเลยว่าทุกรุ่นที่กล่าวมานั้นมีความคงทนและได้รับการออกแบบจากความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม จึงทำคุณภาพของแทรกเตอร์ทนทานต่อการใช้งาน จะกี่หรือกี่ฝน รถแทรกเตอร์จาก จอห์น เดียร์ ก็พร้อมทำงานเคียงข้างเกษตรกรชาวไทย เพื่อผลผลิตที่ดีกว่าที่เคย 

ดูแลไร่อ้อยอย่างไรให้งอกงาม​

ช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวอ้อย

นับว่าเป็นช่วงเวลาไฮไลท์สำหรับเกษตรกรปลูกอ้อย หลังจากที่รอการเจริญเติบโต การสะสมน้ำตาลมาจนได้ที่แล้ว คงถึงช่วงเวลาสำคัญสำหรับการเก็บเกี่ยวอ้อย แต่การจะตัดอ้อยด้วยแรงคนเป็นเรื่องที่สิ้นเปลืองพลังงานเป็นอย่างมาก เพราะอ้อยมีลำต้นที่สูงใหญ่และจำนวนเยอะ จึงจำเป็นจะต้องพึ่งแรงเครื่องจักรเพื่อทุนแรงมนุษย์ นั่นคืออีกหนึ่งสาเหตุว่าทำไมระยะเวลาเตรียมปลูกเราจึงต้องเว้นระยะห่าง เพื่อที่จะให้รถเกี่ยวอ้อยเข้าถึงง่ายนั่นเอง ปัจจุบันรถเกี่ยวอ้อยมีอยู่มากมายตามท้องตลาด ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของเกษตรกรที่จะเป็นผู้เลือกรถเกี่ยวอ้อย โดยการเลือกนั้นจะต้องคำนึงถึงการใช้งานและคุณภาพสินค้า แต่ถ้าเพื่อนๆคนไหนยังไม่ถูกใจกับตัวเลือกรถเกี่ยวอ้อยในใจ 

จอห์น เดียร์ อยากให้ทุกคนได้ลองรู้จักกับ ‘รถตัดอ้อยรุ่น CH570’ ที่แตกต่างจากรถเกี่ยวอ้อยเดิมๆ ด้วยคุณภาพและบริการจากบริษัทระดับโลก มาพร้อมกับนวัตกรรมสุดล้ำ ที่จะมอบความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานโดยห้องผู้โดยสารที่มีพื้นที่กว้างกว่าเดิม เทคโนโลยีระบบไฮดรอลิคที่มีคุณภาพ และด้วยโครงสร้างของรถตัดอ้อยจาก จอห์น เดียร์ จึงทำให้สามารถตัดอ้อยได้สูงกว่าที่เคย พร้อมกับอุปกรณ์เสริมที่เป็นเหมือนแขนขาในการทำงาน ด้วยรูปทรงการออกแบบตัวรถด้านหน้าประกอบด้วยชุดเกลียวแบ่งอ้อยทำให้การเก็บเกี่ยวสามารถลดปริมาณการสูญเสียเนื้อก้อยและเนื้อดินลงได้ ระบบลำเลียงอ้อยถูกออกแบบไหนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ  สามารถปรับถ้อยได้อย่างสม่ำเสมอด้วยความคมของใบมีดจาก จอห์น เดียร์ นี้เป็นเพียงคุณสมบัติเบื้องต้นของรถรถตัดอ้อยรุ่น CH570 หากเพื่อนๆสนใจก็สามารถติดต่อผู้จัดจำหน่ายสาขาใกล้บ้านได้เลย 

เครื่องมือเก็บเกี่ยวอ้อยไหนทายถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท โดยสารจำแนกตามลักษณะการเก็บเกี่ยวคือ

  • เครื่องเก็บเกี่ยวอ้อยแบบตัดเป็นลำ การทำงานของเครื่องจักรประเภทนี้จะตัดอ้อยออกมาเป็นลำและลำเลียงในส่วนที่ตัดแล้วไว้ที่พื้นเพื่อนำส่งไปยังโรงงานแปรรูปอื่นๆต่อไป
  • เครื่องมือเก็บเกี่ยวอ้อยแบบตัดเป็นท่อน จะเน้นไปที่การตัดโคนและตัดเป็นท่อนๆ แล้วลำเลียงไปสู่รถบรรทุกเพื่อนำไปแปรรูปต่อไปอีกเช่นกัน เครื่องเก็บเกี่ยวชนิดท่อนเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ในไทยมากที่สุด

อีกส่วนหนึ่งของการเก็บเกี่ยวที่สำคัญพอๆกับผลผลิตจากอ้อย คือ การแยกใบหรือส่วนอื่นๆของอ้อยที่ไม่ต้องการ สำหรับรอการฝังกลบเพื่อที่จะกลายเป็นปุ๋ยบำรุงดินต่อไป การเก็บเกี่ยวอ้อยที่ดีควรตัดอ้อยให้ชิดดีที่สุดเนื่องจากบริเวณต่อข้างล่างจะมีค่าความหวานสูงสุด และทำให้ไม่เสียปริมาณอ้อยไปอย่างสูญเปล่า สิ่งที่เกษตรกรพึงระวังคือหากอ้อยมีสิ่งเจือปนมากจะทำให้ผลผลิตถูกตัดราคาประมาณตันละ 20 บาท เพราะว่าอุตสาหกรรมแปรรูปอื่นๆจะต้องเสียเวลาในการทำความสะอาดอ้อยอีกครั้ง ทางที่ดีเกษตรกรควรลงทุนกับรถเกี่ยวอ้อยดีๆสักคัน เพื่อที่จะได้ลงทุนในระยะยาว

ผลผลิตจากอ้อยในอุตสหกรรมต่างๆ

ถ้าเป็นเพื่อนๆอ่านจนถึงตรงนี้แล้ว นั่นแสดงว่าเพื่อนๆกำลังให้ความสนใจกับธุรกิจไร่อ้อยอยู่พอสมควร จากที่กล่าวไว้ดังข้างต้นว่าอ้อยสามารถแปรรูปได้อย่างหลากหลาย ฉะนั้นเรามารู้จักประโยชน์จากแต่ละส่วนของอ้อยกันเลยดีกว่า 

  • ลำต้น นิยิมทำเป็นอ้อยควั่นเพื่อเพิ่มความสดชื่น หรือหรือนำอ้อยที่ได้จากการคั้นมาแปรรูปเป็นส่วนประกอบสำหรับอาหารต่างๆ เช่น น้ำอ้อยปั่นที่สามารถเห็นได้ทั่วไปในห้างสรรพสินค้า หรือจะนำมาเคี่ยวเพื่อเป็นน้ำตาลอ้อยก็ได้ ซึ่งกระบวนการการเคี่ยวน้ำตาลอ้อยจะใช้เวลาสักระยะหนึ่ง เพราะว่าต้องรอจนกว่าน้ำอ้อยที่เคี่ยวจะตกผลึกจนกลายเป็นน้ำตาลทรายที่เรารู้จักและใช้ประกอบอาหารในชีวิตประจำวัน
  • ชานอ้อยหรือกากอ้อย ที่โดนคั้นน้ำออกหมดแล้ว สามารถแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงทดแทนบางชนิดได้ เพื่อนำพลังงานส่วนนี้ไปต่อยอดสำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ ใช้ทำกระดาษชนิดต่างๆ นำไปหมักเป็นปุ๋ยอินทรีที่จะสามารถบำรุงดินได้เป็นอย่างดี และยังใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตไข เช่น อุตสาหกรรมการผลิตสารขัดเงา และการผลิตเครื่องสำอางบางชนิดที่ใช้ไขเป็นส่วนประกอบหลัก 
  • ช่อดอกอ่อน สามารถนำมาประกอบเป็นเครื่องเคียงน้ำพริกได้ โดยผ่านกระบวนการนึ่งหรือย่างแต่ดอกช่ออ่อนที่นำมารับประทานนั้นจะต้องเป็นดอกที่ยังไม่บาน
  • กากน้ำตาล ที่แยกออกจากการผลิตน้ำตาล สามารถนำไปหมักทำเป็นเหล้ารัม รสชาติกลมกล่อมถูกคอนักดื่มแน่นอน
  • ผลผลิตหลักของอ้อยคงหนีไม่พ้นการแปรรูปเป็นน้ำตาล เนื่องจากลำต้นมีปริมาณซูโครสอยู่มาก จึงสามารถนำมาใช้ผลิตทำเป็นน้ำตาลได้อย่างหลากหลายประเภท ได้แก่  น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์  น้ำตาลกรวด น้ำตาลทรายดิบ น้ำปี๊บ  
  • ใบ ยอด ลำต้นอ่อน นำไปแปรรูปในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ โดยสัตว์เหล่านั้นมักเป็นสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อการเกษตร
  • ส่วนประกอบอื่นๆ ที่เหลือใช้สามารถนำไปดัดแปลงเป็นพืชคลุมดิน ปุ๋ยหมัก หรือนำไปฝังกลบกับดินเพื่อที่จะได้เตรียมดินพร้อมสำหรับการปลูกอ้อยครั้งใหม่ 

เพื่อนๆจะเห็นได้เลยว่าอ้อยมีประโยชน์ทุกส่วนจริงๆ และมีประโยชน์ต่อหลักหลายอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นการผลิตก๊าซธรรมชาติ พลังงานทดแทน เครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องสำอาง ปุ๋ยอินทรีย์ หรือแม้แต่อุตสาหกรรมอาหาร ที่เรายกมาเป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้นเท่านั้น ก้อยไม่ได้เป็นเพียงแค่อาหารให้ช้างเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะสร้างรายได้สำหรับเกษตรกรชาวไทยได้อย่างดีทีเดียว 

ไร่อ้อย คือ อีกหนึ่งอุตสาหกรรมทางการเกษตรที่สามารถสร้างรายได้สำหรับเกษตรกรอยู่ในลำดับต้นๆ และปฏิเสธไม่ได้ว่าสามารถนำไปแปรรูปได้อย่างหลากหลายรูปแบบ หลากหลายผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ในครัวยันเครื่องสำอาง สำหรับการปลูกอ้อยที่ดีก็ไม่สมควรจะทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย หากได้ติดตามข่าวไหนว่าช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวเกษตรกรจะทำการเผาไร่อ้อยเพื่อทำให้ค่าความหวานของอ้อยเพิ่มขึ้น หรือกำจัดภาพใบที่ไม่ต้องการ จนทำให้เกิดสภาวะก๊าซเรือนกระจกและฝุ่น PM 2.5

ฉะนั้นในการปลูกอ้อยจะต้องมีการคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมด้วย ในการกำจัดซากอ้อยนั้นเกษตรกรไม่จำเป็นจะต้องเผาอีกต่อไปถ้าหากใช้แทรกเตอร์เพื่อฝังกลบอ้อยไว้ในดินเพื่อทำเป็นปุ๋ย ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งดิน อากาศ และต่อต้นอ้อยล็อตต่อไปที่กำลังจะนำมาปลูก   การทำเกษตรไม่ว่าชนิดใดก็ตาม ล้วนแต่ต้องการเอาใจใส่และดูแลอย่างใกล้ชิด การที่เกษตรกรจะมีไร่อ้อยที่สมบูรณ์แบบได้นั้น จะต้องมีความรู้และความเข้าใจในการปลูกและดูแลอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงการมีเครื่องไม้เครื่องมือที่สามารถเบาแรงได้ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมเกษตรที่มีพื้นที่กว้าง การใช้แรงงานคงจะดูไม่คุ้มกับความเหนื่อยล้าที่ได้มา หากเพื่อนๆหรือเกษตรกรท่านไหนกำลังมองหารถแทรกเตอร์รถเก็บเกี่ยวอ้อย จอห์น เดียร์ ขอเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะทำให้การการเกษตรเป็นเรื่องง่ายเหมือนดีดนิ้วมือ