สิ่งที่ควรรู้และข้อระวังในการปรับหน้าดิน
อีกหนึ่งข้อสงสัยของหลายท่านที่อยากทำการก่อสร้าง ทำไมต้องปรับหน้าดินก่อนเสมอ หากเราพูดถึงการสร้างบ้านอาคารสำนักงานนั้น การปรับหน้าดินมีความสำคัญที่ไม่อาจละเลย อีกทั้งการรู้ลักษณะและชนิดของดินถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการเริ่มต้นทำฟาร์มหรือปลูกสร้างในปัจจุบัน
เมื่อกาลเวลาผ่านไป ที่พักอาศัยแบบเดิมนั้นได้มีการพัฒนามาได้ไกลเป็นอย่างมาก จากไม้มาเป็นปูน ซึ่ง การสร้างบ้านในอดีตนั้น จะสร้างไว้เพื่ออยู่อาศัย มีลักษณะเป็นบ้านไม้ เพื่อให้อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก และช่วยป้องกันน้ำท่วม แต่เมื่อพอกาลเวลาเปลี่ยนไป ทุกอย่างที่เคยเป็นนั้นก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย โดยวิวัฒนาการของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบวัสดุของอาคาร สำนักงาน หรือแม้กระทั่งรวมทั้งแบบที่อยู่อาศัยก็เช่นกัน การได้รับวัฒนธรรมมาจากต่างประเทศก็ทำให้สิ่งปลูกสร้างนั้นเปลี่ยนไปด้วย วัสดุที่หาง่าย คงทน และมีราคาถูก เพื่อเป็นการง่ายต่อการสร้างนั่นเอง
ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะแทบไม่เห็นบ้านไม้เลย บ้านไม้เรียกว่าหาดูได้ยากพอตัว ถ้าเป็นบ้านไม้ทรงไทยในสมัยดั้งเดิมส่วนมากในปัจจุบันจะเห็นบ้านปูน ตึกสูง หรือคอนโดมากกว่า ความเจริญได้นำความรู้ใหม่ๆเข้ามา ถนนจากดินลูกรัง ดินแดง ขรุขระ และฝุ่นคลุ้ง ได้กลายเป็นพื้นคอนกรีตที่มีความแข็งแรงคงทนและเรียบเนียน สามารถเดินทางได้สะดวกและยังมีความสะดวกสบายมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม รูปแบบของที่อยู่อาศัยได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงนั้นก็ทำให้การปลูกสร้างต้องมีการปรับเปลี่ยนด้วยเช่นกัน อย่างการปลูกบ้าน อาคารหรือสำนักงาน ต้องอาศัยความคงทนของรากฐานอย่างพื้นดินที่มีความอัดแน่นอย่างมาก มาตรฐานของการสร้างนั้นจะต้องอยู่ในรัดับที่ได้รับความน่าเชื่อถือ สิ่งปลูกสร้างต้องคงทนได้หลายปีในระยะยาว จากรุ่นสู่รุ่น จากสิบปีเป็นร้อยปี เพราะฉะนั้นแล้วรากฐานที่สำคัญอย่างการปรับหน้าดินถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอันแรกที่ผู็คนควรให้ความสำคัญ
หากทว่าในสมัยก่อนการปรับหน้าดินอาจเป็นสิ่งที่คนไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักอาจจะด้วยเหตุผลที่ว่า ต้องการใช้ต้นทุนที่ต่ำ ประหยัดงบในการสร้าง โดยการตัดขั้นตอนการถมดินให้แน่นออกไป เพราะในหลายพื้นที่ที่มีการชุ่มน้ำอย่างการเลือกพื้นที่นามาทำเป็นโครงการบ้านจัดสรร
ปรับหน้าดินอย่างการถมนั้นต้องใช้ดินในปริมานมาก เรียกว่าต้องใช้หลายคันรถเลยทีเดียว แต่ว่าด้วยเหตุผลประการใดก็แล้วแต่ลองคิดสิว่าหากบ้าน คอนโด หรืออาคารต่างๆเกิดการทรุดตัวในระยะเวลาไม่นานหลังจากที่สร้างเสร็จ โดยเฉพาะโครงการจัดสรรที่มีปัญหาบ้านทรุดให้ได้เห็นอยู่บ่อยๆแล้วละก็ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากเราเห็นความสำคัญของการปรับหน้าดิน ฉะนั้นการศึกษาขั้นตอนและวิธีปรับหน้าดินอย่างจริงจังล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องคำนึงถึงก่อนการสร้างขึ้น
ปรับหน้าดินให้พร้อมก่อนการเริ่มปลูกสิ่งปลูกสร้างเป็นเรื่องที่สำคัญ วิธีที่ไม่อาจข้ามได้อย่าง ปรับหน้าดิน คือ ถมดิน นั่นเอง แต่การถมดินนั้นไม่ใช่ว่าเลือกใช้ดินอะไรมาถมก็ได้ ดินมีหลากหลายประเภทอย่างอย่าง ดินทราย ดินเหนียวหรือดินดาน ฯลฯ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวนั้น เราต้องคำนึงถึงหลายปัจจัยควบคู่กันไป อย่างเช่น การทรุดตัวของดิน พื้นที่มีการขังของน้ำหรือไม่หรือการระบายน้ำภายในพื้นที่เป็นอย่างไร เป็นต้น
การปรับระดับผิวหน้าดินในพื้นที่ที่อาจมีระดับสูงๆต่ําๆให้มีความสม่ําเสมอ การวางแผนจัดระบบทางลําเลียงน้ำอย่างทั่วถึง นั้นก็จะสามารถทำให้สร้างได้อย่างสะดวก อาธิ การแบ่งสัดส่วนในแปลงเพาะปลูกเพื่อสามารถใช้เครื่องทุ่นแรงและเครื่องจักรอย่างรถเกรดได้อย่างสะดวกมีประสิทธิภาพ
ปรับหน้าดินก่อนการก่อสร้าง ปรับหน้าดินมีสิ่งที่ต้องระวังคือการวางแพลนเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมอย่างเศษแก้ว เศษขยะ หรือของแข็งที่เป็นอุปสรรคต่างๆบนแปลงก่อสร้างก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลย การจัดเตรียมพื้นที่ให้พร้อมและเหมาะสมสำหรับการนำเครื่องจักรเข้ามา ล้วนแล้วแต่มีความจำเป็นเพื่อให้เครื่องจักรได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เจ้าของหรือผู้รับเหมาที่ดินสามารถถมดินได้ แต่ต้องคำนึงถึงบทบัญญัติของกฎหมายข้อใดบ้าง ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่าการขุดหรือถมดินนั้นต้องเป็นไปตามข้อกฎหมาย เราสรุปข้อมูลอย่างง่าย มีดังนี้
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติการขุดดินและการถมดิน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติการขุดดินและการถมดิน 2543 มาตรา 17 และมาตรา 24
มาตรา 17 ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดิน และถมดินตามเงื่อนไขนี้ ต้องแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ผู้ใดประสงค์จะทำการขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกินสามเมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยยื่นเอกสารแจ้งข้อมูล ดังต่อไปนี้
- แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน
- แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง
- รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 6
- วิธีการขุดดินและการขนดิน
- ระยะเวลาทำการขุดดิน
- ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง
- ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน
- เอกสารและรายละเอียดอื่น ๆ ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา24 การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกินสามเมตร เมื่อจะขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่ควรกระทำ
มาตรา 26 ผู้ใดประสงค์จะทำการถมดิน โดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกินสองพันตารางเมตร หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น
พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกินสองพันตารางเมตร แต่หากต้องการถมดินที่มีพื้นที่เกิน 2,000 ตารางเมตร นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำแล้ว ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย
บทกำหนดโทษหากไม่แจ้งเจ้าพนักงาน ก่อนทำการขุดดินตามเงื่อนไขที่กล่าวมาแล้วนั้น มีโทษตามกฎหมาย พระราชบัญญัติการขุดดินและการถมดิน 2543
มาตรา 35 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การถมดินนั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย เราจะมาพูดกันสักหน่อยโดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน แต่ถ้าจำเป็นต้องถมจริงๆก็สามารถถมดินในช่วงนี้ได้ หากพื้นที่ที่คุณต้องการถมดินเป็นพื้นที่ที่ติดหน้าทางถนนไม่จำเป็นต้องกังวล เพราะการถมดินจะไม่มีปัญหาแน่นอนเหมือนการถมดินหน้าร้อนยังไงหล่ะ
ข้อดีข้อเสียในการถม
ขอมาแนะนำสำหรับการถมดินกันเป็นข้อๆ ดังนี้
ข้อดี
- การถมดินหน้าฝน ทำให้บดอัดให้แน่นได้ง่าย
- การถมดินหน้าฝน ทำให้ปลูกสร้างบ้านได้เร็วขึ้น
ข้อเสีย
- การถมดินหน้าฝน เกิดความลำบากในการขนส่งดิน
- การถมดินหน้าฝน ทำให้ดินไหลไปกับน้ำเป็นจำนวนมาก
จากการสำรวจ การะจัดการกับสภาพพื้นที่ก่อนการทำงานปรับหน้าดินนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้ขั้นตอนในการปรับหน้าดินสำหรับก่อสร้างมีอะไรบ้าง เราจะรวบรวมข้อมูลมาสรุปให้ได้อ่านกัน
วิธีการปรับหน้าดินปลูกสร้าง
1. ขั้นตอนการเคลียร์พื้นที่
การทำให้พื้นมีความพร้อมที่จะถมดิน ซึ่งก็จะต้องกำจัดวัชพืช ขนย้ายเศษหิน หรือตัดต้นไม้ออกไป
2. ขั้นตอนการถมดิน
นำดินเข้ามาถมในพื้นที่ๆ และในการถมที่นั้นจะต้องนำดินมาเทลงเป็นกอง เพื่อความเรียบเสมอและความแน่นของชั้นดินแล้วใช้รถแทรกเตอร์เข้ามาไถเกลี่ยให้เสมอไปเป็นชั้นๆ หลายครั้ง ซึ่งดินในแต่ละชั้นจะต้องมีความหนาอยู่ในระหว่าง 15 -10 เซนติเมตร
3. ขั้นตอนการบดอัด
การบดอัดจะต้องถมและเกลี่ยดินในแต่ละชั้นทุกๆครั้ง จะต้องมีการรดน้ำบนหน้าดินก่อนการบดอัด เพื่อให้ดินมีความแน่น
4. ขั้นตอนการปาดผิวดิน
การปรับพื้นที่นั้นจะใช้รถเกรดเข้ามาปรับให้เรียบ
ปัจจัยต่างๆ เมื่อถมดิน
การถมดินสำหรับการก่อสร้างมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องคำนึง เพื่อไม่ให้สิ่งก่อสร้างเกิดการทรุดตัว โดยปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคิดถึงเป็นอันดับแรก มีดังนี้
ลักษณะบริเวณที่จะถมดินเป็นอย่างไร
อันดับแรกที่ทุกคนต้องทำคือตรวจบริเวณลักษณะของพื้นที่ เพื่อทราบความสูงของดินเดิมและระยะความสูงของดินที่ต้องถมเพิ่ม ตรวจสอบและหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาต่างๆของบริเวณนั้น เช่น น้ำท่วมหรือไม่ หรือระยะเวลาในการระบายน้ำ เพราะปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น มีผลต่อการถมดินซึ่งอาจทำให้ดินที่ถมนั้นเกิดการอ่อนตัวง่ายหรือจะต้องถมแล้วอัดให้แน่นกว่าปกติ
เรามีทริคเล็กๆน้อยๆในการดูบริเวณพื้นที่ที่ต้องการถม คือหากบริเวณนั้นมีความชื้นสูง จะมีต้นกกหรือต้นธูป ขึ้นอยู่ จึงจะทราบได้ว่าลักษณะดินตรงนั้นจะมีความอ่อนตัวเป็นอย่างมาก แต่ถ้าหากดินมีความแห้ง จะเห็นว่ามีต้นกระถิน หรือมะขามเทศ ขึ้นอยู่นั่นเอง
ถมดินต้องทราบถึงระดับความสูงของพื้นที่
การประเมินสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ความสูงของพื้นที่ ปกติพื้นที่ในการก่อสร้างนั้นน้ำท่วมถึงระดับไหน ต้องวัดจากพื้นถนนเทียบกับพื้นที่ของตนเอง เทียบความสูงของที่บ้านหลังอื่น และที่ดินที่เป็นแปลงเปล่า อย่าลืมว่าต้องมองหากพื้นที่ข้างเคียงมีการก่อสร้างอื่นเพิ่มขึ้นในอนาคต พื้นที่รอบๆด้านจะต้องถมให้สูงขึ้นด้วย ดังนั้น การประเมินสภาพแวดล้อมดังกล่าวจะช่วยให้รู้ได้ว่าต้องถมดินสูงแค่ไหน
โดยทั่วไปแล้วความสูงของการถมดินนั้นจะอยู่ที่ประมาน 50-80 ซ.ม. โดยจะสูงกว่าถนน แต่อาจจมีบางพื้นที่อาจถมดินให้สูงกว่า 1 เมตร เพื่อเผื่อต่อการยุบตัวในอนาคตได้
สรุปปัจจัยเป็นข้อๆให้อ่านง่าย ดังนี้
- บริเวณพื้นที่นั้นมีน้ำท่วมรึเปล่า ท่วมสูงระดับไหน
- ระดับท่อระบายน้ำ
- ระดับพื้นที่ข้างเคียงและถนนหน้าบ้าน
- ถ้าพื้นที่มีสิ่งปลูกสร้างเก่า ควรรื้อออกให้หมดเหลือเพียงเสาเข็ม
- บ้านที่สร้างบนพื้นที่ชุ่ม บึง บ่อ หรือนาควรถมดินไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อกันไม่ให้ดินทรุดตัวอย่างรวดเร็ว
เริ่มสร้างหลังจากถมดินเสร็จเมื่อใด
อีกหนึ่งข้อสงสัย คือ เรื่องการทิ้งระยะเวลารอดินเซตตัวหลังถมดิน ไม่ควรก่อสร้างทันทีหากไม่เร่งรีบ ควรทิ้งระยะเวลาให้ดินเซตตัวก่อน ยิ่งมีการถมดินระยะสูงเท่าใด ยิ่งมีความเสี่ยงในการทรุดตัวมากยิ่งขึ้น 6-12 เดือน นั้นเป็นเวลาที่เหมาะสมก่อนการก่อสร้างเกิดขึ้น การปรับหน้าดินก่อสร้างมีประสิทธิภาพเกิดได้ด้วยการร่นระยะเวลาโดยการใช้รถบดอัดดินช่วย หรือทำทั้งสองอย่างคือทั้งใช้รถบดอัดดินและทิ้งระยะเวลารอดินเซตตัว
ข้อควรรู้สำหรับการถมดิน
- เพื่อไม่ให้ดินพังควรทยอยสูบน้ำออกจากที่ดินน้ำขัง
- มีกฎหมายควบคุมการถมดิน
- จะถมดินต้องรู้ระดับ
- ต้องมีกำแพงกันดินหากถมดินสูง
- สร้างได้เลยหากถมดินสูง
- เลือกดินที่จะถม
- เสาเข็มต้องมีปลายลึกถึงชั้นดินเดิม
ราคาถมดินก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้สร้างบ้านมือใหม่ต่างต้องคิดให้หนัก เพราะมีหลากหลายวิธีการคิดราคาไม่เหมือนกัน เราจะมาบอกวิธีคำนวณ ราคาถมที่ดินในแบบที่เข้าใจได้ง่ายและยังสามารถนำไปใช้ได้กัน ราคาถมที่ดิน บางรายคิดเป็นคันรถ บางรายคิดแบบวัดหน้างานหรือเรียกว่าคิดเป็นคิว(คิวบิกเมตร) ซึ่งส่วนใหญ่จะเหมารวมค่าบดอัดไปด้วย
- เริ่มจากการตรวจสอบขนาดที่ดินของเราก่อน
- แปลงหน่วยที่ดินจาก ตารางวาให้เป็นตารางเมตร ให้เรียบร้อยก่อน
- ใช้ 4 เป็นตัวคูณกับตารางวา ขนาดที่ดิน 100 ตารางวา : 100 x 4 = 400 ตารางเมตร
- นำขนาดที่ดิน ตารางเมตร x ความสูง ก็จะได้ปริมาณดินเป็นหน่วยคิว
เผื่อค่าบดอัดดินที่จะยุบตัวลงไปด้วยประมาณ 20% – 30% หรือประมาณ 80 คิว ก็จะได้ปริมาณดินที่ต้องใช้ถม และเผื่อบดอัดด้วยรถแทร็กเตอร์ประมาณ 80 คิว : 400 + 80 = 480 คิว
ต้องการถมสูง 1 เมตร : 1 x 400 = 400 คิว
ลักษณะและชนิดของดินที่เหมาะกับการถม
หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าการถมดินนั้นต้องมีการเลือกชนิดของดินที่เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ เพื่อให้การปรับหน้าดินมีได้ผลดีที่สุด และจะไม่เกิดผลลบในอนาคต ฉะนั้นแล้วข้อที่คสรระวังที่สุดคือการไม่เลือกดินที่ผสมเศษอิฐ หรือเศษหิน แต่ทว่าให้เลือกที่ที่มาจากธรรมชาติจะส่งผลดีต่อการดำเนินงานต่างๆ หากแต่เลือกดินเพียงเพราะมีราคาถูกนั้นอาจจะกระทบจนทำให้เกิดปัญาต่อเสาเข็มได้ เราจะมาดูกันว่าดินชนิดใดหรือลักษณะใดที่เหมาะกับแต่ละงาน โดยดินที่นิยมนำมาใช้ในการถมที่ ได้แก่
ดินดาน : เป็นดินที่มีลักษณะแห้ง นิยมมาใช้เมื่อทันที่ที่ปรับหน้าดินเสร็จเพราะว่าดินดานนั้นมีคุณสมบัติบดอัดได้เป็นอย่างดี โดยดินชนิดนี้เหมาะสำหรับการพื้นถนนหรือที่ดินบริเวณริมน้ำ
ดินทราย : เป็นดินที่มีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อใช้การบดอัดให้แน่น เพราะว่าจากลักษณะของกินทรายแล้วนั้นจะประกอบด้วยสัดส่วนของทรายจำนวนมากกว่า 70% เบื้องต้นจากคุณบัติของดินชนิดนี้นอกจากจะไม่อุ้มน้ำแล้วยังสามารถทำให้เกิดการกัดกร่อนได้ง่ายอีกด้วย
ข้อควรระวังของดินชนิดนี้ คือ ต้องอัดให้แน่นเพราะว่าถ้าหากไม่แน่นแล้วละก็ อาจทำให้เกิดดินมีสภาพทรุดตัวและไหลออกบริเวณด้านข้างได้อย่างง่ายดาย เหตุผลที่เลือกใช้ดินชนิดนี้ในการถมที่ เนื่องจากดินทรายนั้นมีราคาต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งมักใช้ในการก่อสร้างโครงการจัดสรรต่างๆเพราะราคาถูกนั่นเอง
ดินลูกรัง : เป็นดินที่มีลักษณะค่อนข้างแข็ง จะเห็นได้ว่ามีสีน้ำตาลหรือแดง เนื่องจากชนิดนี้อัดแน่นได้ดีจึงเหมาะแก่การใช้ทำถนนคอนกรีต
ข้อควรระวัง เนื่องจากดินชนิดนี้แห้งเกินไปจึงไม่เหมาะกับการปลูกต้นไม้
ดินเหนียว : ดินชนิดนี้เป็นดินที่มักในใช้ถมที่ เพราะว่าเนื้อของดินมีลักษะละเอียด สามารถอุ้มน้ำได้ดี อีกทั้งยังหาได้ง่ายและต้นทุนต่ำ
ดินประเภทหน้าดิน : ดินที่อยู่บริเวณผิวดิน จะเห็นไดว่ามีสีดำ นอกจากจะเป็นดินที่เหมาะและนิยมกับการใช้ปลูกต้นไม้แล้วยังเป็นดินที่จำเป็นสำหรับพืช ซึ่งดินประเภทนี้มีราคาต้นทุนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับดินประเภทอื่น
จากความรู้ที่เรารวบรวมมาสรุปให้ได้อ่านกันแล้วหวังว่าจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น จากชนิดของดิน ลักษณะของดินชนิดใดที่เหมาะสมกับการถมดินและการปรับหน้าดิน
อ้างอิง : www.houzzmate.com, www.builk.com, Kobkid.com, www.seacon.co.th