John Deere RMA

เทคนิคการทำไร่หน้าฝน วางแผนปลูก ให้พืชไม่ช้ำน้ำ

ฤดูฝน แค่พูดถึงสัมผัสถึงบรรยากาสความเย็นฉ่ำ แต่ถ้าพูดถึงฤดูฝนในทางเกษตรกรรมคงไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นเท่าไหร่ ฝนตกน้อยเกินไปก็ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ต้นไม้ขาดน้ำ สารอาหารไม่เพียงพอ แห้งตายในที่สุด ฝนตกมากเกินไปก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดี ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วม รากเน่า ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เรียกได้ว่าแทบจะคว้าน้ำเหลวกันเลยทีเดียว ซึ่งปัญหาน้ำในช่วงฤดูฝนเป็นสิ่งที่เกษตรกรไทยรับมือมาอย่างช้านาน โดยไม่สามารถแก้ไขปัญาหาที่ต้นเหตุได้ เพราะประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ  ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม, ฤดูฝน เริ่มต้นประมาณเดือนพฤษภาคม – เดือนตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มต้นประมาณเดือนตุลาคม – เดือนกุมภาพันธ์ รวมถึงปัจจัยที่มีพายุแทรกเข้ามาอีกด้วย วันนี้ทีมงาน John Deere นำเทคนิคการทำไร่หน้าฝน ปลูกอย่างไรไม่ให้พืชช้ำน้ำ มาให้ทุกคนได้อ่านกัน

เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญมาก สำหรับการทำเกษตรยุคใหม่ แน่นอนว่าฤดูประเทศไทย ไม่ได้เปลี่ยนแปลงช่วงระยะเวลาแต่อย่างใด ฉะนั้นการวางแผนในการก่อนปลูกเป็นเรื่องควรทำเป็นสิ่งแรก ซึ่งการการวางแผนก็ควรคำนึงถึงปัจจัยการปลูกให้รอบด้าน 

  • ระยะเวลาการปลูก : พืชแต่ละชนิดมีระยะเวลาในการเจริญเติบโตต่างกันไป โดยแบ่งเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว 
  • ชนิดของพืช : ควรเป็นพืชที่ชอบน้ำ และไม่ควรเป็นพืชหัวทุกชนิด
  • พื้นที่สำหรับปลูก : มีการวางระบบระบายน้ำ ยกร่อง หรือขุดบ่อ

แปลงสำหรับปลูกสามารถส่งผลโดยตรงได้กับการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิด และแสดงถึงความพร้อมในการรับมือช่วงที่ปริมาณน้ำมากกว่าปกติ ฉะนั้นการเตรียมพื้นที่จะต้องอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์เล็กน้อย เช่น ทิศทางน้ำไหล การวางระบบระบายน้ำ การขุดบ่อ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงแห้งแล้ง หรือเป็นจุดกักเก็บน้ำที่น้ำระบายออกมา เส้นทางการคมนาคมที่รวดเร็ว ไม่ส่งผลเสียต่อผลผลิต โดยการเตรียมพื้นที่สำหรับเกษตรสมัยใหม่นั้น อาจไม่ต้องใช้พื้นที่สำหรับในการปลูก 100% แต่ควรแบ่งพื้นที่สำหรับ การขุดล่องน้ำ การยกฐานดินเพื่อปลูก หรืออื่น ๆ ไว้บ้าง การแบ่งพื้นที่ดังกล่าวจะช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับเกษตรกรได้อย่างดีทีเดียว

ดินเป็นส่วนที่สำคัญมากไม่แพ้กัน พืชจะงามหรือไม่งามขึ้นอยู่กับดินและการบำรุงต่าง ๆ  เกษตรกรควรเตรียมดินทันทีหลังจากการเก็บเกี่ยวครั้งก่อนหน้า เนื่องจากในการเก็บเกี่ยวทุกครั้งจะมีเศษใบไม้ หรือเศษต่อซังปะปนอยู่ด้วย และไม่ควรเผาอย่างยิ่ง เพราะการเผาจะทำให้ดินขาดน้ำ สูญเสียแร่ธาตุ แถมยังเป็นพิษทางกาศอีกด้วย ควรย่อยสลายด้วยวิธีการฝังกลบ เพื่อเพิ่มสารอาหารและแร่ธาตุให้ดิน ทัวไปแล้วโครงสร้างดินนั้นแบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นผิวดิน ชั้นใต้ผิวดิน และชั้นหินที่ยังไม่ผุพัง สำหรับดินที่ดีนั้น จะต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้

  • อินทรีย์วัตถุสูง ดินมีความร่วนซุย สามารถระบายน้ำ  และอุ้มน้ำได้ดี
  • ธาตุอาหารพืชเพียงพอ เกิดจากการบำรุงดิน ใส่ปุ๋ย เพื่อเป็นแหล่งอาหารสำหรับพืชต่าง ๆ
  • ค่าความเป็นกรดด่างเหมาะสม ควรมีค่าเป็นกลาง อยู่ที่ pH ระหว่าง 6.0-7.0 

ในเมื่อเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ เราจึงจำเป็นต้องเลือกพืชให้เหมาะสมปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งฤดูอาจะเป็นสิ่งที่ยากต่อการควบคุม ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาได้   

  • มันสำปะหลัง : ไม่ควรปลูกมันสำปะหลังในช่วงเกือบใกล้ฤดูฝน เนื่องจากมันเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก ทั่วไปเรามักปลูกมันในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ยาวไปจนถึงช่วงเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน โดยอ้างอิงสถิติการเกิดน้ำท่วนนั้น พบว่ามักเกิดในช่วงเกือบท้ายปีมากกว่า เนื่องจากมีปัจจัยในเรื่องของพายุที่พัดมาจากที่อื่นอีกด้วย ดังนั้นการปลูกมันในช่วงฤดูฝนไม่ใช่เรื่องดีเท่าไหร่ เสี่ยงต่อการโดนน้ำท่วมขัง ทำให้ปริมาณแป้งในมันไม่ถึง ไม่คุ้มกับที่ลงทุน
  • ข้าว : โดยทั่วไปแล้วเรามักปลูกข้าวแบบนาปี ในช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงคาบเกี่ยวกับฤดูฝนพอดี ทำให้การทำนาข้าวเสี่ยงต่อการประสบปัญหาแล้งและน้ำท่วม โดยเฉพาะฤดูฝนที่ส่งผลกระทบต่อผลิตผลิตเป็นอย่างมาก ไม่ใช่เรื่องที่ดีเท่าไหร่ หากน้ำท่วมขังในนาข้าวเป็นเวลานานกว่า 10 วัน เพราะอาจะส่งผลให้ข้าวช้ำน้ำ ลำต้นหักและเน่าเสียในที่สุด เพราะในขณะที่น้ำกำลังท่วมขัง ดินจะขาดอากาศ ก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีชนิดหนึ่งที่เป็นพิษกับต้นข้าว เทคนิคการทำไร่หน้าฝน สำหรับไร่นา คือ เมื่อเกิดการท่วมขัง ให้รีบสูบน้ำออกทันที เพื่อป้องกันการทับถมของสารเคมี
  • พืชทางเลือกระยะสั้น : ราคาผักสวนครัวในปี 2024 พุ่งกระฉูด ด้วยอัตราค่าครองชีพที่สูงขึ้น การปลูกพืชทางเลือกถือว่าเป็นไอเดียที่ดี ซึ่งสามารถสร้างรายได้อย่างดีทีเดียว เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชผักที่ชอบน้ำเป็นพิเศษ สามารถปลูกและเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน เช่น แตงร้าน ฝักทอง ฝัก กวางตุ้ง  ผักกาดหอม  ถั่วลันเตา ผักบุ้งจีน ถั่วฝักยาว  ตำลึงแฟง หรือมะระ และควรหลีกเลี่ยงพืชผักประเภทหัวทุกชนิด

การป้องกันเชื้อราในดิน คือ อีกหนึ่งเทคนิคการทำไร่หน้าฝนที่ทำให้พืชสามารถให้ผลผลิตได้อย่างดี เพราะดินกับน้ำมาเจอกัน จะทำให้เกิดความชื้น เมื่อความชื้นไม่ได้ถูกระบายออก ก็จะก่อให้เกิดเชื้อราที่ผิวดิน และส่งผลเสียต่อผลผลิตในที่สุด โดยเชื้อราจะมีลักษณะสีขุยสีขาว ส่วนมากมักพบเจอในบริเวณผิวดินใกล้รากพืช ไม่คสรปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน เชื้อราจะทำให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ พืชไม่มีคุณภาพ ผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน พื้นที่ปลูกควรมีแสงแดดถึงอย่างเพียงพอ มีช่องระบายน้ำ เพื่อป้องกันปัญหาความชื้นเกิน โดยเกษตรกรสามารถใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาช่วยป้องกันเชื้อราได้ ดังนี้

  • การคลุกเมล็ด :  เลือกใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดผง อัตรา 10 – 20 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม และเติมน้ำลงไปเล็กน้อย หลังจากนั้นให้นำเม็ดพันธุ์ไปปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้ทันที เพื่อประสิธิภาพในการป้องกันเชื้อราของไตรโคเดอร์
  • การเตรียมดิน : ขั้นตอนนี้เราสามารถผสมเชื้อราไตรโคเดอร์แบบเชื้อสด ผสมกับรำข้าวและปุ๋ยคอกเข้าด้วยกัน ในอัตรส่วน 1:10:40 ส่วน หลังจากนั้นผสมให้เข้ากัน โดยใส่น้ำเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความชุมชื่น ทิ้งไว้ในที่ร่มประมาณ 1-3 วัน  จากนั้นนำไปใส่ที่ก้นหลุมหลุม หรือหว่านลงในแปลงปลูก
  • การฉีดพ่น : ผสมเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 100 ลิตร โดยฉีดพ่นบริเวณราก ลำต้น และดิน

การวางระบบระบายน้ำจะมีประโยชน์มาก เมื่อถึงช่วงน้ำหลากและฝนตกหนักเป็นพิเศษ ซึ่งการวางระบบระบายน้ำนั้น ไม่ต้ออาศัยการออกแบบที่ยุ่งยากเลย แค่ความรู้ขั้นพื้นฐานก็พอ เกษตรกรอาจจะติดตั้งการระบายน้ำแบบวางท่อระบาย ยกร่อง ขุดคูน้ำ หรือเตรียมความพร้อมในการสูบน้ำออก เผื่อเกิดเหตุการน้ำขังอย่างกระทันหัน เกษตรกรจะได้เร่งทำการระบายน้ำออกจากไร่ก่อนก่อให้เกิดความเสียหาย ไร่ที่ดีจะต้องมีการวางระบบระบายน้ำ แต่ต้องดูความเหมาะสมของลักษณะพื้นที่ปลูก และพืชที่ปลูกด้วย ถ้าเปรียบเถียบให้เห็นได้ชัด คือ มันสำปะหลังและข้าว ต้องการปริมาณน้ำในการเจริญเติบโตต่างกันออกไป โดยมีตัวอย่างการวางระบบระบายน้ำ ดังนี้

  • การขุดร่องระบายน้ำตื้น (Spoon Drainage) คือ คลองระบายน้ำขนาดเล็ก ช่วยระบายน้ำออกจากไร่โดยเร็วที่สุด
  • วางท่อสำหรับระบายน้ำ วิธีการนี้ง่ายมาก เพียงแค่ติดตั้งท่อน้ำบริเวณคันทางเดิน ข้อดีของการวางท่อนั้น สามารถเผื่อระยะที่ต้องการกักเก็บน้ำไว้ในไร่ได้อีกด้วย  
  • ยกร่องสวน เหมาะสำหรับพืชที่ชอบน้ำเป็นพิเศษ เพราะการยกร่องสวนจำเป็นต้องมีการขุดคูคลอง เพื่อปล่อยน้ำเข้ามาสำหรับเลี้ยงพืชโดยเฉพาะ และสามารถรองรับน้ำได้ระดับหนึ่ง

บางพื้นที่อาจจะเรียกว่า “การห่มดิน” ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สุด ตามแนวคิด “เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช” เน้นบำรุงดินให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ดินกลายเป็นแหล่งอาหารสำคัญของพืช ดังนั้นการคลุมดินเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้ช่วยรักษาสมดุลในดิน ดินมีสารอาหาร และโครงสร้างที่แข็งแรง ไม่หวั่นแม้น้ำท่วมขัง ซึ่งวิธีการคลุ่มดินนั้น นิยมใช้ฟางในการคลุมมากที่สุด เพราะฟางสามารถกักเก็บความชุ่มชื้นได้เป็นอย่างดี รองลงมาเรานิยมใช้แกลบในการคลุมดิน แต่ต้องเป็นแกลบเก่าที่ผ่านการหมักมาแล้วเท่านั้น เนื่องจากแกลบใหม่จะทำให้เกิดความร้อน และปล่อยก๊าซพิษที่เป็นอันตรายต่อพืช การคลุมดินช่วยป้องกันการเติบโตของวัชพืช ลดอัตราการเกิดดินโคลนเมื่อเกิดการทับถมกัน ที่สำคัญช่วยป้องกันไม่ให้สารอาหารในดินถูกน้ำชะล้าง

เทคนิคการทำไร่หน้าฝนไม่สามารถยึดขนบธรรมเนียมการทำไร่แบบเมื่อก่อนได้แล้ว เพราะยุคนี้การทำเกษตรต้องอาศัยความรู้ด้านต่าง ๆ ด้วย เพื่อวางแผนนการไร่ให้เกิดผลผลิตอย่างคุ้มค่ามากที่สุด ดังนั้นการทำไร่ในช่วงฤดูฝนจึงเป็นเรื่องที่มีการวางแผนมาก่อนหน้า เช่น การปรับภูมิทัศน์พื้นที่ปลูก การทำระบบระบายน้ำ การเลือกพันธุ์พืช และวิธีการอื่น สำหรับการรองรับน้ำท่วมไร่ที่อาจะก่อให้เกิดความเสียหาย หรือแม้แต่การรองรับภัยแล้งที่สามารถเกิดขึ้นได้


ขอบคุณข้อมูล : https://doaenews.doae.go.th/archives/23678 , https://lddmordin.ldd.go.th/web/data/Tank_Soilmanagement/Soil_15.pdf

สาระน่ารู้การเกษตร