ปลูกอย่างไร เสียภาษีที่ดินเกษตรกรรมน้อยลง
อ้างอิงจากราชกิจจานุเบกษาที่ประกาศเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ซึ่งประกาศดังกล่าวมีผลต่อพื้นที่การทำเกษตรโดยตรง เกษตรกรหรือผู้ที่กำลังให้ความสนใจในการเพาะปลูกควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นไว้ก่อน ภาษีที่ดินเกษตรกรรมค่อนข้างส่งผลต่อประโยช์ทางการค้าสินทรัพย์เกษตรของชาวเกษตรกร และทุกครั้งที่มีการนำที่ดินไปใช้ในการเกษตรกรรมทางการค้านั้น เกษตรกรจำเป็นต้องจ่ายภาษีที่ดินเกษตรกรรมต่อรัฐบาล แต่จะทำอย่างไรที่จะควบคุมจำนวนเงินไม่ให้เกินงบที่ตั้งไว้ เราไปศึกษากฎหมายตัวนี้พร้อมกันเลยดีกว่า
ภาษีที่ดินเกษตรกรรม จ่าย จบ เลี่ยงภาษีที่ดินแพง
การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม คือ การใช้ที่ดินเพื่อประกอบการเกษตร โดยวัตถุประสงค์ในการทำเกษตรนั้นก็เพื่อค้าขาย จำหน่าย แต่จะไม่รวมถึงการทำประมงและทอผ้า พูดง่ายๆ ในรูปแบบภาษาชาวเราก็คือ ที่ดินที่นำมาทำการเกษตรเชิงพาณิชย์ โดยมี 2 ที่เข้าข่ายภาษีที่ดินเกษตรกรรม คือ พืชและสัตว์ สำหรับเกษตรกรท่านไหนที่มีพื้นที่ทับซ้อนที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแต่ก็ยังมีการทำการเกษตรเชิงพาณิชย์ ก็ให้นับรวมว่าเป็นที่ดินที่ใช้เพื่อการเกษตรกรรมด้วย
การประกอบการเกษตรที่เป็นการประกอบเกษตรกรรมไม่ว่าจะเป็นการทำไร่ การปลูกผัก การปลูกไม้ผลยืนต้น การปลูกสวนป่า การปลูกป่าเศรษฐกิจแบบสวนเฉพาะ หรือการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นต้องมีอัตราขั้นต่ำตามที่ประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ โดยมีอัตราส่วนต่อไร่ตามข้อมูลด้านล่างนี้
หมวดหมู่ของพืชแต่ละชนิด
แต่ถ้าหากเกษตรกรไม่ได้ปลูกพืชตามที่กำหนดนั้น ให้ใช้อัตราจากพืชที่ใกล้เคียงเปรียบเทียบแทนได้โดยอนุโลม แต่ถ้ายังไม่สามารถพืชที่ใกล้เคียงที่สุดมาเปรียบเทียบ ให้เกษตรกรคำนวณจากลักษณะการประกอบการเกษตรในแต่ละท้องถิ่น
กลุ่มพันธุ์พืชเพื่ออุปโภคและบริโภคทั่วไป
- กล้วยหอม 200 ต้น/ไร่
- กล้วยไข่ 200 ต้น/ไร่
- กล้วยน้ำว้า 200 ต้น/ไร่
- โกโก้ 150-170 ต้น/ไร่
- กระท้อนเปรี้ยว 25 ต้น/ไร่
- พันธุ์ทับทิม 25 ต้น/ไร่
- พันธุ์ปุยฝ้าย 25 ต้น/ไร่
- กาแฟ 170 ต้น/ไร่
- พันธุ์โรบัสต้า 170 ต้น/ไร่
- พันธุ์อราบิก้า 533 ต้น/ไร่
- ขนุน 25 ต้น/ไร่
- เงาะ 20 ต้น/ไร่
- ชมพู่ 45 ต้น/ไร่
- ทุเรียน 20 ต้น/ไร่
- ท้อ 45 ต้น/ไร่
- น้อยหน่า 170 ต้น/ไร่
- ฝรั่ง 45 ต้น/ไร่
- พุทรา 80 ต้น/ไร่
- แพสชั่นฟรุ๊ต 400 ต้น/ไร่
- มะม่วง 20 ต้น/ไร่
- มะพร้าวแก่ 20 ต้น/ไร่
- มะพร้าวอ่อน 20 ต้น/ไร่
- มะม่วงหิมพานต์ 45 ต้น/ไร่
- มะละกอ ยกร่อง 100 ต้น/ไร่ และไม่ยกร่อง 175 ต้น/ไร่
- มะนาว 50 ต้น/ไร่
- มะปราง 25 ต้น/ไร่
- มะขามเปรี้ยว 25 ต้น/ไร่
- มะขามหวาน 25 ต้น/ไร่
- มังคุด 16 ต้น/ไร่
- จำปาดะ 25 ต้น/ไร่
- บ๊วย 45 ต้น/ไร่
- ลิ้นจี่ 20 ต้น/ไร่
- ลำไย 20 ต้น/ไร่
- ละมุด 45 ต้น/ไร่
- ลางสาด 45 ต้น/ไร่
- ลองกอง 45 ต้น/ไร่
- ส้มโอ 45 ต้น/ไร่
- ส้มโอเกลี้ยง 45 ต้น/ไร่
- ส้มตรา 45 ต้น/ไร่
- ส้มเขียวหวาน 45 ต้น/ไร่
- ส้มจุก 45 ต้น/ไร่
- สตอเบอรี่ 10,000 ต้น/ไร่
- สาลี่ 45 ต้น/ไร่
- สะตอ 25 ต้น/ไร่
- หน่อไม้ไผ่ตง 25 ต้น/ไร่
กลุ่มพันธุ์พืชประเภทสมุนไพร
- กานพลู 20 ต้น/ไร่
- กระวาน 100 ต้น/ไร่
- จันทร์เทศ 25 ต้น/ไร่
- พริกไทย 400 ต้น/ไร่
- พลู 100 ต้น/ไร่
- หมาก ปลูกแบบยกร่อง 100-170 ต้น/ไร่
กลุ่มพันธุ์พืชประเภทออุตสหกรรมทอผ้า/ ยางพารา และอุตสาหกรรมอื่นๆ
- นุ่น 25 ต้น/ไร่
- ปาล์มน้ำมัน 22 ต้น/ไร่
- ยางพารา 80 ต้น/ไร่
- พืชกลุ่มให้เนื้อไม้ 100 ต้น/ไร่
หมวดหมู่ของสัตว์
หมวดหมู่ของสัตว์ ซึ่งไม่ได้จำกัดจุดประสงค์ของการเพาะเลี้ยง แต่จะต้องเลี้ยงให้อยุ่ในทิศทางของสัตว์เศรษฐกิจหรือปศุสัตว์ ในกรณที่เกษตรกรไม่ได้เลี้ยงสัตว์ตามที่กำหนด ให้ใช้อัตราจากสัตว์ที่ใกล้เคียงเปรียบเทียบแทนได้โดยอนุโลม หรือคำนวณจากลักษณะการประกอบการเลี้ยงสัตว์ในแต่ละท้องถิ่น
- โค พื้นที่โรงเรือนขนาด 7 ตารางเมตรต่อตัว 1 ตัวต่อ 5 ไร่
- กระบือโตเต็มวัย พื้นที่โรงเรือนขนาด 7 ตารางเมตรต่อตัว 1 ตัวต่อ 5 ไร่
- แพะ – แกะโตเต็มวัย พื้นที่โรงเรือนขนาด 2 ตารางเมตรต่อตัว 1 ตัวต่อไร่
- สุกร
- พ่อพันธุ์ คอกเดี่ยว พื้นที่โรงเรือนขนาด 7.5 ตารางเมตรต่อตัว
- แม่พันธุ์ คอกเดี่ยว พื้นที่โรงเรือนขนาด 1.5 ตารางเมตรต่อตัว
- สุกรอนุบาล พื้นที่โรงเรือนขนาด 0.5 ตารางเมตรต่อตัว
- สุกรขุน พื้นที่โรงเรือนขนาด 1.5 ตารางเมตรต่อตัว
- คอกคลอด พื้นที่ไม่น้อยกว่า 6 ตารางเมตรต่อตัว
- ซองอุ้มท้อง พื้นที่ไม่น้อยกว่า 2 ตารางเมตรต่อตัว
- เป็ด – ไก่ ใช้พื้นที่แบบมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ 4 ตารางเมตรต่อตัว
- กวาง ใช้พื้นที่ 2 ไร่ต่อตัว
- หมูป่า พื้นที่โรงเรือนขนาด 5 ตารางเมตรต่อตัว เลี้ยงแบบปล่อยตามธรรมชาติ 0.25 ไร่ต่อตัว
- ผึ้ง บริเวณที่มีพืชอาหารเลี้ยงผึ้งกับจำนวนรังผึ้ง อย่างสมดุลกัน
- จิ้งหรีด บริเวณพื้นที่เพียงพอและเหมาะสมกับขนาดและจำนวนบ่อ
เมื่อเกษตรกรกะทำประโยชน์ดังกล่าวกับที่ดินตามกำหนดแล้ว เรื่องต่อมาที่เกษตรกรควรตระหนักถึงคือ ‘การชำระภาษี’ ซึ่งภาษีที่ดินเกษตรกรรมจะมีราคาไม่ค่อยสูงมากนัก โดยเพดานอัตราการเก็บภาษีสูงสุดจะอยู่ที่ 0.15% เพียงเท่านั้น
- ที่ดินมูลค่า 0-75 ล้านบาท อัตรา 0.01% หรือล้านละ 100 บาท
- ที่ดินมูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท
- ที่ดินมูลค่า 100-500 ล้านบาท อัตรา 0.05% หรือล้านละ 500 บาท
- ที่ดินมูลค่า 500-1,000 ล้านบาท อัตรา 0.07% หรือล้านละ 700 บาท
- ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาท ขึ้นไป อัตรา 0.1% หรือล้านละ 1,000 บาท
แต่ถ้าหากเกษตรกรทำการเช่าพื้นที่ของคนอื่นเพื่อเพาะปลูกจำเป็นต้องเสียภาษีที่ดินเกษตรกรรมด้วยหรือไม่? คำตอบคือ ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีตามภาษากฎหมายจริงๆ แล้วต้องเป็นผู้ที่ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินอย่างถูกต้องเท่านั้น สำหรับผู้ที่เช่าพื้นที่ไม่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงแล้วค่อยทำข้อตกลงต่อเจ้าของที่ในภายหลังได้ จุดประสงค์ของประกาศนี้ก็เพื่อลดภาระภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่ม 10 เท่า เนื่องจากมีการใช้ที่ดินในการหารายได้
ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง – มูลค่ายกเว้น) x อัตราภาษี
ขอบคุณข้อมูล : www.thaifarmer.lib.ku.ac.th/news/628f24e46ba4095e418270b5